ย้อนกลับไปเมื่อปี 2013 ที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังฟื้นตัวจากวิกฤติซับไพรม์ได้อย่างเต็มที่ อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เฉลี่ยประมาณ 7.5% ลดลงจากช่วงก่อนหน้าที่พุ่งไปแตะระดับสูงสุดที่ 10.2% GDP ยังขยายตัวได้ระดับเหนือ 2% ขึ้นไป อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ยังอยู่ใกล้ๆ 1.5%
แต่แล้วสิ่งไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม เมื่อคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มมีการพูดถึงการลดขนาดการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ QE
ซึ่งข่าวคราวในครั้งนั้น ยังไม่ได้แม้แต่จะเป็นนโยบายอย่างทางการเสียด้วยซ้ำ หนำซ้ำปริมาณการเข้าซื้อยังอยู่ในระดับอัตราเร่งเท่าเดิมอย่างต่อเนื่อง เสมือนช่วงก่อนหน้า
แต่เพียงเท่านั้นก็มากพอที่จะทำให้ตลาด "กังวล" กันยกใหญ่ ส่งผลให้สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำปรับตัวลงกว่า 11% ดัชนี MSCI World -4.5% MSCI Asia Ex. Japan -11% ภายในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 2 เดือน
กราฟดัชนี MSCI
ส่วนของดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เป็นต้นตอข่าวลือครั้งนั้นยังขึ่้นต่อได้อีกเกือบ 3 สัปดาห์ ก่อนทีจะปรับตัวลงในที่สุดตามทิศทางความกังวลของตลาดทั่วโลกเพียง 3-4% เท่านั้น ก่อนที่จะกลับมาปรับตัวขึ้นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในตลาดหุ้นแต่ความกังวลไปแสดงผลที่ตลาดตราสารหนี้แทน ด้วยการเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไปจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ขยับขึ้นทั้งเส้น
ซึ่งตัวที่นักลงทุนอย่างเราๆ ดูบ่อยๆ คงเป็นอายุุ 10 ปี พุ่งขึ้นจาก 1.62% แตะระดับ 2.99% ในปีนั้น พุ่งขึ้นไปเกือย 2 เท่าในระยะเวลาเพียงไม่ถึงครึ่งปี ย้ำอีกครั้งว่าเกิดขึ้นท่ามกลาง QE ของ Fed เสียด้วย
มาถึงวันนี้ เรากำลังอยู่ในภาวะตรงกันข้ามกับปี 2013 ที่กล่าวถึงหรือเปล่า? ลองมาไล่ดูกัน
เศรษฐกิจทั่วโลกแย่จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ถึงขั้นที่ธนาคารโลกออกมาคาดการณ์ว่าน่าจะแย่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลก อัตราการว่างานสหรัฐฯ สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ GDP ประกาศรอบที่ 2 ออกมาหดตัว 5.0% (QoQ) Supply Chain ทั่วโลกชะงักไปบางส่วน
แต่ตลาดหุ้นทั่วโลกวิ่งเหมือนม้าเมาม้า ด้วยรูปแบบการเคลื่อนไหวที่เหมือนกันมากขึ้นไปทุกที เป็นเพราะมาตรการ Unlimited QE ของ Fed อีกเช่นกัน
แน่นอนว่าปัจจัยเรื่องการเปิดเมืองมีผลบ้าง วัคซีนมีผลด้วย แต่ท้ายที่สุดแล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่า Unlimited QE นั้น คือปัจจัยสำคัญ
เพราะวันที่ Fed ประกาศใช้มาตรการดังกล่าว (21/3/20) ตลาดก็กลับมาขึ้นทันที ทำเอานักลงทุนสายวิกฤติ ที่ล้างพอร์ตไปก่อนหน้า "เหวอ" ไปตามๆกัน
ทำให้คำถามที่ว่าเราอยู่ในภาวะตรงกันข้ามกับ Taper Tantrum คงตอบได้ไม่ยากว่าใช่ หรืออาจใช้คำที่หลายๆ คนเรียกกันว่า Liquidity Frenzy, Money Adrenaline Rush และสารพัดชื่อตามแต่ความบรรเจิดของเจ้าของไอเดีย
ทำให้ปัจจัยต่อไปที่ต้องจับตาคือ ท่าทีของ Fed
ที่่หากส่งสัญญาณการ พิจารณา "อาจจะ" ลดวงเงิน QE หรือ ดูดเงินกลับขึ้นมา ตลาดคงน่ากลัวไม่น้อย......
แตถามว่าคราวนี้จะเหมือนคราวที่แล้วหรือไม่ ส่วนตัวเชื่อว่า Fed ยังมีไม้เด็ดเก็บไว้ก้นหีบอีก ทำให้ครั้งนี้ผลที่ออกมาอาจแตกต่างออกไปไม่มากก็น้อย
ส่วนจะเป็นอะไรนั้น ติดตามอ่านต่อวันพรุ่งนี้
#แอดลุง
Source : Bloomberg, Investing
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ AKN Blog
ไม่อยากพลาดบทวิเคราะห์ดีๆ อย่าลืมกด "ติดตาม" นะครับ
.....
บทความห้ามพลาด