มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่สัปดาห์นี้ตลาดลงทุนอาจได้เห็นราคาน้ำมันดิบที่ $70 ต่อบาร์เรล หลังจากที่พายุเฮอริเคนไอดา (Ida) ได้ทำให้โรงขุดน้ำมันเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ต้องหยุดทำการชั่วคราว และคาดว่าต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์กว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ ราคาน้ำมันดิบ WTI ทำจุดสูงสุดในรอบสามสัปดาห์ที่ $69.61 ต่อบาร์เรลในช่วงบ่ายของวันจันทร์ ก่อนตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ เปิด ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ก็สามารถสร้างจุดสูงสุดในรอบสี่สัปดาห์ที่ $72.67 ต่อบาร์เรล
ในขณะเดียวกัน สินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้ชื่อว่าเป็นสินทรัพย์สำรองอันดับหนึ่งของโลก “ทองคำ” กำลังอยู่บนเส้นทางขาขึ้นจากผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ นักวิเคราะห์เชื่อว่าเราอาจจะได้เห็นทองคำขึ้นทดสอบแนวต้าน $1,830 และอาจจะไปได้ไกลถึง $1,850 ก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานฯ ของสหรัฐฯ ประจำเดือนสิงหาคม
พายุไอดากับการถล่มโรงกลั่นน้ำมัน
ท่าเรือน้ำมันนอกชายฝั่งหลุยส์เซียนาหรือที่มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า “LOOP” เป็นน้ำลึกพอร์ตในอ่าวเม็กซิโก 29 กิโลเมตร (18 ไมล์ทะเล) นอกชายฝั่งของรัฐหลุยเซียนาใกล้เมืองของพอร์ต Fourchon LOOP ให้บริการขนถ่ายเรือบรรทุกน้ำมันและบริการจัดเก็บชั่วคราวสำหรับน้ำมันดิบที่ขนส่งด้วยเรือบรรทุกน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากการเข้าถล่มของพายุระดับสี่ หรือที่เรียกกันคุ้นปากว่า “เฮอริเคน” ทำให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าอาจต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ (4-6 สัปดาห์) กว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
อันที่จริงการขุดน้ำมันจาก LOOP มากกว่า 95% ถูกสั่งให้หยุดดำเนินการตั้งแต่ก่อนที่พายุไอดาจะเข้า ปริมาณน้ำมันที่หายไปคิดเป็น 1.74 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซัพพลายน้ำมันที่ LOOP สามารถทำได้ต่อวันคิดเป็น 17% ของจำนวนน้ำมันที่ใช้ภายในสหรัฐอเมริกา โรงกลั่นมากกว่า 45% ของอเมริการับน้ำมันจากที่นี่ LOOP ก่อตั้งขึ้นในปี 1972 และได้กลายเป็นกลุ่มหุ้นส่วนจำกัดในปี 1996 กลุ่มภาคีนี้ประกอบไปด้วย Marathon Pipe Line (NYSE:MRO), Shell (NYSE:RDSa) และ Valero Energy (NYSE:VLO).
นอกจาก LOOP แล้วท่าเรือสำหรับขุดน้ำมันทางตอนใต้ในหลุยส์เซียนาอื่นๆ ล้วนถูกสั่งให้หยุดดำเนินการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตในนิวออร์ลีนส์ Houma พอร์ต Biloxi ในมิสซิสซิปปี Gulfport and Pascagoula และ Gulf Intercoastal Waterway
ทองคำได้โอกาสทะยานขึ้นสู่ $1,830 จากผลการประชุมที่แจ็คสัน โฮล
การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิงเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วได้ข้อสรุปว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ภายในปี 2021 แน่นอน ซึ่งการปรับลดดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ผลการประชุมเช่นนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับตลาดหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ ในขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลง ราคาซื้อขายทองคำล่วงหน้าบนตลาด COMEX สร้างจุดสูงสุดในรอบสี่สัปดาห์ที่ $1,826 ในช่วงบ่ายของวันจันทร์
Phillip Streible นักวิเคราะห์การลงทุนในตลาดแร่โลหะมีค่าแห่ง Chicago’s Blueline Futures ได้ให้ความเห็นกับราคาทองคำในตอนนี้ว่า
“ราคาทองคำจะสามารถทะยานขึ้นผ่านแนวต้าน $1,835-$1,840 ได้หากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันศุกร์ออกมาลดลง ในมุมมองของบุคคลธรรมดาทั่วไป ผมอยากให้โลกเราฟื้นตัวหรือหายจากโควิดได้อย่างรวดเร็ว แต่ในฐานนะนักลงทุนทองคำและแร่โลหะเงิน ผมอยากให้การฟื้นตัวในตลาดแรงงานใช้เวลามากกว่านี้”
แต่ก็มีนักวิเคราะห์บางคนที่มองเห็นว่าราคาทองคำมีโอกาสที่จะขึ้นมาได้เท่านี้ และปรับตัวลดลงไปก่อนที่การประกาศตัวเลขการจ้างงานฯ จะมาถึง
“จาก ณ ตำแหน่งที่ราคาปัจจุบันอยู่ เราเชื่อว่าราคาทองคำจะไปไม่ได้ไกลเกินกว่า $1,825 ซึ่งนักลงทุนฝั่งขาลง จะใช้ราคาตรงนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการทำจุดสูงสุดของขาขึ้น แต่สถานะของขาลงรอบนี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อราคาสามารถปรับตัวลดลงต่ำกว่า $1,811 - $1,800 และมีแนวรับสำคัญรออยู่ที่ $1,795 ในทางกลับกัน หากว่าเกิดราคาสามารถทะลุขึ้นยืนเหนือ $1,825 ได้อย่างฉับพลัน มีโอกาสที่ราคาจะขึ้นต่อไปยัง $1,838 - $1,868 ได้เลย” Sunil Kumar Dixit นักวิเคราะห์จาก SK Dixit Charting ประเทศอินเดียกล่าว
สำหรับการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนสิงหาคมที่จะเกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 3 กันยายนนี้ นักวิเคราะห์ประเมินว่าตัวเลขการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเพียง 728,000 ตำแหน่ง ซึ่งถือว่าน้อยกว่าการรายงานของตัวเลขครั้งก่อนที่ 943,000 ตำแหน่ง แต่หากว่าตัวเลขที่ออกมานั้นมากกว่า 943,000 ตำแหน่ง มีโอกาสที่ตัวเลขการว่างงานจะลดลงต่ำกว่า 5.4% และเข้าใกล้ตัวเลข 4% ที่ธนาคารกลาวสหรัฐฯ อ้างว่านี่คือ “ตัวเลขการจ้างงานที่พวกเขาหวัง” หากเป็นไปตามนี้ ตลาดลงทุนจะยิ่งเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดตัวเลข QE ตั้งแต่การประชุม FOMC ในเดือนกันยายนนี้เลย
นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด ตอนนี้มนุษยชาติก็ได้อยู่ร่วมกับไวรัสตัวนี้มาเป็นเวลานานถึง 1 ปี กับ 8 เดือนแล้ว ชาวอเมริกันมากกว่า 21 ล้านคนต้องตกงานทันทีในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ปี 2020 ซึ่งการดึงคนงานเหล่านี้ให้สามารถกลับมามีงานทำในระบบได้อีกครั้ง ถือเป็นพันธกิจที่เฟดยึดมั่นมาโดยตลอด แม้แต่คำว่า “การจ้างงานเกือบจะเป็นปกติ” ก็ยังไม่ใช่คำที่เฟดต้องการ
“ช่วงระยะเวลาที่จะเกิดการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรฯ จะไม่ใช่ช่วงเวลากันกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความเป็นไปได้ที่อาจมีการดำเนินนโยบายการเงินผิดพลาด วันนี้เรายังเห็นตลาดแรงงานได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด แม้จะยังเป็นจำนวนไม่มาก แต่ก็สร้างผลกระทบเชิงลบให้เกิดกับบางภาคส่วนได้” เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าว