รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

วิเคราะห์แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ จากติดลบกลับมาเป็นตลาดขาขึ้น?!?

เผยแพร่ 23/06/2563 08:15

#ราคาน้ำมันดิบจากติดลบกลับมาเป็นตลาดขาขึ้น ?? จริงหรือ...

ตลาดซื้อขายน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกตอนนี้อยู่ที่ทะเลเหนือในยุโรป (North Sea) ทุกๆวันผู้ซื้อและผู้ขายน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะมารวมตัวกันเวลา 16.00 น. ของลอนดอน เพื่อซื้อและขายน้ำมันดิบในทะเลเหนือกันเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง และราคาที่ซื้อขายกันนั้นก็จะกลายเป็นราคาที่นำมากำหนดราคาน้ำมันดิบ Brent ซึ่งเป็นฐานราคาน้ำมันดิบที่สำคัญที่สุดในโลก และความเคลื่อนไหวของราคานี้ก็จะมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันในภูมิภาคอื่นๆอีกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกับในประเทศไทยของเราด้วย

เมื่อสองเดือนที่แล้วตอนที่ไวรัสโควิดระบาดรุนแรง และประเทศต่างๆจำเป็นต้องออกนโยบาย Lock Down กันอย่างจริงจัง การใช้น้ำมันทั่วโลกหดตัวอย่างรุนแรง ทำให้เราแทบจะไม่ได้เห็นผู้ซื้อคนไหนในตลาดน้ำมันทะเลเหนือที่จะมีความกระตือรือร้นในการเร่งเข้ามาซื้อน้ำมันเลย... ต่างคนต่างรอและไม่กล้าเข้ามาเสนอราคาซื้อ (Bid) ในตลาดเพราะกลัวว่าจะโดนผู้ขายรุมเทขายเข้ามายัดเรือน้ำมันใส่มือ และก็ต้องรับเรือน้ำมันเหล่านั้นไปโดยที่ยังไม่รู้เลยว่าจะมีใครต้องการนำไปใช้ต่อไหม และที่ๆจะเก็บน้ำมันก็แทบจะไม่มีเหลือแล้ว สถานการณ์คล้ายๆกับที่ทำให้น้ำมันที่ส่งมอบในอีกตลาดในสหรัฐอย่าง WTI ถึงกับดิ่งลงไปถึงติดลบในเวลานั้นเพราะผู้ซื้อน้ำมันต่างหันหน้าหนีกันหมด

แต่วันนี้ #ทุกๆอย่างกำลังเปลี่ยนไป นอกจากราคาน้ำมันจะทยอยปรับตัวสูงขึ้นแล้วเรายังเห็นผู้ซื้อในทะเลเหนือต่างแย่งกันรุมซื้อเรือน้ำมันที่มีเวลากำหนดส่งมอบช่วงที่เร็วที่สุดกัน การที่ีเทรดเดอร์ต่างๆรุมที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อรับน้ำมันให้ได้เร็วที่สุดนั้น ทำให้ราคาน้ำมันส่งมอบในเดือนต้นๆนั้นมีราคาแพงกว่าการส่งมอบในเดือนถัดๆไป #นี่เป็นสัญญาณสำคัญที่ชี้ว่าตลาดกำลังกลับเป็นขาขึ้นแล้ว หากความต้องการซื้อเหล่านี้ยังรุมเข้ามาอยู่

ราคาน้ำมันดิบโลกปรับตัวสูงขึ้นมาเท่าๆกับเมื่อสองอาทิตย์ก่อน #แต่ครั้งนี้มีอะไรหลายๆอย่างที่ต่างกันไปมาก

ทั้งราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WTI และ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันเบรนท์ ปรับตัวสูงขึ้นสูงกว่า 40 เหรียญต่อบาร์เรลสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนอีกครั้ง โดยเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนเราก็เคยเห็นราคาน้ำมันดิบดีดขึ้นมาถึงระดับนี้ครั้งนึงแล้ว แต่ช่วงนั้นทางเพจก็ค่อนข้างกังวล และได้ออกบทความ 2-3 บทเตือนไปว่าราคาน้ำมันที่ขึ้นมาช่วงต้นเดือนมิถุนายนนั้นยังอาจขาดเสถียรภาพที่จะยืนอยู่เหนือ 40 เหรียญได้ ด้วยเหตุผลหลักๆว่า

1. #ค่าการกลั่นยังไม่ดีดตัวดีขึ้นตามราคาน้ำมัน

จากบทความนี้ https://www.facebook.com/108586193028066/posts/555527898333891/?d=n

เราเคยเล่าว่า #ตลาดน้ำมันนั้นแบ่งออกได้ เป็น 3 ส่วน

1) ราคาน้ำมันดิบที่ขึ้นลง
2) ราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า
3) ราคาส่วนต่างของน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป (ค่าการกลั่น)

โดยสิ่งหลักๆที่เราเห็นดีดขึ้นมานั้นคือราคาน้ำมันดิบอย่างเดียว (อาจเป็นเพราะเงินจากกองทุนเก็งกำไรต่างๆที่ล้นตลาด) ราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าปรับตัวสูงขึ้นแต่ก็ยังไม่ถึงขึ้นกลับตัวเป็น Backwardation และที่สำคัญที่สุดคือค่าการกลั่นที่ยังไม่กระเตื้องขึ้นเลยแม่แต่น้อย

ไม่ว่าจะเป็นเพราะการใช้น้ำมันอาจไม่กลับมามากจริงเท่าที่คาด ? หรือสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปของโลกยังล้นอยู่ ? แต่นี่ก็เป็นสัญญาณที่น่ากังวล เพราะสุดท้ายหากโรงกลั่นต่างๆจะต้องหยุดหรือลดการผลิตลงเพราะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างคุ้มค่า ความต้องการใช้น้ำมันดิบก็จะลดลงตามและราคาน้ำมันก็จะต้องปรับตัวลดลงมาสะท้อนปัจจัยพื้นฐานอยู่วันยังค่ำ

2. แรงกดดันจากการขายเพื่อบริหารความเสี่ยงของกลุ่มผู้ผลิตในสหรัฐ (Shale Oil Hedging)

ในบทความนี้ https://www.facebook.com/108586193028066/posts/561680827718598/?d=n

เราเคยได้เขียนอธิบายไปแล้วว่า #ราคาน้ำมันจะขึ้นได้สูงๆและอยู่ได้นานๆ ก็จำเป็นจะต้องขึ้นในลักษณะของ Backwardation เพราะเมื่อราคาขึ้นมาในช่วงต้นเดือนนี้นั้น ราคายังขึ้นมาในลักษณะของ Contango หรือราคาน้ำมันในปัจจุบันยังอยู่ต่ำกว่าราคาส่งมอบในอนาคตอยู่

การขึ้นมาในลักษณะนี้นั้นเปิดโอกาสทำให้เหล่าบริษัทน้ำมันเชลออยล์ของสหรัฐที่กำลังเกือบจะล้มละลายกันไปเป็นแถวหลังเกิดสงครามราคาน้ำมันนั้นสามารถทำการขายสัญญาล่วงหน้าเพื่อปิดความเสี่ยงของรายได้ในอนาคตที่ระดับสูงกว่าต้นทุนกันได้ และตลาดจะเจอแนวต้านจากแรงเทขายเหล่านี้ (รายละเอียดตามในบทความเลยครับ)

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ #ราคาน้ำมันก็โดนเทขายลงมาจริงๆ ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา

ราคาน้ำมันดิบ Brent ลงไปแตะ 37 เหรียญช่วงวันที่ 12-15 มิถุนายนไม่นานหลังจากที่เราได้เขียนบทความออกไป

#หากราคาน้ำมันในรอบที่แล้วโดนเทขายไปเพราะเหตุผลที่เราบอกจริงๆ การขึ้นของราคาในคราวนี้จะต่างจากคราวที่แล้ว

เพราะแรงซื้อในตลาดจากความต้องการใช้ในน้ำมันในระยะสั้นนั้นเริ่มมีสูงกว่าอุปทานน้ำมันในระยะสั้นแล้ว การขึ้นมาของราคาน้ำมันในรอนี้นั้นจึงมาพร้อมกับสภาพ Backwardation และ ค่าการกลั่นที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้น

1. #ค่าการกลั่นเริ่มดีดตัวสูงขึ้นช้าๆแล้ว

หากจะวัดเทียบจากค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลและเบนซินซึ่งเป็น 2 ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในค่าการกลั่นน้ำมัน ค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลและเบนซินเทียบกับต้นทุนน้ำมันดิบดูไบในภูมิภาคเรานั้น เคยอยู่ที่ 3 และ 2 เหรียญต่อบาร์เรลตามลำดับเมื่อต้นเดือนมิถุนายน แต่ตอนนี้นั้นได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 7 เหรียญต่อบาร์เรลแล้วทั้งคู่ หรือสูงขึ้นมาเกือบ 2-3 เท่าเลยทีเดียว

2. ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเริ่มกลับมาเป็น #Backwardation แล้ว

การเข้าซื้อน้ำมันในตลาดทะเลเหนือนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ราคาส่งมอบน้ำมันดิบ Brent เดือนแรกนั้นสูงกว่าเดือนสองอยู่ 0.04 เหรียญต่อบาร์เรลแล้วในวันนี้ ถึงจะยังสูงกว่าไม่มากแต่ก็เป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ตลาดกลับตัวจากรูปแบบ Contango มาเป็น Backwardation นับตั้งแต่เกิดสงครามราคาน้ำมันขึ้น

การที่ราคาน้ำมันเป็นการขึ้นในรูปที่ราคาในปัจจุบันอยู่สูงกว่าราคาในอนาคตจะทำให้ปริมาณการเข้าขายเพื่อบริหารความเสี่ยงของราคาของผู้ผลิตในสหรัฐนั้นลดน้อยลงไปอย่างมาก เพราะถึงแม้ราคาในปัจจุบันอาจอยู่สูงกว่าต้นทุนผลิต แต่ราคาที่ย่อต่ำลงในอนาคตอาจทำให้ยังไม่ถึงระดับที่จะสามารถบริหารความเสี่ยงได้

ทุกท่านสามารถดูกราฟส่วนต่างของราคาน้ำมันซื้อขายล่วงหน้าที่ทยอยปรับตัวขึ้นมาได้ในคอมเม้นท์นะครับ

Demand การใช้น้ำมันของโลกเรานั้นเริ่มสูงมากขึ้นจริงๆ

นอกจากสัญญาณที่ตลาดทะเลเหนือจะเริ่มคึกคักขึ้นมากในช่วงเดือนนี้ การใช้น้ำมันจริงๆก็เริ่มกลับมา และเริ่มกลับมาแบบไม่กลัวการระบาด Wave 2 ด้วย !

การใช้น้ำมันของโลกเรานั้นมีประมาณ 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยในช่วงที่การใช้น้ำมันหดหายไปมากที่สุดในช่วงต้นเดือนเมษายนนั้นการใช้หายไปถึง 30% ! แต่ทุกวันนี้จากการวัดการใช้น้ำมันล่าสุดนั้นการใช้ดีดกลับขึ้นมาจนหดไปเพียง 10% กว่าๆเท่านั้น หากเทียบกับปริมาณการผลิตน้ำมันที่กลุ่มโอเปกและพันธมิตร รวมกับการลดลงของการผลิตที่ไม่คุ้มทุนทั่วโลกนั้น การผลิตได้หายไปกว่า 15% แล้วเป็นอย่างน้อย (จากโอเปก 10% และอีก 5% จากสหรัฐ แคนนาดา บราซิล นอร์เวย์) #ทำให้ตลาดน้ำมันกำลังตึงตัวขึ้น อย่างเห็นได้ชัด

และหากท่านใดต้องการรายละเอียดของการใช้น้ำมันเพิ่มเติมนั้น รายงานจากประเทศจีนนั้นชี้ว่าการใช้น้ำมันของจีนได้เพิ่มสูงขึ้นไปกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดแล้วด้วยซ้ำ เพราะผู้คนกำลังหันมาขับรถส่วนตัวกันมากขึ้นกว่าการโดยสารสาธารณะ

บริษัทเทรดดิ้งน้ำมันอันดับต้นๆอย่าง Vitol ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าในเดือนมิถุนายนนี้ การใช้น้ำมันกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นอาทิตย์ละ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในทุกๆอาทิตย์ นั้นมากกว่าการใช้น้ำมันของประเทศไทยอีกนะครับ ที่กำลังเพิ่มเข้ามาทุกๆอาทิตย์ในเดือนนี้

#ถึงแม้การใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นจะยังไม่กลับไปเท่าช่วงก่อนเกิดโควิดระบาดภายในปีนี้ ทั้งทาง IEA , EIA และ OPEC ต่างมองเป็นเสียงเดียวกันว่าอาจจะต้องเป็นปี 2022 ด้วยซ้ำที่การใช้จะกลับมาเหมือนระดับเดิม แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือตราบใดที่การใช้ยังสูงกว่าการผลิต ราคาน้ำมันก็จะยังโดนรุมซื้อในระยะสั้นได้อยู่ดี

ตลาดควรกลัวการระบาดใน Wave 2 ไหม ?

ไม่ว่าจะเป็นการระบาดใน Wave 2 หรือ Wave แรกที่ยังไม่จบ ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นนั้นเป็นที่น่ากังวลอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นที่สหรัฐ บราซิล อินเดีย และ จีน กำลังเป็นประเทศที่ทั่วโลกกำลังจดจ้อง

แต่การระบาดในครั้งนี้อาจกระทบการใช้น้ำมันต่างจากครั้งแรก เพราะถึงแม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะทยอยปรับตัวสูงขึ้น แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นต้องปิดเมืองทั้งเมืองการใช้ก็จะทยอยปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะปริมาณการบินระหว่างประเทศที่กำลังเตรียมตัวกลับมาอย่างช้าๆ

ทางเราเชื่อว่าปัจจัยการ Lock Down นั้นยังเป็นความเสี่ยงอย่างแน่นอน แต่แนวโน้มในระยะสั้นอาจยังไม่มีผลกระทบต่อการใช้น้ำมันที่น่ากลัวเท่ากับตัวเลขที่เราเห็น

แล้วการประชุมโอเปก หรือการลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกในอนาคตล่ะ ?

เรายังไม่ได้แตะจุดนี้ในบทความนี้มากเพราะการผลิตของกลุ่มโอเปกในอนาคตนั้นเป็นที่คาดเดาไม่ได้ แน่นอนว่าในเวลานี้ทางโอเปกเพิ่งประกาศ % การร่วมมือของกลุ่มสมาชิกสูงถึง 87% หากทุกคนยังให้ความร่วมมือกับการลดกำลังการผลิตสูงไม่ต่ำกว่าตัวเลขนี้ไปเรื่อยๆ #ราคาน้ำมันก็จะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

แต่... ใครจะทราบได้ว่าการที่ราคาน้ำมันกำลังไต่ตัวสูงขึ้นเรื่อยๆเหล่าประเทศสมาชิกต่างๆกำลังคิดอะไรกันอยู่บ้าง ? จะมีประเทศไหนบ้างที่พยายามแอบผลิตสูงกว่าโควตาเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ ? อิรักและไนจีเรียที่คอยผลิตสูงอยู่กว่าเสมอจะรักษาคำพูดที่จะลดกำลังการผลิตชดเชยได้ไหม ?

#ปัจจัยนี้จึงเป็นความเสี่ยงกับตลาดอยู่เสมอ เราทำได้ดีที่สุดก็แค่เฝ้าติดตามแนวโน้มและพยายามตีโอกาสออกมาเป็น % และวางแผนการเทรดของเราตามโอกาสนั้น

สต็อกน้ำมันทั่วโลกยังล้นอยู่ไหม ?

ตอนนี้ระดับสต็อกน้ำมันทั่วโลกนั้นยังสูงกว่าระดับต้นปีอยู่ถึง 1 พันล้านบาร์เรล แต่ระยะสั้นนั้นสต็อกน้ำมันที่หลงเหลืออยู่อาจจะไม่ตัวกำหนดว่าราคาจะขึ้นหรือลง เพราะตราบใดที่การใช้น้ำมันรายวันยังอยู่สูงกว่าการผลิตรายวัน ทางเทรดเดอร์ก็จะยังเข้าไปพยายามแย่งชิงรุมซื้อน้ำมันที่ส่งมอบระยะสั้น

แต่สต็อกน้ำมันที่อยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกตินั้นจะเป็นเสมือน #ด่านที่สำคัญต่อไป ถ้าหากระดับสต็อกยังไม่ลดลงไปมาก ราคาที่ขึ้นก็อาจจะไม่ผ่านกลับไปสูงกว่า 50 เหรียญเหมือนดั่งปีที่แล้วได้

วิเคราะห์ราคาทางเทคนิค ?

ทางเทคนิคนั้นไม่ต้องวิเคราะห์นานเลย เพราะไม่ว่าคุณจะใช้ตัวชี้วัดไหนราคาในระยะสั้นก็จะเป็นเทรนด์ขาขึ้น ติดอยู่แค่แนวต้านที่ระดับ 43 เหรียญของ Brent เท่านั้น ถ้าทะลุไปได้ราคาก็อาจวิ่งขึ้นได้อีกไกล

#อธิบายแนวโน้มทางเทคนิคง่าย ไม่มีตลาดไหนที่จะเป็นขาขึ้นอย่างเดียวได้ตลอด ทำให้เมื่อราคาขึ้นมาอย่างรวดเร็วเมื่อ 2 อาทิตย์ก่อนจึงต้องมีการพักฐานลงไปก่อนบ้าง การปรับตัวลดลงไปในรอบอาทิตย์ล่าสุดแต่ลงไปไม่นานนั้นจึงเป็นจุดคอนเฟิร์มให้เทรดเดอร์สายเทคนิครอเฝ้า Higher High ในอาทิตย์นี้ว่าราคาจะขึ้นไปสูงกว่า 43 เหรียญได้หรือไม่ #ถ้าไม่ได้ ก็อาจจะกลายเป็น Double Top และต้องติดตามดูอีกทีว่าราคาไม่สามารถผ่านไปด้วยปัจจัยพื้นฐานใดที่เปลี่ยนไปบ้างไหม ? อย่างสองความเสี่ยงข้างต้นที่ได้กล่าวไว้นี้

#ราคาน้ำมันกลับมาเป็นขาขึ้นแล้ว ?

ถ้าส่วนต่างระหว่างราคาน้ำซื้อขายล่วงหน้ายังคงความเป็น Backwardation ได้อยู่ มีโอกาสสูงมากที่ราคาน้ำมันจะยังเทรนด์ขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง #การขึ้นมาของราคาในครั้งนี้จึงไม่เหมือนกับเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ยังมีความเสี่ยง 2-3 เรื่องที่ต้องติดตามแต่หากไม่เกิดขึ้นตามสมมติฐานที่ตั้งนั้น ราคาน่าจะยังเป็นเทรนด์ขึ้นได้ต่อเนื่องในระยะสั้นต่อไป

หากบทความนี้จะมีประโยชน์ฝากกด Like และ Share ให้กับทางทีมงานของเราด้วยนะครับ

#ทันโลกกับKP #OilTraderKP

บทวิเคราะห์นี้เผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ Oil Trading - ทันตลาดน้ำมันและเศรษฐกิจโลกกับ KP

บทความห้ามพลาด

กราฟเด่นประจำวัน: โอกาสของขาลงในตลาดน้ำมันดิบกำลังจะมาถึง

ความคิดเห็นล่าสุด

วิเคราะห์ได้ดีเยี่ยม ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณครับ บทความอ่านได้ใจความดีมากครับ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย