Investing.com - หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังลังเลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้น ขณะที่ Nikkei 225 ของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 34 ปี ท่ามกลางความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการชะลอแผนกระชับนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น
หุ้นภูมิภาคได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากวอลล์สตรีท เนื่องจากดัชนีหุ้นสหรัฐปิดตลาดแบบไม่เคลื่อนไหว ท่ามกลางความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วงต้นของธนาคารกลางสหรัฐ
หุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร หลังการขาดทุนในสัปดาห์แรกของปี 2024 ทำให้เกิดการเข้าซื้อต่อรองราคา โดยเฉพาะในหุ้นประเภทเทคโนโลยีแต่ถ้าหากไม่รวมหุ้นญี่ปุ่น นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงมองข้ามสินทรัพย์ที่ขับเคลื่อนด้วยความเสี่ยง ก่อนที่จะมีสัญญาณบ่งชี้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐฯ
Nikkei 225 แตะระดับสูงสุดในรอบ 34 ปี หลังตลาดเดิมพันว่า BOJ จะชะลอแผนกระชับนโยบาย
Nikkei 225 ของญี่ปุ่นถือเป็นดัชนีสำคัญที่แตกต่างจากหุ้นในตลาดหุ้นทั่วโลก โดยพุ่งขึ้นเกือบ 2% ในวันนี้สู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก่อนที่ฟองสบู่การเก็งกำไรครั้งใหญ่จะแตกในปี 1990
ปัจจัยสนับสนุนที่ใหญ่ที่สุดของ Nikkei คือการเดิมพันที่เพิ่มขึ้นว่า BOJ จะต้องชะลอแผนการที่จะเริ่มบังคับใช้นโยบายที่เข้มงวดขึ้นในปี 2024 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในภาคกลางของญี่ปุ่น
ความพยายามในการฟื้นฟูและบันเทาความเสียหายหลังเกิดภัยพิบัติดังกล่าว คาดว่าจะช่วยชะลอแนวคิดเรื่องนโยบายที่เข้มงวดมากขึ้นจาก BOJ ซึ่งส่งผลดีต่อหุ้นญี่ปุ่น
Nikkei เป็นดัชนีหุ้นหลักที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุดในปี 2023 โดยเพิ่มขึ้นถึง 30% เพราะได้รับแรงหนุนจากท่าทีที่ผ่อนคลายของ BOJ เนื่องจากธนาคารยังคงรักษานโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่าธนาคารอื่น ๆ ส่วนใหญ่ทั่วโลกจะเริ่มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ตาม
ข้อมูล เงินเฟ้อ และ อัตราค่าแรงโดยรวม ที่อ่อนแอยังชี้ให้เห็นถึงแรงกดดันต่อ BOJ ที่น้อยลงในการเริ่มต้นกระชับนโยบายมากขึ้น
ถึงกระนั้น Nikkei ยังคงเสี่ยงต่อการเทขายทำกำไรที่ระดับสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา ฤดูการรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่สี่ที่กำลังจะมาถึงนั้น ถือเป็นบททดสอบว่าหุ้นญี่ปุ่นจะสามารถปรับมูลค่าฟองสบู่ได้หรือไม่
ตลาดเอเชียโดยรวมปรับตัวลดลง เนื่องจากเทรดเดอร์นั้นลดความคาดหวังลงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วงแรกในเดือนมีนาคม 2024 ของเฟด โดยตลาดอยู่ในภาวะซบเซาก่อนการเปิดเผยรายงานข้อมูล ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สำคัญของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ ซึ่งคาดว่าจะแสดงให้เห็นการฟื้นตัวเล็กน้อยของอัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม
อัตราเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อ ประกอบกับสัญญาณล่าสุดของ ความแข็งแกร่งในตลาดแรงงาน คาดว่าจะทำให้เฟดมีช่วงเวลาเพียงพอที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้นานขึ้น สถานการณ์นี้เป็นปัจจัยไม่ดีสำหรับตลาดหุ้นที่ขับเคลื่อนด้วยความเสี่ยง
ดัชนี CSI 300 และ เซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ของจีนขยับลง 0.1% และเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบหลายปีเนื่องจากความเชื่อมั่นต่อประเทศยังคงอ่อนแอ การขาดทุนในหุ้นแผ่นดินใหญ่ยังส่งผลให้ดัชนี ฮั่งเส็ง ของฮ่องกงปรับลง 0.6%
ในสัปดาห์นี้ความสนใจยังคงอยู่ที่ข้อมูล อัตราเงินเฟ้อ และ ดุลการค้า ของจีน ซึ่งคาดว่าจะแสดงให้เห็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นบ้างในเศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
KOSPI ของเกาหลีใต้ปรับลง 0.7% ก่อนการประชุมของ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ ในวันพฤหัสบดี ซึ่งคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้
ดัชนีอินเดียฟิวเจอร์ส Nifty 50 มีแนวโน้มเปิดตลาดที่อ่อนแอ โดยดัชนีมีโอกาสที่จะขยับไปในทิศทางเดียวกับดัชนีอื่น ๆ ในเอเชีย ข้อมูล อัตราเงินเฟ้อ ของอินเดียก็จะทำการเผยแพร่ในสัปดาห์นี้เช่นกัน