โดย Detchana.K
Investing.com - ภาพรวมเศรษฐกิจไทยช่วงนี้ตลาดให้น้ำหนักการผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังของทีมเศรษฐชุดใหม่ ซึ่งรัฐมีเป้าผลักดัน ราว 4.4 แสนล้านบาท (ราว 4% GDP ปี 2562 ) ขณะที่สมาคมค้าปลีกไทยเผยจะผลักดันมาตรการกระตุ้นการบริโภค โดยเฉพาะมาตรการช็อปช่วยชาติ ทำให้คาดกันว่าหุ้นกลุ่มค้าปลีกน่าจะได้รับอานิสงส์จากการผลักดันเรื่องนี้ ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญอื่นๆที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้
1 .มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหนุนกลุ่มค้าปลีก
บล.เอเชียพลัสให้ข้อมูลว่า ในช่วงที่เหลือของเดือน ส.ค. ยังให้น้ำหนักการผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังของทีมเศรษฐชุดใหม่ (เม็ดเงินที่จะผลักดันเข้าระบบในช่วง 2H63 หากอิงคาดการณ์ของสภาพัฒน์ยังคงมาจาก พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท ซึ่งรัฐมีเป้าผลักดัน ราว 4.4 แสนล้านบาท (ราว 4% GDP ปี 2562 ) โดยตลอดสัปดาห์รัฐบาลมีการทยอยผลักดันมาตรการต่างๆอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
เมื่อวานนี้ที่ประชุม ครม. อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา 3 ส่วนคือ สินเชื่อ Soft loan ช่วยเหลือ SMEs ในกลุ่มรายย่อย , ภาคท่องเที่ยว และSupply chain วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท(ราว 1.2%GDP ปี 2562) , ประกันราคาสินค้าเกษตรปี 63/64 (ยาง, มันสําปะหลัง)
วันนี้ที่ประชุม (ศบศ.) ครั้งแรก การประชุมภาครัฐและเอกชนเสนอมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภาคต่างๆ จากหน้าหนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจวันที่ 20-22 ส.ค.สมาคมค้าปลีกไทยเผยจะผลักดันมาตรการกระตุ้นการบริโภค โดยมาตรการะทีจะเกิดแน่ คือ “ช็อปช่วยชาติ” คือ “นําใบเสร็จจากการซื้อสินค้าไปลดหย่อนภาษี ” ในอดีตรัฐบาลเคยทําถึง 4 ครั้งในปี 2558-2561 และลดหย่อนภาษี 1.5 หมื่นบาท และระยะเวลา 7 วัน- 1 เดือน แต่ล่าสุด สมาคมค้าปลีก เสนอจะจัดให้มีทุกๆเดือน ซึ่งต้องรอรายละเอียดชัดเจน ว่าจะมีรายละเอียด
อย่างไร ทั้งสินค้าที่เข้าร่วม, ระยะเวลา และวงเงินภาษี ที่ลดหย่อนได้
โดยภาพรวมแล้ว ASPS เชื่อว่าความคาดหวังจากช้อปช่วยชาติจะช่วยปลุกกระแสเก็งกําไร ในหุ้นกลุ่มค้าปลีก เช่น (BK:CRC), ซีพี ออลล์ (BK:CPALL), SPVI และหุ้นกลุ่มวัสดุ เช่น DCC เป็นต้น
2. การบินกรุงเทพ ไตรมาสสองขาดทุนเกือบ 3,000 ลบ.
การบินกรุงเทพ (BK:BA)) ขาดทุนงวด 2Q20 ที่ 2,975 ลบ. ขาดทุนเพิ่มจาก 694 ใน 2Q19 และ 339 ลบ. ใน 1Q20 โดยได้รับผลกระทบจากการหยุดบินไปเดือนเม.ย. และการใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ที่ทำให้มีการบันทึกผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์เข้ามากว่า 747 ลบ. (แต่บางส่วนเป็นผลขาดทุนจากสัญญาน้ำมัน ที่ซื้อไว้ล่วงหน้า) และมีการบันทึกค่าใช้จ่ายพนักงานตามโครงการลด จำนวนพนักงาน 583 ลบ. (รับรู้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร) และมี กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามา 172 ลบ. หากไม่รวมรายการดังกล่าวจะ ขาดทุนประมาณ 1,817 ลบ. รายได้อยู่ที่ 287 ลบ. (-94%YoY,- 95%QoQ) ได้รับผลกระทบหนักจากการหยุดบินในเดือนเม.ย.
ภาพรวมการกลับมาบินของ BA นั้น เริ่มมีการปรับเพิ่มความถี่มากขึ้นอย่าง ต่อเนื่องแต่หากเทียบกับปีก่อนยังถือว่าน้อยกว่ามากเนื่องจากไฟล์ท ต่างประเทศยังต้องรอการอนุมัติจากทางภาครัฐบาลก่อน รวมถึงการ เดินทางจากต่างประเทศยังไม่เห็นสัญญาณบวกในระยะสั้น เห็นได้จาก ยอดจองล่วงหน้าถึงกลางปี 21 ลดลงกว่า 86%YoY (เส้นทางต่างประเทศ จะเน้นไปที่กลุ่มประเทศ CLMV ก่อน ซึ่งเบื้องต้น BA เตรียมแผนบิน เส้นทางกรุงเทพ-พนมเปญ และกรุงเทพย่างกุ้งก่อนในเดือน ต.ค. ส่วน เส้นทางสมุย-สิงคโปร์ หรือ สมุย-ฮองกง จะเปิดบินเดือน ธ.ค. เป็นต้น)
บล.คันทรีกรุ๊ป คาดว่าจากการฟื้นตัวของภาคการบินที่ช้ากว่าที่เคยคาดไว้ ทำให้ปรับลดสมมติฐานผู้โดยสารลงอีกครั้งเหลือเพียง 1.9 ล้านคน (-67%YoY) และ คาดว่าจะขาดทุน 2,257 ลบ. (ไม่รวมรายการพิเศษ) ส่วนปี 21 ต้อง ติดตามว่าเส้นทางบินต่างประเทศจะกลับมาได้ช่วงใด แต่การฟื้นตัวคาดว่า จะยังไม่เร็วนักเพราะผู้โดยสารส่วนหนึ่งของ BA มาจากทวีปยุโรปที่ยังมี ปัญหาการระบาดอยู่มากจึงคาดว่าผลประกอบการจะยังขาดทุนอีก 283 ลบ.
3. ตลาดหุ้นไทยเข้าสู่ภาวะที่ขับเคลื่อนด้วยสภาพคล่อง (Liquidity Driven) อีกครั้ง
บล.เอเชียพลัสเผยว่า ตลาดหุ้นไทย น่าจะเข้าสู่ช่วงที่ถูกขับเคลือนด้วยสภาพคล่องส่วนเกิน (Liquidity Driven)อีกครั้ง หลังจากเห็นจุดต่ำสุดทั้งในเรื่อง GDP และกําไรบริษัทจดทะเบียน ในงวด 2Q63 ขณะที่ในอีกทางหนึ่งเชื่อว่าจะเห็นอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำไปอีกนาน ผลักดันให้สภาพคล่องที่สะท้อนผ่านตัวเลขเงินฝากในสถาบันการเงินกว่า 15 ล้านล้านบาท (ใหญ่กว่าขนาด GDP ประเทศไทย) มีโอกาสที่จะวิงเข้าหาสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนสูงกว่าแลกกับการยอมรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งตลาดหุ้นก็น่าจะเป็นเป้าหมายที่สําคัญอีกทางหนึ่ง Fund Flow จากต่างประเทศก็มึโอกาสที่จะไหลกลับเข้ามา หลังจาก USD อ่อนค่าต่อเนือง ประกอบกับสถานะการถือครองหุ้นของต่างชาติในตลาดหุ้นไทยที่อยู่ใน ระดับต่ำกว่าปกติมาก (ราว 26% รวมทั้งทีปิดโอน และ NVRD) ภาวะดังกล่าวน่าจะทําให้SET Index ที่แม้ปัจจุบันซื้อขายบนค่า PER สูงกว่า 23 เท่า มี Downside จํากัด และอาจเห็นการปรับตัวสูงขึ้นได้
ด้าน บล.คันทรีกรุ๊ปให้ข้อมูลว่า กลุ่มธนาคารกลับมามีความน่าสนใจ หลังมี ความเป็นไปได้ที่จะกลับมาจ่ายเงินปันผลก่อนสิ้นปี 2563 โดย ธปท. อยู่ระหว่างรอผลการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress test) ในช่วงเดือน ต.ค. อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ ในปี 2563 อยู่ในระดับสูง โดย 2Q63 เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) อยู่ที่ 19.2% ทำให้กรณีที่กลุ่มธนาคารจะกลับมาจ่ายเงินปันผลมีความเป็นไปได้
อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามปัจจัย เสี่ยงต่างประเทศจากความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และ สถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง