ข่าวเด่น
เสนอซื้อเสนอขาย
ประเภทตราสารทั้งหมด

โปรดลองค้นหาใหม่อีกครั้ง

รับส่วนลด 50% 0
ลด 50%! ชนะตลาดในปี 2025 ด้วย InvestingPro
รับส่วนลด

เครื่องคำนวนความผันผวนฟอเร็กซ์

 สัปดาห์
คู่สกุลเงิน Pips %
AUD/CAD 64.72 0.70
AUD/CHF 51.55 0.89
AUD/JPY 113.06 1.13
AUD/NZD 60.50 0.55
AUD/USD 61.05 0.91
CAD/CHF 41.18 0.66
CAD/JPY 109.83 1.01
CHF/JPY 157.20 0.91
EUR/AUD 124.10 0.76
EUR/CAD 97.30 0.65
EUR/CHF 51.11 0.54
EUR/GBP 46.34 0.56
EUR/JPY 156.93 0.97
EUR/NZD 131.31 0.73
EUR/USD 82.17 0.75
GBP/AUD 153.23 0.79
GBP/CAD 111.55 0.62
GBP/CHF 75.00 0.67
GBP/JPY 199.16 1.02
GBP/NZD 161.77 0.75
คู่สกุลเงิน Pips %
GBP/USD 96.12 0.74
NZD/JPY 95.62 1.05
NZD/USD 55.41 0.91
USD/BRL 860.11 1.52
USD/CAD 71.44 0.52
USD/CHF 60.37 0.70
USD/CNY 177.34 0.25
USD/DKK 538.65 0.79
USD/HKD 48.96 0.06
USD/ILS 433.77 1.15
USD/INR 113.43 0.13
USD/JPY 153.82 1.03
USD/MXN 2,568.08 1.30
USD/RUB 27,565.50 2.85
USD/SEK 1,153.83 1.11
USD/SGD 78.30 0.60
USD/TRY 0.00 0.00
USD/ZAR 2,276.96 1.29
XAG/USD 9,479.46 3.01
XAU/USD 3,963.64 1.49
EUR/USD - ค่าความผันผวนรายวัน (ในหน่วย Pips)

กรอบเวลา (เดือน):

EUR/USD - ค่าความผันผวนรายชั่วโมง (Pips/ชั่วโมงเวลา GMT)
EUR/USD - ค่าความผันผวนในช่วงวันธรรมดา (ในหน่วย Pips)
  • จันทร์
  • อังคาร
  • พุธ
  • พฤหัสบดี
  • ศุกร์

ความผันผวนคืออะไร?

ความผันผวน เป็นคำที่นำมาใช้เพื่อแสดงถึงความผันแปรของราคาในการซื้อขายในช่วงเวลาต่างๆ ยิ่งราคามีความผันแปรมากเท่าใดความผันผวนก็ยิ่งจะมีมากเท่านั้น ยกตัวอย่าง หลักทรัพย์รายการหนึ่งที่มีราคาปิดตลาดเป็นลำดับดังนี้ 5, 20, 13, 7 และ 17 ถือว่ามีความผันผวนมากกว่าหลักทรัพย์ที่ใกล้เคียงกันที่มีราคาปิดตลาดคือ 7, 9, 6, 8 และ 10 หลักทรัพย์ต่างๆ ที่มีค่าความผันผวนสูงจะถือว่าเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาไม่ว่าจะมีราคาสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ตามจะมีการเคลื่อนไหวที่มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับหลักทรัพย์ที่ใกล้เคียงกันแต่มีความผันผวนน้อยกว่า ค่าความผันผวนของหลักทรัพย์คู่หนึ่งจะวัดได้จากการคำนวณค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลตอบแทนของหลักทรัพย์นั้น ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคือมาตรวัดที่ตรวจสอบว่าค่าต่างๆ มีการกระจายตัวมากน้อยเท่าใดจากค่าเฉลี่ย (มัธยฐาน)

ความสำคัญของความผันผวนที่มีต่อเทรดเดอร์

การตระหนักถึงความผันผวนของหลักทรัพย์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน เนื่องจากระดับความผันผวนต่างๆ จะเหมาะสมกับกลยุทธ์และหลักจิตวิทยาบางประการมากกว่า ยกตัวอย่าง ฟอเร็กซ์เทรดเดอร์คนหนึ่งต้องการให้เงินทุนของเขาเติบโตอย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีความเสี่ยงที่มากควรจะเลือกเทรดในคู่สกุลเงินที่มีค่าความผันผวนน้อยกว่า ในทางตรงกันข้าม เทรดเดอร์ประเภทรักความเสี่ยงอาจมองหาคู่สกุลเงินที่มีความผันผวนสูงขึ้นเพื่อที่จะทำกำไรจากค่าความต่างของราคาที่มากขึ้นที่ได้จากคู่สกุลเงินที่มีความผันผวนนี้ ด้วยการได้รับข้อมูลจากเครื่องมือของเราคุณจะสามารถกำหนดได้ว่าคู่สกุลเงินใดที่เป็นคู่สกุลที่ผันผวนมากที่สุด นอกจากนี้คุณยังสามารถทราบได้ว่าวันใดและช่วงเวลาใดในสัปดาห์สำหรับคู่สกุลนั้นที่จัดอยู่ในช่วงที่ผันผวนมากที่สุดและน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้คุณสามารถปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณให้เหมาะสมได้

สิ่งใดส่งผลกระทบต่อความผันผวนของคู่สกุลเงิน?

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดและ/หรือเศรษฐกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศหนึ่ง หรือ การลดลงในราคาสินค้าโภคภัณฑ์นั้นมักเป็นปัจจัยให้เกิดความผันผวนของตลาดฟอเร็กซ์ ระดับความผันผวนเกิดขึ้นจากแง่มุมต่างๆ ของคู่สกุลเงินและภาวะเศรษฐกิจของคู่สกุลเงินเหล่านั้น คู่สกุลเงินตราซึ่งสกุลเงินหนึ่งจากประเทศที่พึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลักและอีกสกุลหนึ่งจากประเทศที่เน้นการให้บริการเป็นหลักจะมีแนวโน้มที่จะผันผวนมากกว่าเนื่องจากความแตกต่างที่มีมาในตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ระดับของอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกันยังทำให้คู่สกุลเงินมีความผันผวนมากกว่าคู่สกุลจากเศรษฐกิจที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงกัน และสุดท้าย สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนข้ามสกุล (คู่สกุลที่ไม่รวมเงินดอลลาร์สหรัฐ) และ อัตราแลกเปลี่ยนคู่สกุลเงินแปลกใหม่ (คู่สกุลที่ไม่รวมสกุลเงินหลัก) ยังมีแนวโน้มที่จะผันผวนมากกว่าและมีเสปรดของราคาที่ขาย/ราคาที่รับซื้อที่มากกว่า ตัวขับเคลื่อนอื่นๆ ของการเกิดความผันผวน ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ, หนี้ของรัฐบาล และภาวะขาดดุลเดินสะพัด, ความมีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศเจ้าของสกุลเงินนั้นจะมีอิทธิพลต่อความผันผวนของตลาดฟอเร็กซ์ สกุลเงินต่างๆ ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลาง เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) และสกุลเงินดิจิตัลชนิดอื่นๆ จะมีความผันผวนมากกว่าเนื่องจากมีการเก็งกำไร

เครื่องคำนวณค่าความผันผวนตลาดฟอเร็กซนำมาใช้อย่างไร?

ส่วนบนสุดของหน้านี้ โปรดเลือกจำนวนสัปดาห์ที่คุณต้องการคำนวณค่าความผันผวนของคู่สกุลเงิน โปรดพึงทราบว่า ยิ่งคุณเลือกกรอบเวลาที่ยาวนานมากเท่าใด ค่าความผันผวนก็ยิ่งต่ำลงเท่านั้นเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่สั้นกว่าที่มีค่าความผันผวนมากกว่า ภายหลังจากระบบแสดงข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โปรดคลิกคู่สกุลเงินเพื่อเข้าดูค่าความผันผวนเฉลี่ยในแต่ละวัน ค่าความผันผวนเฉลี่่ยรายชั่วโมง และรายละเอียดปลีกย่อยสำหรับค่าความผันผวนของคู่สกุลเงินในแต่ละวันของสัปดาห์

ลงชื่อเข้าใช้ด้วย Apple
สมัครสมาชิกด้วย Google
หรือ
สมัครสมาชิกด้วยอีเมล