รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

เยนอ่อนค่าจนใกล้ Low ในรอบ 24 ปี แล้วยังจะอ่อนค่าได้มากกว่านี้อีกหรือไม่

เผยแพร่ 14/06/2565 13:52
อัพเดท 02/09/2563 13:05

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) แบบปีต่อปีในเดือนพฤษภาคมของสหรัฐอเมริกาครั้งล่าสุดออกมาอยู่ที่ 8.6% ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากตัวเลขในเดือนเมษษยน 8.3% สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของเงินเฟ้ออย่างไม่หยุดหย่อน การเติบโตขึ้นของเงินเฟ้อในครั้งนี้ยิ่งสร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ไม่มีทางเลือกนอกจากต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดความร้อนแรง

สิ่งที่นักลงทุนเป็นกังวลและสร้างความปั่นป่วนในตลาดลงทุนทุกประเภทก็มาจากสาเหตุนี้ พวกเขากลัวว่ายิ่งเงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็จะยิ่งมีความตึงตัวมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้ผลการประชุมอัตราดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นในวันนี้และวันพรุ่งนี้ได้ข้อสรุปเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ต่อเนื่องจากช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ปรับขึ้น 0.50% มาแล้วครั้งหนึ่ง

ไม่ใช่แค่เพียงธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่ธนาคารกลางทั่วโลกตอนนี้กำลังอยู่ในเทรนด์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นส่วนใหญ่ ธนาคารกลางยุโรปประกาศแล้วว่าจะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปีในเดือนกรกฎาคม ในขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษก็กำลังจะทำสถิติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยห้าครั้งติดต่อกันมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ถือเป็นสถิติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันมากที่สุดในรอบ 25 ปีของ BoE ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าในการประชุมครั้งถัดไป BoE ก็จะไม่พลาดที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน

นอกจากธนาคารกลางฝั่งตะวันตกที่พร้อมใจกันขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ธนาคารกลางในโซนเอเชียอย่างเช่นธนาคารกลางแห่งเกาหลีใต้ก็ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่สองในวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีเพียงธนาคารกลางชื่อดังเพียงแห่งเดียวที่ยังยืนหยัดไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย และยังใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากๆ อยู่ นั่นก็คือธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) พวกเขายังคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 0% และยังรักษาคำมั่นที่จะขยายบัญชีงบดุลเพื่อรองรับตลาดหากจำเป็น

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกันเป็นว่าเล่นของธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ทั่วโลกส่งผลกระทบให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า และยังคงปรับตัวขึ้นต่อเป็นวันที่สี่ติดต่อกัน ดัชนีดอลลาร์สหรัฐขยับเข้าใกล้จุดสูงสุดรับตั้งแต่ปี 2002 สวนทางกับสกุลเงินเยนที่ยังคงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง 

การทำนโยบายการเงินที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงของธนาคารกลางสหรัฐฯ และญี่ปุ่นทำให้ตอนนี้สกุลเงินเยนกำลังวิ่งอยู่ที่จุดต่ำสุดในรอบ 24 ปี คำถามสำคัญก็คือว่ายังมีโอกาสที่ JPY จะอ่อนค่าลงไปได้มากกว่านี้อีกหรือไม่?USD/JPY Daily

เมื่อพิจารณาจากกราฟ USD/JPY จะเห็นว่าทั้งคู่พึ่งวิ่งขึ้นแตะ 135.00 ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2002 และตอนนี้อยู่ห่างจากจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 1998 เพียง 0.01% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม กราฟ USD/JPY ยังไม่สามารถขึ้นยืนเหนือระดับราคานั้นได้อย่างเป็นทางการ และราคาก็ได้ย่อตัวกลับลงมา สร้างแท่งเทียนรูปแบบโดจิสามแท่งติดต่อกัน

ตามตำรา แท่งเทียนรูปแบบโดจิแสดงให้เห็นถึงภาวะที่เทรนด์ใดเทรนด์หนึ่งไม่สามารถคุมตลาดได้ สะท้อนถึงความกังวล ความสับสน ความกลัวของนักลงทุนทั้งสองฝ่าย แม้จะมีคนที่ต้องการเห็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 1998 แต่ก็ยังขาดผู้นำที่จะพาให้ราคาสามารถขึ้นไปถึงจุดนั้นได้ จำนวนแท่งของโดจิก็มีส่วนกับการตัดสินใจของนักลงทุน โดยปกติแล้วถ้ามีเพียงแท่งเดียว ก็อาจเป็นการส่งสัญญาณการเปลี่ยนเทรนด์ได้

ในมุมมองของการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เราเชื่อว่าตราบใดที่ BoJ ยังไม่คิดจะเปลี่ยนนโยบายการเงิน ก็ยังมีโอกาสสูงที่กราฟ USD/JPY จะปรับตัวขึ้นต่อ เพราะธนาคารกลางสหรัฐฯ ตอนนี้แทบจะไม่มีทางเลือกในการหยุดยั้งเงินเฟ้อนอกจากต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป 

แต่ถ้าให้มองในมุมของการวิเคราะห์ทางเทคนิค เราพบสัญญาณทางเทคนิคที่บ่งชี้ว่ามีโอกาสที่กราฟ USD/JPY อาจจะย่อหรือพักตัวลงมาบ้าง สัญญาณแรกคืออินดิเคเตอร์ Volume กับราคาวิ่งไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน (ไดเวอร์เจนต์) เมื่อไหร่ที่อินดิเคเตอร์กับราคาขัดแย้งกัน มักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มอยู่เสมอ สองคืออินดิเคเตอร์อย่างเช่น RSI และ ROC ต่างก็อยู่ในโซน overbought แล้ว มีความหมายว่าการซื้อในตลาดนั้นมีมากเกินไป

ถ้าเกิดแท่งเทียนสีแดงขนาดใหญ่ลงมาเมื่อไหร่ นั่นอาจจะเป็นสัญญาณยืนยืนการปรับตัวลดลงในระยะสั้น

กลยุทธ์การเทรด

เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่าจะเกิดแท่งเทียนขาลงขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถมาสั่นคลอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนขาขึ้นที่มีก่อนหน้านี้ได้ หลังจากนั้น จะรอให้ราคาวิ่งกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านล่าสุด ก่อนที่จะวางคำสั่งขายลงมา

เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอเช่นเดียวกับกลุ่มที่ไม่ชอบความเสี่ยง แต่เมื่อขึ้นถึงแนวต้านแล้ว จะวางคำสั่งขายลงมาทันที เพื่อทำให้จุดตัดขาดทุนมีกรอบความเสี่ยงที่แคบที่สุด

เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะเสี่ยงวางคำสั่งขายทันที ซึ่งถือว่าเร็วกว่านักลงทุนในกลุ่มอื่น แต่เมื่อเทียบอัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทนแล้ว กลุ่มนี้ถือว่าได้มากที่สุด

ตัวอย่างการเทรด

- จุดเข้า: 135.00

- Stop-Loss: 135.25

- ความเสี่ยง: 25 จุด

- เป้าหมายในการทำกำไร:134.00

- ผลตอบแทน: 100 จุด

- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:4

ความคิดเห็นล่าสุด

👌
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย