Economic Highlight
ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ และผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) นอกจากนี้ ควรรอจับตาถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส
**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.
FX Highlight
- เงินบาทเคลื่อนไหว sideways ตามที่เราได้ประเมินไว้ หลังเงินดอลลาร์ยังคงแกว่งตัวในกรอบ ขณะที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เงินบาทยังพอได้แรงหนุนบ้าง แม้จะเผชิญแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ
- เราคงมุมมองเดิมว่า แม้ปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าจะทยอยแผ่วลง แต่เงินบาทก็ยังขาดปัจจัยหนุนการแข็งค่าที่ชัดเจน ทำให้เงินบาทยังมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways down/sideways ไปก่อนในช่วงนี้
- ทั้งนี้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจยังคงรอจังหวะการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทเข้าใกล้แนวรับแถว 35.70-35.80 บาทต่อดอลลาร์ ในการเข้าซื้อเงินดอลลาร์ สะท้อนจากการที่เงินบาทกลับไม่ได้แข็งค่าขึ้นไปมากนัก แม้ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นแรงในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา
- นอกจากนี้ ควรระวังความผันผวนของตลาดค่าเงินในช่วงทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งจะเน้นไปที่ข้อมูลการจ้างงาน ทั้ง ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings), ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) รวมถึงอัตราการเติบโตของค่าจ้างเป็นต้น
- หากรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดชัดเจน ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มกังวลว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่า 3 ครั้ง ที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด ซึ่งมุมมองดังกล่าวก็เริ่มเป็นที่ถกเถียงในตลาด ว่า เฟดอาจไม่ลดดอกเบี้ยในปีนี้ได้ ในกรณีนี้นั้น เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อาจผันผวนสูงขึ้น กดดันทั้งราคาทองคำและค่าเงินบาทได้ไม่ยาก
- และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เรามองว่า ควรจับตาถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส ซึ่งอาจมีการส่งสัญญาณต่อแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดได้
- นอกจากปัจจัยนโยบายการเงินเฟด เรามองว่า ควรจับตาทิศทางของราคาทองคำและสกุลเงินฝั่งเอเชีย ทั้งเงินหยวนจีน (CNY) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับเงินบาทพอสมควร
- สำหรับ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ เรามองว่า แรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติอาจยังมีอยู่บ้าง หลังดัชนี SET ยังมีแนวโน้มปรับฐานต่อได้ ขณะเดียวกัน การแข็งค่าขึ้นบ้างของเงินบาทก็อาจเพิ่มแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติทยอยลดสถานะการถือครองหุ้นไทยได้
- ส่วนฟันด์โฟลว์ในฝั่งบอนด์นั้น เราประเมินว่า การปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ไทยในช่วงที่ผ่านมา พร้อมกับการแข็งค่าขึ้นบ้างของเงินบาท อาจเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติทยอยขายบอนด์ไทยเพิ่มเติม
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทได้แผ่วลง เปิดโอกาสให้เงินบาทแกว่งตัว sideways หรือแข็งค่าขึ้นบ้าง
- ส่วนของ Time Frame ที่สั้นลง เช่น H4 และ H1 สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ต่างชี้ว่า เงินบาทอาจแกว่งตัว sideways โดยยังมีโซน 35.80 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับสำคัญ ซึ่งจะมีโซน 35.50-35.60 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับสำคัญถัดไป ขณะที่แนวต้านสำคัญจะอยู่ในช่วง 36.15-36.20 บาทต่อดอลลาร์
Gold Highlight
- รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มออกมาผสมผสานและไม่ได้ดีไปกว่าคาดทั้งหมด ได้ส่งผลให้ ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ มีจังหวะย่อตัวลง โดยเฉพาะในช่วงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้ราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นแรงสู่โซน 2,090 ดอลลาร์ต่อออนซ์
- การปรับตัวขึ้นแรงของราคาทองคำในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เราประเมินว่า ราคาทองคำเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง โดยเฉพาะหากราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้แนวต้านแถว 2,120 ดอลลาร์ต่อออนซ์
- นอกจากนี้ ราคาทองคำก็อาจผันผวนไปตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายเฟด ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ พร้อมกับจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอย่างใกล้ชิด
- ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD (Time Frame รายวัน) ชี้ว่า ราคาทองคำอาจปรับตัวขึ้นต่อได้บ้าง ตามโมเมนตัมขาขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ว่าสัญญาณจาก Time Frame ที่สั้นลง อย่าง H4 และ H1 จะสะท้อนว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ ทว่า RSI ใน Time Frame ดังกล่าว ก็เริ่มเข้าสู่โซน Overbought เปิดโอกาสให้ ราคาทองคำเผชิญแรงขายทำกำไรออกมาได้ ซึ่งเราประเมินแนวต้านของราคาทองคำในโซน 2,100-2,120 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และมีโซน 2,040 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เป็นแนวรับในช่วงนี้