สำหรับนักลงทุนที่กำลังรอดูการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคมอย่างใจจดใจจ่อ ช่วงเวลาอีก 10 วันที่เหลือช่างเป็นช่วงเวลาที่บีบหัวใจอย่างมาก จากอัตราเงินเฟ้อต่อปีที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 7% ทำให้เจมส์ บลูราร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ออกมาบอกว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จำเป็นต้องรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้เร็วที่สุด อย่างน้อยต้องได้เห็นตัวเลข 1% ภายในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ หลังจากสิ้นคำพูดของเขา ตลาดหุ้นอเมริกาก็ร่วงลงทันที นำโดยดัชนีเอสแอนด์พี 500 ที่ปรับตัวลดลง 4% ภายในสามวันหลังจากนั้น
สามสัปดาห์หลังจากนั้น แม้ว่านักลงทุนจะได้เห็นคำเตือนเกี่ยวกับเงินเฟ้อ จากดัชนีราคาผู้บริโภคที่ 0.6% แต่กลับมีเรื่องที่ใหญ่กว่าเข้ามาแย่งความสนใจของนักลงทุน นั่นคือการอุบัติขึ้นของสงครามรัสเซียยูเครน เกิดเป็นคำถามให้กับตลาดลงทุนว่าเศรษฐกิจโลกกำลังจะวิ่งไปในทิศทางไหน? เพราะภาพที่เห็นในตอนนี้มีแต่ความผันผวนที่รอนักลงทุนอยู่ข้างหน้า
สุดท้ายแล้ว ภาพความกังวลนั้นก็ได้สะท้อนออกมาผ่านราคาหุ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีเอสแอนด์พี 500 จบเดือนกุมภาพันธ์ด้วยการปรับตัวลดลงทั้งหมด 3.1% เช่นเดียวกับดาวโจนส์และแนสแด็กที่ปรับตัวลดลง 3.5% และ 3.4% ตามลำดับ กลายเป็นเดือนที่สองติดต่อกันที่ดัชนีหลักทั้งสามของอเมริกาต้องปิดในระดับติดลบ ไม่ใช่แค่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ แต่ตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างเช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อินเดียและฮ่องกงก็ประสบชะตากรรมเดียวกัน
และในตอนนี้ ในเดือนมีนาคมที่พึ่งจะเริ่มต้นขึ้น แน่นอนว่าความสนใจของคนทั่วโลกต่างมุ่งไปที่สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ถึงแมเว่าเมื่อวันจันทร์จะมีการนัดเจรจากันแล้วที่ชายแดนของเบรารุส แต่สุดท้ายกลับหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ และดูเหมือนว่าสงครามจะยังคงอยู่ต่อไป ในขณะที่กำลังเขียนบทความนี้อยู่ ดูเหมือนว่าระดับความรุนแรงกำลังมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
การรุกรานยูเครนของรัสเซียคงจะเป็นคำตอบให้กับคนสมัยนี้ได้เห็นแล้วว่า ไม่มีใครต้องการสงครามแบบในสมัยยุคสงครามโลกอีกต่อไป ระเบียบของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว และการกระทำของรัสเซียทำให้พวกเขาโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก รวมทั้งโดนการคว่ำบาตรที่รุนแรงอย่างที่ไม่คิดว่าจะได้เห็นอีกในทศวรรษนี้ โลกกำลังลงโทษรัสเซียอย่างหนัก
การคว่ำบาตรทางการเงินด้วยการกีดกันรัสเซียออกจากระบบธุรกรรมที่ใหญ่ที่สุดอย่าง SWIFT ทำให้ดอลลาร์สหรัฐเมื่อวันจันทร์แข็งค่าขึ้นมากถึง 32% เมื่อเทียบกับสกุลเงินรูเบิลที่อ่อนค่าลง ท่ามกลางความพยายามของปูตินที่จะเดินไปข้างหน้า โดยไม่หันมามองข้างหลังว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำให้ตลาดหุ้นรัสเซียร่วงลงหนักถึง 34% และในวันจันทร์ก็ไม่สามารถเปิดให้ทำการลงทุนได้ การลงทุนในตลาดหุ้นและอนุพันธ์ที่รัสเซียยังคงปิดมาจนเมื่อวานนี้
ในแง่ของการค้าก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน บริษัทที่ทำการค้ากับบริษัทรัสเซียได้รับผลกระทบจากการแบนครั้งนี้ ไม่มีใครทำมาค้าขายกับรัสเซีย แม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ของรัสเซียอย่าง Yandex (NASDAQ:YNDX) และ Ozon Holdings (NASDAQ:OZON) ก็ยังต้องปวดหัว แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้ที่ทำการคว่ำบาตรจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะความจริงที่ว่ารัสเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงานโลก 10% ได้ทำให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นแตะ $100 ต่อบาร์เรลได้เป็นพักๆ นับเป็นครั้งแรกที่ราคาน้ำมันทำได้ตั้งแต่ปี 2014
นับตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มรุกรานยูเครน ประเทศตะวันตกได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงปฏิเสธที่จะให้เครื่องบินรัสเซียข้ามน่านฟ้า ไม่รวมธุรกรรมที่ใช้ดอลลาร์สหรัฐโดยธนาคารกลางรัสเซีย และการแช่แข็งทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของรัสเซีย เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่อายัดทรัพย์สินเงินดอลลาร์ที่ถือโดยประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน และพันธมิตรผู้มีอำนาจหลักหลายคนของเขา
บริษัทผู้ผลิตพลังงานยักษ์ใหญ่อย่าง BP (NYSE:BP) และ Shell (NYSE:SHEL) ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่าจะถอนทุนที่ลงทุนกับบริษัทน้ำมันรัสเซียออก ทำให้หุ้นของ BP ร่วงลง 8% จากข่าวนี้ การคว่ำบาตรรัสเซียกำลังเกิดขึ้นไปทั่วทุกวงการ แม้แต่วงการยานยนต์เองบริษัท General Motors (NYSE:GM) ก็ได้ออกมาประกาศหยุเส่งรถยนต์รุ่นใหม่ไปยังรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีหุ้นบางตัวที่สามารถปรับตัวขึ้นได้จากอานิสงส์ไฟสงครามนี้ ยกตัวอย่างเช่นหุ้นของบริษัท InBev (NYSE:BUD)
ก่อนหน้านี้่ในเดือนกุมภาพันธ์หุ้นของบริษัทผู้ผลิตเียร์และเครื่องดื่มชื่อดังรายนี้เคยปรับตัวลดลง 2% ในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่จะวิ่งกลับขึ้นมาได้ 3.8% ในช่วงสองสัปดาห์ล่าสุด หุ้น BUD คิดเป้นสัดส่วน 14% ของตลาดเบียร์เยอรมันทั้งหมด นอกจากนี้ BUD ก็มีหุ้นตัวอื่นๆ ในยุโรปที่ปรับตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอย่างเช่น Lockheed Martin (NYSE:LMT) ที่ราคาหุ้นกระโดดขึ้นมา 11.4% และ Northrop Grumman (NYSE:NOC) ที่สามารถวิ่งขึ้นมาได้ 19.5%
สงครามระหว่างรัสเซียยูเครนได้ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคาซื้อขายข้าวสาลีล่วงหน้าที่ชิคาโกมีราคาเมื่อวันจันทร์อยู่ที่ $8.34 ต่อบุชเชล เพิ่มขึ้น 8.6% นับเป็นขาขึ้นมากที่สุดในรอบทศวรรษของสินค้าโภคภัณฑ์ตัวนี้
ตลอดทั้งเดือนกุมภาพันธ์ ราคาข้าวสาลีปรับตัวเพิ่มขึ้น 22.7% จากการที่รัสเซียรุกรานยูเครน ซึ่งมีข้าวสาลีเป้นหนึ่งในสินค้าส่งออกหลัก การโจมตีของรัสเซียทำให้การขนส่งสินค้าทางเรือในทะเลดำต้องถูกปิด ยิ่งสงครามครั้งนี้ลากยาวมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของยูเครนมากเท่านั้น เมื่อปัญหาในยูเครน มารวมกับเงินเฟ้อทั่วโลก ก็ได้คำตอบออกมาเป้นราคาข้าวสาลีที่แพงขึ้นอย่างที่เราเห็น
กลับมาที่ฝั่งสหรัฐอเมริกา ในสัปดาห์นี้ก็มีความเคลื่อนไหวที่สมควรแก่การจับตามองเป็นอย่างยิ่งอยู่เช่นกัน อย่าลืมว่าตอนนี้เราได้เข้าสู่เดือนมีนาคมอย่างเป็นทางการแล้ว และสัปดาห์แรกของเดือนมักจะมีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐอเมริกาอยู่เป็นประจำ แต่ประเด็นแรกที่นักลงทุนจะให้ความสนใจคือถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีต่อคณะกรรมการสภาบริการทางการเงินของสหรัฐอเมริกาในวันพุธ และถ้อยแถลงต่อคณะกรรมการสภาบริการทางการเงินของสหรัฐอเมริกาในวันพฤหัสบดี
หลังจากที่การประกาศตัวเลขการจ้างงานจบลงฯ แม้ว่าในสัปดาห์ถัดจากนั้นจะมีรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค แต่สื่อจะเริ่มประโคมข่าวเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการประชุมเฟดในวันที่ 15-16 มีนาคม ซึ่งจะทำให้ตลาดลงทุนยิ่งมีความผันผวนมากยิ่งขึ้น สำหรับตอนนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ายังไงธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี
ใครคือผู้ชนะและผู้แพ้ประจำเดือนกุมภาพันธ์
ต้องยอมรับว่าเดือนกุมภาพันธ์ไม่ใช่เดือนที่แย่สำหรับหุ้นทุกตัว แต่ก็เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าปี 2022 ตลาดหุ้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างเสรีเหมือนดังเช่นปีก่อนอีกแล้ว จาก 30 หุ้นอุตสาหกรรมชั้นนำที่สังกัดอยู่บนดาวโจนส์ มีเพียง 9 บริษัทเท่านั้นที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น นำโดยบริษัทผู้ผลิตน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง Chevron (NYSE:CVX)
เมื่อมาดูที่ดัชนีเอสแอนด์พี 500 จะเห็นว่ามีหุ้นเพียง 11 ตัวเท่านั้นที่สามารถปิดบวกได้อย่างมีนัยสำคัญ นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงานอย่างเช่น Occidental Petroleum (NYSE:OXY) Devon Energy (NYSE:DVN) และ Marathon Oil (NYSE:MRO) ส่วนดัชนีแนสแด็ก 100 มีหุ้นเพียง 27 จาก 101 ตัวเท่านั้นที่สามารถปิดบวกได้
หุ้นในกลุ่มที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดในเดือนที่แล้วคือกลุ่มผู้ให้บริการด้านการสื่อสารอย่างเช่น (NYSE:DIS), Live Nation Entertainment (NYSE:LYV), Netflix (NASDAQ:NFLX) และ Meta Platforms (NASDAQ:FB) หุ้นของบริษัทเมต้าแพลตฟอร์มร่วงลงเกือบ 33% ภายในเดือนเดียว
หุ้นห้าอันดับแรกที่ปรับตัวขึ้นได้มากที่สุดประจำเดือนกุมภาพันธ์ของดัชนี S&P 500
SolarEdge Technologies (NASDAQ:SEDG) ปรับตัวขึ้น 34.1%
Fertilizer maker Mosaic (NYSE:MOS) ปรับตัวขึ้น 31.2%
Steelmaker Nucor (NYSE:NUE) ปรับตัวขึ้น 29.8%
Freeport-McMoRan (NYSE:FCX) ปรับตัวขึ้น 26.1%
L3Harris Technologies (NYSE:LHX) ปรับตัวขึ้น 20.6%
หุ้นห้าอันดับแรกที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดประจำเดือนกุมภาพันธ์ของดัชนี S&P 500
EPAM Systems (NYSE:EPAM) ปรับตัวลดลง 56.4%
PayPal (NASDAQ:PYPL) ปรับตัวลดลง 34.9%
Meta Platforms (FB) ปรับตัวลดลง 33%
Utility company Exelon (NASDAQ:EXC) ปรับตัวลดลง 26.6%
Viatris (NASDAQ:VTRS) ปรับตัวลดลง 26.5%
หุ้นห้าอันดับแรกที่ปรับตัวขึ้นได้มากที่สุดประจำเดือนกุมภาพันธ์ของดัชนีดาวโจนส์
Chevron ปรับตัวขึ้น 9.7%
American Express (NYSE:AXP) ปรับตัวขึ้น 8.2%
Walt Disney (DIS) ปรับตัวขึ้น 3.8%
Travelers (NYSE:TRV) ปรับตัวขึ้น 3.4%
Boeing (NYSE:BA) ปรับตัวขึ้น 2.6%
หุ้นห้าอันดับแรกที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดประจำเดือนกุมภาพันธ์ของดัชนีดาวโจนส์
Home Depot (NYSE:HD) ปรับตัวลดลง 13.9%
3M (NYSE:MMM) ปรับตัวลดลง 10.5%
Salesforce.com (NYSE:CRM) ปรับตัวลดลง 9.6%
IBM (NYSE:IBM) ปรับตัวลดลง 8.3%
Nike (NYSE:NKE) ปรับตัวลดลง 7.8%