สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายนเปิดตัวมาด้วยการสร้างจุดต่ำสุดใหม่ของตลาดหุ้นและคู่สกุลเงิน แต่ไม่นานขาลงนั้นก็กลายเป็นขาขึ้นหลังจากที่เฟดได้ออกมาประกาศแผนซื้อหุ้นกู้ของบริษัทเอกชน แม้เฟดจะทำเหมือนว่าตัวเองคือผู้ซื้อที่สามารถซื้อสินทรัพย์มากแค่ไหนก็ได้ตามที่ต้องการและการวางตัวแบบนี้ยิ่งทำให้ตลาดหุ้นและตราสารหนี้มีความต้องการเพิ่มขึ้นแต่กลับเป็นการทำร้ายสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่ตอนนี้ไม่ว่าจับคู่กับใครก็ไม่สามารถสู้มูลค่าของสกุลเงินนั้นได้ ที่สำคัญกว่านั้นคือกลยุทธ์นี้ของเฟดยังไม่สามารถช่วยประเทศจากวิกฤตโควิด-19 ได้อีกด้วย
ในตอนนี้สำหรับผู้นำของโลก นักลงทุนและมนุษยชาติคงไม่มีข่าวไหนน่าเป็นกังวลไปมากกว่าการกลับมาของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่นับวันความเป็นไปได้ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตอนนี้ความกังวลได้กลายเป็นความจริงแล้วในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานการพบผู้ติดเชื้อใหม่ในรัฐฟอร์ริด้า เท็กซัสและอาริโซนาเพิ่มขึ้นทุกวัน เรายังเห็นการแพร่ระบาดกลับมาในเมืองอย่างปักกิ่งและกรุงโตเกียว ทันทีที่ประเทศจีนพบการแพร่เชื้อใหม่ที่กรุงปักกิ่งก็มีมาตรการล็อกดาวน์ทันทีซึ่งความกังวลนี้นักลงทุนกลัวว่าจะเกิดกับที่อื่นๆ ของโลกด้วยเช่นกัน ตอนนี้จีนได้มีการสั่งปิดสถานที่ที่มีความเป็นไปได้่ว่าจะมีการแพร่เชื้อ 11 แห่ง ปิดตลาดซื้อขายอาหารหลัก ห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้ามายังเมืองที่มีความเสี่ยงและเลื่อนการเปิดโรงเรียนออกไป
สัญญาณความไม่แน่นอนในตลาดเริ่มขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายนและประเด็นการกลับมาของโควิด-19 อาจจะกลายเป็นมากกว่า “ความกังวล” ได้หากในอนาคตยังมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แม้ว่าตอนนี้การพบผู้ติดเชื้อในประเทศจีนและญี่ปุ่นระลอกใหม่จะยังมีจำนวนไม่มากแต่ถ้าตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อขึ้นถึงหลักร้อยแบบรายวันเมื่อไหร่ ประเทศจีนอาจใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดซึ่งอาจรวมไปถึงการปิดเมืองปิดประเทศอีกครั้ง หากเป็นเช่นนั้นจริงสกุลเงินที่จะได้รับผลกระทบก่อนใครคือออสเตรเลียดอลลาร์และนิวซีแลนด์ดอลลาร์ไม่ใช่เฉพาะกับสกุลเงินเท่านั้นแต่ทั้งตลาดหุ้น สินค้าส่งออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าคงทนของออสเตรเลียจะได้รับผลกระทบทั้งหมด
กลับมาที่สหรัฐอเมริกาตอนนี้โอเรกอน ยูท่าห์ แนชวิลล์และบอลทิมอร์ได้หยุดการกลับมาเปิดเมืองแล้ว ทีมงานคนสำคัญของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ตั้งแต่รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ไปจนถึงที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายแลร์รี่ คุดโลว์กลับไม่ได้แสดงท่าทีที่กังวลต่อการแพร่ระบาดรอบที่ 2 มากนักแต่ยังพูดถึงจำนวนผู้ติดเชื้อในฟินิกซ์ ลาสเวกัสและดีทรอยต์ว่าอาจมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนักลงทุนจะต้องจับตาดูสถานการณ์แพร่ระบาดของที่ 2 ในสหรัฐฯ แล้วยังต้องจับตาดูสถานการณ์ของแคนาดาและสหราชอาณาจักรที่จะมีการรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจสำคัญในสัปดาห์นี้
ช่วงโปรโมชันของเงินเยียวยาการตกงานในสหรัฐฯ ที่กำลังใกล้จะหมดลงอาจเป็นการซ้ำเติมตลาดหุ้นและดอลลาร์เข้าไปอีกซึ่งคุดโลว์ได้ออกมาพูดถึงประเด็นนี้ว่าจะไม่มีการยืดระยะเวลามอบเงินช่วยเหลือออกไปอีก พรรคเดโมแครตต้องการให้สิทธิพิเศษนี้ยืดระยะเวลาออกไปอีกในขณะที่ฝ่ายริพับบลิกันไม่ต้องการ เมื่อหมดระยะเวลาของเงินเยียวยาพิเศษนี้สถานการณ์ของคนอเมริกันหลายล้านคนจะกลับมาสู่ความเป็นจริงอีกครั้งซึ่งอาจจะนำไปสู่การถูกลดเงินเดือนและกระทบต่อยอดการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงซัมเมอร์ แม้ว่าในอนาคตทั้งสองฝ่ายจะสามารถตกลงกันได้ด้วยเงื่อนไขบางอย่างเกี่ยวกับการช่วยเหลือภาคแรงงานแต่เชื่อได้เลยว่าเงื่อนไขนั้นจะไม่สามารถดีได้เท่าการให้เงินช่วยเหลือ $600 ในตอนนี้แน่นอน
สำหรับตอนนี้ข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวยกตัวอย่างเช่นดัชนีภาคการผลิตจากเอ็มไพร์ สเตตที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์กันว่าจะดีขึ้นจาก -48.5 เป็น -29.6 แต่ตัวเลขที่ออกมากลับดีเกินคาดไปมากถึง -0.2 ข่าวดีนี้ทำให้นักลงทุนหันไปให้ความสนใจว่าตัวเลขยอดค้าปลีกที่จะประกาศออกมาในวันนี้ว่าจะดีขึ้นด้วยหรือไม่ ตัวเลขยอดค้าปลีกคือหนึ่งในข้อมูลที่สำคัญที่สุดของสัปดาห์นี้ซึ่งตลาดหวังว่าตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยจะสามารถกลับขึ้นมาได้ 8% จากตัวเลขของเดือนที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 16.4% ในช่วงระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมมาจนถึงต้นเดือนมิถุนายนจะเห็นว่าตลาดหุ้นและคู่สกุลเงินสามารถขึ้นมาได้เพราะความหวังที่มีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและตัวเลขยอดค้าปลีกนี้จะแสดงให้เห็นว่าความหวังนั้นมีพลังมากเพียงใดหรือเป็นแค่สิ่งที่ตลาดคิดกันไปเอง หากว่าวันนี้ตัวเลขยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้นถึง 10% หรือมากกว่านั้นเราจะได้เห็นขาขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ และสกุลเงินดอลลาร์ การประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกครั้งนี้น่าจับตาดูยิ่งกว่าการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นเสียอีกเพราะสุดท้ายแล้วตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นก็คงที่อยู่ดังเดิม
ข่าวเกี่ยวกับสกุลเงินยูโรและปอนด์ในวันนี้ก็ถือว่าน่าสนใจ รายงานผลสำรวจจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจแห่งยุโรป (ZEW) คือข้อมูลที่เชื่อถือได้เสมอมาและครั้งนี้เชื่อว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะเพิ่มสูงขึ้น ส่วนสถานการณ์ของอังกฤษทุกคนกำลังจับตาดูว่าแบงก์ชาติจะมีการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมหรือไม่ซึ่งจะกระทบต่อภาคแรงงานด้วย แม้ตัวเลขการตกงานในเดือนพฤษภาคมจะลดลงแต่ข้อมูลจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ระบุว่าภาคแรงงานของสหราชอาณาจักรยังคงอ่อนแอ ดังนั้นสกุลเงินปอนด์จึงเป็นสกุลเงินที่มีโอกาสปรับตัวลดลงมากที่สุดไม่แพ้ดอลลาร์ในสัปดาห์นี้
.....
บทความห้ามพลาด