นับตั้งแต่การเข้ามาของโรคระบาดโควิด-19 สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐก็เป็นฝ่ายถูกกดดันให้อ่อนค่าลงมาตลอดทั้งปีซึ่งแรงกดดันนั้นยังส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน...จนถึงวันที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐใกล้จะแตะ 90.00 เต็มทีแล้ว ทั้งๆ ที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เยอรมันถึงกับต้องยอมล็อกดาวน์ในช่วงคริสต์มาสปีใหม่นี้ และนิวยอร์กก็ก็ยังต้องลุ้นอยู่ว่าจะต้องล็อกดาวน์หรือไม่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นดั่งความหวังของชาวอเมริกันทั่วประเทศก็ยังไม่สามารถออกสู่สาธารณชนได้สักที
ไม่ว่าจะเป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายต่างก็ส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์ทั้งสิ้น ยิ่งโอกาสที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะออกมามีสูงขึ้นเท่าไหร่ดอลลาร์สหรัฐก็ยิ่งมีโอกาสอ่อนมูลค่าลงมากเท่านั้น เพราะตัวมาตรการนี้เองคือการเพิ่มเงินเข้าไปในระบบเพื่อหวังว่าจะกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุน เมื่อสิ่งๆ หนึ่งมีในตลาดมากเกินกว่าความต้องการ สิ่งๆ นั้นก็ย่อมด้วยค่าลงตามธรรมชาติ ในมุมมองของรัฐบาลผู้บริหารประเทศ นี่คือสิ่งที่ต้องยอมแลกเพื่อให้ได้มาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจต่อไป
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า และทำให้นักลงทุนทิ้งสกุลเงินดอลลาร์ก็คือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางสหรัฐ และก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์อาวุโส สตีเฟ่น โรช ซึ่งอดีตเคยเป็นหัวหน้าใหญ่ของธนาคารมอร์แกน สแตนลีย์สาขาเอเชียเคยวิเคราะห์เอาไว้ว่า “การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินจำนวนมหาศาลขนาดนี้จะส่งผลให้อเมริกาต้องเจอกับบัญชีเดินสะพัดขาดดุล” หากเป็นไปตามที่เขาวิเคราะห์จริง กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐอาจลงได้อีก 29% เท่ากับว่าสามารถลงไปได้ไกลสุดถึงระดับราคา 63
ที่ระดับราคา 63 นั้นคือจุดต่ำที่สุดของดัชนีดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่ปี 1973 ตอนนั้นดัชนีดอลลาร์สหรัฐถูกตั้งค่าเอาไว้ที่ 100.00 และมีจุดต่ำสุดที่เคยบันทึกเอาไว้ที่ 70.698 ในเดือนมีนาคมปี 2008 นอกจากปัจจัยพื้นฐานจะบ่งบอกไปในทิศทางขาลงแล้ว การวิเคราะห์ทางเทคนิคเองก็ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน ในกราฟรายเดือนข้างล่างนี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการลงสู่ 90.00 เป็นเพียงการเริ่มต้นของตลาดหมีในระยะยาวเท่านั้น
จากรูปจะเห็นว่าตอนนี้กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังมุ่งหน้าลงหมายจะทดสอบเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดปี 2008 แต่หากต้องการมองหาจุดเข้าสำหรับขาลงระยะสั้นแล้ว ต้องพิจารณากราฟที่เล็กกว่านี้อย่างเช่นกราฟรายวัน
ในกราฟรายวันจะเห็นว่ามีสัญญาณของขาลงระลอกใหม่เกิดขึ้นแล้วหลังจากที่ก่อนหน้านี้กราฟวิ่งอยู่ในกรอบรูปธงเพื่อรอให้นักลงทุนหาเงินก้อนใหม่เข้ามาเติมพอร์ตหรือบางคนก็หันไปถือดอลลาร์โดยหลังว่าจะขึ้น ที่จริงแล้ว หากพิจารณาเฉพาะกรอบราคาขาลงเพียงอย่างเดียวก็จะเห็นว่านี่ยังไม่ใช่จุดที่ควรเสี่ยงเลยเนื่องจากก่อนหน้านี้ก็มีสัญญาณขาลงมาจากรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) และเส้นค่าเฉลี่ย 100 วันมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน
การเกิดแท่งเทียนสีแดงขาลงแท่งใหม่นอกกรอบรูปธงหมายความว่ามีผู้ที่กล้าเสี่ยงต้องการขายเงินดอลลาร์ต่อ พวกเขายินดีรับความเสี่ยงโดยหวังว่าจะปล่อยให้ลงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอจุดที่ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดทนไม่ไหวและขากลับเข้ามาถือดอลลาร์ในราคาถูก นอกจากนี้ขาลงดังกล่าวยังแสดงออกถึงความอัดอั้นในช่วงที่กราฟพักตัวเพื่อรอแรงขายก่อนหน้านี้อีกด้วย
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอวางคำสั่งขายหลังจากที่กราฟมีราคาปิดต่ำกว่าจุดต่ำสุด 90.00
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะเสี่ยงวางคำสั่งขายหลังจากที่ราคามีราคาปิดต่ำกว่า 90.62
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะเสี่ยงวางคำสั่งขายตอนนี้ทันที
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 90.75
- Stop-Loss: 91.00
- ความเสี่ยง: 25 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:90.00
- ผลตอบแทน: 75 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3