โดย Detchana.K
Investing.com - ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยหดตัวชะลอลง จากราคาพลังงานและราคาอาหารสดที่ปรับตัวดีขึ้น
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. หดตัวชะลอลง อยู่ที่ -1.57% (YoY) จากเดือนก่อนที่ -3.44% (YoY) โดยมีสาเหตุหลักจากราคาพลังงานที่หดตัวชะลอลงที่ -11.89% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่หดตัว -27.38% ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดหดตัวชะลอลงที่ -16.14% รวมไปถึงราคาอาหารสดที่หดตัวน้อยลงจากเดือน ก่อนอยู่ที่ -1.1% นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนในช่วง COVID-19 ที่สิ้นสุดลงในบางรายการ เช่น การลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา ก็มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวดีขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป 6 เดือนแรกของปีอยู่ที่ -1.13%
ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานพลิกกลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 128 เดือน อยู่ที่ -0.05% (YoY) จากผลของสถานการณ์ COVID-19 ที่ยังกระทบการจับจ่ายใช้สอย ของประชาชนให้เป็นไปอย่างระมัดระวัง รวมถึงการควบคุมด้านราคาสินค้าอุปโภคบริโภคโดยรวม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 0.32%
ทิศทางราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการผ่อนคลาย Lockdown ตอกย้ำว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ณ ระดับปัจจุบันได้ผ่านพ้นจดุต่ำสุดของปีไปแล้ว โดยราคาน้ามันดิบดูไบในเดือน มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 40 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. ที่อยู่ที่ 32 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งคาดว่าราคาน้ามันดิบดูไบเฉลี่ยในครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวจากไตรมาส ที่ 2 ของปี
นอกจากนี้ การจับจ่ายใช้สอยที่น่าจะกลับมาคึกคักจากความต้องการสะสมและ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการจ้างงานในประเทศ จึงเป็นไปได้ว่า อัตรา เงินเฟ้อทั่วไปจะปรับตัวดีขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจ แต่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่าตลอดปี ก่อนจะฟื้นตัวได้ในปี 2021 โดย Krungthai COMPASS ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้ง ปี 2020 อยู่ที่ -1.2% ขณะที่ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับลดกรอบอัตราเงินเฟ้อลงอยู่ที่ -1.5% ถึง -0.7% (ค่ากลางอยู่ที่ -1.1%)
ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวดีขึ้นในครั้งนี้เป็นการลดโอกาสที่ กนง. จะปรับลดดอกเบี้ย ในช่วงที่เหลือของปี สะท้อนจากผลการประชุม กนง. ครั้งล่าสุดที่มีมติเป็นเอกฉันท์ “คง” อัตราดอกเบี้ยที่ 0.50% สวนทางกับการปรับลดตัวเลขจีดีพีปี 2020 ที่คาดว่าจะติดลบถึง 8.1% เมื่อเทียบกับประมาณการเดิมที่ติดลบ 5.3% ทั้งนี้ Krungthai COMPASS มองว่า มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพื่อรับมือกับแรงปะทะต่อผลกระทบ COVID-19 ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดในประเทศ จนทำให้อนุมานได้ว่าเศรษฐกิจ ผ่านพ้นจุดต่าสุดไปแล้วในไตรมาสที่สอง ขณะที่มาตรการคลายล็อคดาวน์อย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึงคาดว่า ธปท. จะดำเนินมาตรการทางการเงินในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป
ข้อมูลจาก Krungthai COMPASS
คลิ้กที่นี่เพื่ออ่านรายงานฉบับเต็ม
♦เงินเฟ้อมิถุนายนปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -1.57%
♦เอเชียพลัสแนะนักลงทุนเน้นลงทุนหุ้นที่ยัง Laggard และ Undervalue สำหรับกลุ่มค้าปลีก