หลังจากที่เราเกริ่นไว้เมื่อวานนี้ว่า
ปัจจุบันนี้ เราอาจจะอยู่ในภาวะ Inverted Taper Tantrum
จากบทความ Are We in Inverted Taper Tantrum?and What's next?
ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญก็คือสภาพคล่อง
ที่มีปริมาณมากมหาศาล ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆ
ปรับตัวขึ้นชนิดลืมกังวล ทั้งเรื่องเศรษฐกิจหดตัวแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งเรื่องการแพร่ระบาดรอบที่ 2 ของ COVID-19 และเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ
ทำให้ท้ายที่สุดแล้วในครั้งนี้
หากตลาดจะพังครืน พักฐาน หรือเปลี่ยนทิศทาง
ก็น่าจะมาจากแนวโน้มการลดสภาพคล่องของธนาคาร
แตในครั้งนี้ อาจจะต่างจากปี 2013 ไปเล็กน้อย
เมื่อ Fed นั้นยังเหลือไม้ตายก้นหีบอีกชนิดนึ่ง
ที่เรียกว่าความประหลาดใจในแง่ดี (Positive Surpise)
คืออะไร?
1 หลักการที่สำคัญของการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นก็คือ
ต้องเป็นอะไรที่ไม่คาดมาก่อน เพื่อให้เมื่อออกมาตรการนั้นๆมา จะทำให้ประชาชนใช้จ่าย หรือลงทุนเพิ่มเติมเพื่อให้เงินหมุนในระบบมากขึ้น
เพราะหากมาตรการที่จะออกมานั้น มีการคาดคิดไว้ก่อนหน้า จะทำให้ประชาชนทั้งหลาย ชะลอการใช้จ่าย ชะลอการลงทุน เพื่อรอมาตรการเหล่านั้นก็เป็นได้
ทำให้แทนทีจะมีเงินใช้จ่ายมากขึ้นเป็นส่วนเพิ่ม
กลับกลายเป็นการลดการใช้จ่ายบางวช่วงเวลา ไปเพิ่มในช่วงหลังมาตรการนั้นๆออกมาแทน ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีแต่อย่างใด
ฉันใดฉันนั้น ในมุมของ Fed ก็เช่นเดียวกัน
หากมาตรการหลายๆ อย่างนั้นถูกนำมาใช้ตามที่ตลาดคาดการณ์ ราคาของสินทรัพย์ที่ถูกคาดว่าจะได้รับผลบวกนั้น ก็จะขึ้นไปรอเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งเมื่อมาตรการออกมาจริง ราคาสินทรัพยฺ์นั้นๆ
อาจจะ Price in หรือ เต็มมูลค่าของความคาดหวังนั้นๆแล้วก็เป็นได้
ทำให้หากมาตรการออกมาตรงตามความคาดหวัง
ราคาสินทรัพย์ อาจจะนิ่งๆก็เป็นได้
หรือในกรณีแย่กว่านั้น
หากมาตรการกระตุ้นออกมาน้อยกว่าความคาดหวัง
ราคาสินทรัพย์ก็อาจจะลงได้อย่างรุนแรง
ซึ่งอาวุธลับชิ้นแรกในครั้งนี้ของ Fed ก็คือ
Yield Curve Control
ซึ่ง Fed ยังคงกั๊กๆ ท่าที เหมือนจะให้ความหวัง แต่ก็เหมือนจะไม่อยากใช้ถ้าไม่จำเป็น ด้วยการออกมาพูดถึงในแถลงการณ์เมื่อวานนี้ว่า จะนำไปศึกษาหารือก่อน
ก็เป็นการจัดการกับความคาดหวังได้ดีในระดับหนึ่ง
ทำให้หากไม่นำมาใช้ ตลาดอาจจะ "เฉยๆ" ก็เป็นได้
แต่หากนำมาใช้ ตลาดอาจจะมองว่าเป็นมาตรการชิ้นใหม่ ไฉไลกว่าเก่า ผลักดันราคาสินทรัพย์ ให้กลับมาวิ่งเป็นม้ามาม้าอีกครั้งก็เป็นได้
แต่ยังไม่หมดแค่นั้น
เพราะยังมีอีกอาวุธที่ Fed ทำท่าเหมือนปิดประตูไปแล้วก็คือ
การใช้ดอกเบี้ยนโยบายแบบติดลบ
ดับความหวังของตลาดมาระยะหนึ่ง
ด้วยการออกมาให้สัมภาษณ์อย่างขันแข็งของนายเจอโรมม์ พาเวลล์ว่าจะไม่ใช้อย่างแน่นอน สวนทางนักวิเคราะห์หลายๆเจ้า และความคาดหวังของตลาด
ส่งผลให้ Fed Fund Futures นั้นส่งสัญญาณออกมาว่า
โอกาสมากกว่า 90% ที่ Fed จะคงดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงปลายปี 2021
จากเดิมทีที่ตลาดเคยยคาดหวังว่าโอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยสู่ระดับติดลบสูงสุดประมาณ 30-40% ก็มลายหายไปกลายเป็นศูนย์
ทำให้หากถึงยามวิกฤติแล้ว
ไพ่ในมือของ Fed ไม่มีอะไรเหลือ
ไพ่ใบนี้ อาจเป็นไพ่ตายใบสุดท้ายที่ถูกนำออกมาใช้ก็เป็นได้
แม้หลายๆงานวิจัยจะบอกว่ายังไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจนว่าการใช้ดอกเบี้ยติดลบกระตุ้นเศรษฐกิจได้ก็ตาม.....
#แอดลุง
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ AKN Blog
ห้ามพลาด
การซื้อหุ้นกู้บริษัทเอกชนของเฟดไม่ได้แก้ปัญหาโควิด-19 รอบที่ 2