ลด 50%! ชนะตลาดในปี 2025 ด้วย InvestingProรับส่วนลด

ราคาน้ำมันอาจปรับฐานแม้การประชุม OPEC+ ยังไม่ได้ข้อสรุป

เผยแพร่ 06/07/2564 16:51
LCO
-
CL
-
GPR
-

เชื่อได้ว่าตอนนี้เหล่านักลงทุนขาขึ้นในตลาดน้ำมันคงจะยิ่มไปตามๆ กัน หลังจากที่การประชุมของกลุ่ม OPEC+ ที่จะเป็นตัวกำหนดการผลิตน้ำมันในเดือนสิงหาคมยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ในความเป็นจริงแล้วสถานการณ์ในตอนนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาที่กำลังจะตามมา...Oil Daily

ก่อนหน้าที่จะมีการประชุมของกลุ่ม OPEC+ ในวันที่ 1 กรกฎาคม นักวิเคราะห์หลายสำนักเคยคาดการณ์ว่าการประชุมครั้งนี้จะลงเอยด้วยการปรับขึ้นกำลังการผลิตน้ำมันในเดือนสิงหาคมอีก 400,000 บาร์เรลต่อวัน โดยให้เหตุผลว่าถึงแม้ประเทศที่พัฒนาแล้วจะสามารถหลุดพ้นเงื้อมมือของไวรัสโควิด-19 ไปได้ แต่สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนานั้นกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก ซึ่งส่งผลให้การฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมันยังไม่ดีพอในสายตาของกลุ่มโอเปก

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเจ็ดวันแรกของเดือนกรกฎาคมคือการไม่ลงรอยกันระหว่างพี่ใหญ่ของกลุ่มโอเปกอย่างซาอุดิอาระเบียและพันธมิตรของซาอุดิอาระเบียคนสำคัญอย่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยคัดค้านอะไรจากซาอุดิอาระเบีย แต่ในช่วงระยะหลังๆ มาดูเหมือนว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ค่อนข้างไม่เห็นด้วยกับการจัดโควตาการผลิตน้ำมันของซาอุฯ 

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อวานนี้ราคาซื้อขายน้ำมันดิบเบรนท์บนตลาดลอนดอนสามารถขึ้นไปยืนเหนือ $77 ต่อบาร์เรล ซึ่งเบรนท์ไม่เคยทำราคาได้สูงขนาดนี้นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2018 

ถึงแม้ว่าตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ จะยังปิดทำการซื้อขายอยู่เนื่องจากเป็นวันประกาศอิสรภาพของอเมริกา แต่ในฝั่งเอเชียนั้นเมื่อเช้านี้ราคาซื้อขายของ WTI ก็สามารถปรับตัวขึ้นไปยืนเหนือ $75 ต่อบาร์เรลได้แล้ว สร้างจุดสูงสุดล่าสุดเอาไว้ที่ $76.90 ต่อบาร์เรล หากนับตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบันจะพบว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้นมาเกือบ 50% ในขณะที่ WTI ทำได้ 58% 

นักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซคส์ถึงกับออกมาบอกว่าเราอาจจะได้เห็นราคาน้ำมันที่ $80 ต่อบาร์เรลภายในเวลาอีกไม่กี่วัน ส่วนแบงก์ ออฟ อเมริกาคาดการณ์ไปไกลถึง $100 ต่อบาร์เรลแล้ว แต่ทั้งหมดนั้นตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่ากลุ่ม OPEC+ ยินดีที่จะยอมลดกำลังการผลิตตามที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียตั้งเอาไว้

ระหว่างซาอุดิอาระเบียและ UAE จะเป็นอย่างไรต่อไป?

จากที่เราได้เห็นในข่าว รอยร้าวระหว่างพันธมิตรได้เกิดขึ้นแล้ว และแก้วที่เคยแตกก็ไม่เคยกลับมาประสานได้สวยงามดังเดิม สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นภายในของกลุ่ม OPEC ว่าเป็นสัญญาณความล้มเหลวของการเป็นพันธมิตร

“ถ้าหากเป็นชาติอื่นๆ ทะเลาะกัน เราคงจะไม่ต้องสนใจประเด็นของ OPEC ก็ได้ แต่เพราะครั้งนี้คือความไม่ลงรอยกันระหว่างสองประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดในกลุ่ม เรื่องนี้จะส่งผลถึงภาพลักษณ์ของกลุ่ม OPEC ในสายตาชาวโลกและความรับผิดชอบที่ OPEC อ้างว่ามีต่อตลาดน้ำมัน พฤติกรรมเช่นนี้ยิ่งมีแต่ส่งเสริมให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจากเดิมก็ขึ้นเพราะเงินเฟ้ออยู่แล้ว”

นักลงทุนน้ำมันอาจจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยอย่างเช่นแนวทางการผลิตน้ำมันในอนาคตของประเทศรัสเซีย นอกจากซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ รัสเซียก็ถือเป็นหนึ่งในมหาอำนาจใหญ่ในกลุ่มและมักจะชอบทำตัวให้อยู่เหนือกฎเสมอเช่นการแอบผลิตน้ำมันเกินโควตา การกระทำของรัสเซียมักจะทำให้ประเทศเล็กๆ ที่เป็นสมาชิกอื่นแอบทำตาม สร้างความปวดหัวให้กับซาอุดิฯ อยู่เสมอ

ประเทศล่าสุดที่พึ่งโดนลงโทษจากซาอุดิอาระเบียไปคือไนจีเรียและอีรัก พฤติกรรมแข็งข้อของ UAE อาจทำให้ทั้งสองประเทศแข็งกร้าวขึ้นได้ ตามแผนเดิมของซาอุดิอาระเบีย พวกเขาวางแผนให้กลุ่ม OPEC+ เพิ่มกำลังการผลิตไปเรื่อยๆ ประมาณวันละ 2 ล้านบาร์เรลต่อวันตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงธันวาคม จากนั้นก็จะให้ลดกำลังการผลิตลงไปจนถึงปี 2023 

อย่างไรก็ตาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่พอใจที่ซาอุดิอาระเบียเอาระดับการผลิตน้ำมันของพวกเขาไปคำนวณรวมใน Baseline Capacity (ข้อกำหนดที่ว่าทุกๆประเทศสมาชิกลดกำลังผลิตเป็น % เท่าๆกัน) พวกเขามองว่าการกระทำนี้จะทำให้กำไรที่ควรจะได้ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่การระบาดโควิด-19 ยังคงอยู่ ที่สำคัญ UAE ได้ลงทุนไปหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐกับการสร้างคลังเก็บน้ำมันเพิ่มเพื่อรองรับการผลิตมากขึ้นในอนาคต

ข้อมูลล่าสุดในเดือนเมษายน 2020 ระบุว่า UAE เคยผลิตน้ำมันได้มากที่สุด 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงที่ซาอุดิอาระเบียมีความขัดแย้งกับรัสเซีย ตอนนั้น UAE ก็สามารถผลิตได้มากกว่า 3.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่เทียบเท่ากับการผลิตน้ำมันในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมปี 2018 

แม้ว่า UAE จะแข็งข้ออย่างไร ลำพังประเทศนี้ประเทศเดียวก็ยังไม่สามารถผลิตน้ำมันออกมาได้มากจนล้นตลาด แต่ความน่าเป็นห่วงอยู่ตรงที่ถ้า UAE กลายเป็นแกนนำพาชาติสมาชิกทั้งหมดต่อต้านซาอุดิอาระเบีย ความเป็นพันธมิตรในชื่อของ OPEC อาจถึงจุดสิ้นสุดและราคาน้ำมันก็จะผันผวนอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในหลายทศวรรษ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบอื่นๆ อย่างเช่น อิหร่านและการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ

อีกหนึ่งพันธมิตรที่เชื่อว่าหากกลับมาต้องทำให้ซาอุดิอาระเบียมีสะอึกบ้างคือกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศอิหร่าน ถึงแม้ว่าตอนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ถ้าสหรัฐฯ ตกลงยกเลิกกว่าคว่ำบาตรให้กับอิหร่านเมื่อไหร่ ตอนนั้นเราจะได้เห็นกำลังการผลิต 500,000 บาร์เรลต่อวันกลับมา และในระยะยาว อิหร่านสามารถผลิตน้ำมันได้มากถึง $2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

อนึ่ง อิหร่านถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม OPEC แต่เพราะการถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ทำให้อิหร่านต้องลดบทบาทในฐานะผู้ผลิตลงไป และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ซาอุดิอาระเบียต้องออกไปหาพันธบมิตรผู้ผลิตน้ำมันเพิ่ม การกลับมาพร้อมกำลังการผลิตที่ในระยะยาวสามารถทำได้มากถึง $2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไม่ต่างอะไรกับการได้ UAE มาอีกหนึ่งประเทศ การจัดสรรโควตาการผลิตน้ำมันจะเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น

อีกหนึ่งประเทศที่เคยผลิตน้ำมันออกมามากจนสามารถแข็งขันกับซาอุดิอาระเบียได้ในปีที่แล้ว 13.1 ล้านบาร์เรลต่อวันอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังคงเป็นที่พูดถึงในหมู่นักลงทุน แม้ว่าโจ ไบเดนผู้สนับสนุนในพลังงานสะอาดจะลดกำลังการผลิตภายในประเทศลงมาเหลือ 11 ล้านบาร์เรลต่อวันแล้ว แต่ศักยภาพของอเมริกาก็พร้อมที่จะกลับมาเดินหน้าผลิตน้ำมันเต็บสูบได้ทุกเมื่อ

ความน่าสนใจก็คือว่าแม้โจ ไบเดนจะออกมาพูดเรื่องการรักโลกหรือพลังงานสะอาดอยู่ทุกวัน และมีบริษัทพลังงานที่พยายามจะแข็งข้อก็เป็นข่าวว่าถูกลงโทษ แต่จากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้กลับมีรายงานว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ กลับมีจำนวนเปิดใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นอกจากการประกาศอิสรภาพจากการใส่หน้ากากอนามัยแล้ว โจ ไบเดนยังได้พูดถึงท่าทีที่สหรัฐฯ มีต่ออุตสาหกรรมน้ำมันต่อไปในอนาคตว่า

“เราคงไม่อาจหักดิบลดกำลังการผลิตน้ำมันลงภายในวันเดียวได้ แต่เพื่อเป็นการรักษาโลกที่เราอาศัยอยู่ ถือเป็นความรับผิดชอบที่ไม่อาจหลักเลี่ยงได้ว่าเราต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยโลกของเรา การใช้น้ำมันในส่วนไหนที่สามารถลดได้ ผมก็จะลด แต่ในส่วนไหนที่ยังจำเป็นต้องเพิ่ม ก็ต้องทำไปอย่างประนีประนอม”

อันที่จริงแล้วราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงเช่นนี้สร้างความเดือดร้อนให้กับอเมริกาอย่างมีนัยสำคัญ เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทำให้ราคาสินทรัพย์แพงขึ้น แม้กระทั่งราคาน้ำมันยังปรับตัวขึ้นยืนเหนือ $3 ต่อแกลลอน ทำจุดสูงสุดในรอบเจ็ดปี 

สรุปแล้วตอนนี้ราคาน้ำมันมีโอกาสที่จะขึ้นมากกว่าลง แต่ถ้าเกิดการปรับฐานขึ้นมา ก็ไม่ต้องแปลกใจที่การปรับฐานครั้งนี้จะเร็วและรุนแรง เพราะขาขึ้นในตอนนี้ขึ้นมาโดยที่ไม่เคยได้พักเลย

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย