มุมมองจาก Trinity หลัง ธปท. ขอให้แบงก์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลและงดซื้อหุ้นคืน

เผยแพร่ 22/06/2563 10:41
KBANK
-

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า เนื่องด้วยสถานการณ์ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบวงกว้างและมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไป จึงให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนสำหรับระยะ 1-3 ปีข้างหน้า และขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากงวด 2563 รวมถึงงดการซื้อหุ้นคืน ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนวทางที่ธนาคารกลางหลายประเทศได้ดำเนินการแล้ว เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19

มอง Downside จำกัดแค่ในส่วนปันผล
เรามองว่าแนวทางของ ธปท. เป็นการดำเนินการตาม IMF ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจ และรองรับการตั้งสำรองสำหรับ NPL ได้มากขึ้น โดยการนำแนวทางนี้มาใช้กับธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว เรามองว่าเป็นการช่วยรักษาความแข็งแกร่งให้แก่เงินกองทุน มากกว่าจะเป็นความกังวลต่อความเสี่ยงที่เงินกองทุนจะลดลงอย่างรุนแรง (รายละเอียดในย่อหน้าถัดไป) เราจึงมองผลกระทบด้านลบต่อราคาหุ้นจะจำกัดอยู่ในส่วนของปันผล โดยหากจำกัดเฉพาะในส่วนของเงินปันผลระหว่างกาล เรามองว่า Downside จะอยู่ที่ราว 1-2% สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่คาดว่าจะจ่ายปันผลระหว่างกาล เช่น BBL, KBANK (BK:KBANK) และ SCB หรือหากมองว่าธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดจะไม่จ่ายปันผลสำหรับปี 2563 เลย คาดผลกระทบต่อราคาหุ้นที่รุนแรงที่สุดจะไม่เกิน 11%

ธนาคารพาณิชย์ไทยยังแกร่งในด้านเงินทุน
สำหรับความกังวลที่คุณภาพหนี้ (NPL) ที่จะเกิดขึ้นจะกระทบต่อสัดส่วนเงินกองทุนของธนาคารนั้น เรามองว่าปัจจุบันธนาคารมีความเสี่ยงจากคุณภาพหนี้อยู่แล้วตามสภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก และอาจกระทบต่อกำไรของธนาคาร ซึ่งจากประมาณการเดิมเราคาดกำไรปี 2563 ของธนาคารจะอ่อนตัวลงราว 10-20% อย่างไรก็ตามเรามองว่าความเสี่ยงดังกล่าวต่อฐานเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ยังต่ำ เนื่องจากในปัจจุบันสัดส่วนเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ยังแข็งแกร่ง โดยหากพิจารณาที่สัดส่วน Tier 1 ของธนาคารพาณิชย์ที่เราทำการวิเคราะห์เฉลี่ยอยู่ที่ 16% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 9.5% ค่อนข้างมาก

และในกรณีที่ NPL จะกระทบไปถึงเงินกองทุน จะต้องผ่าน Buffer อีก 2 ชั้น คือ 1. กำไรจากการดำเนินงานของแต่ละธนาคารในแต่ละปี (ในกรณีงดจ่ายปันผล) และ 2. สำรองส่วนเกินที่แต่ละธนาคารมี จาก Sensitivity Analysis ของเรา โดยตั้งสมมติฐานการเพิ่มขึ้นของ NPL จะส่งผลกระทบให้กำไรลดลงจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ที่เพิ่มขึ้น และ Risk Weighted Assets เพิ่มขึ้น โดยธนาคารจะสามารถรองรับ NPL ได้สูงกว่าปัจจุบันโดยเฉลี่ยราว 4 เท่า จึงจะกระทบทำให้เงินกองทุนลดลง และ NPL ต้องสูงขึ้นจากปัจจุบันถึงราว 8.2 เท่า จึงจะมีความเสี่ยงที่จะต้องเพิ่มทุน

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กระทบธุรกิจเช่าซื้อน้อย
ด้านมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 2 ที่ ธปท. ประกาศมีความแตกต่างจากข่าวที่ออกมาก่อนหน้า โดยเฉพาะในประเด็นธุรกิจเช่าซื้อ ซึ่งจากข่าวเดิมมีประเด็นการลดดอกเบี้ยลง 1% จากสัญญาเดิม แต่ในรายละเอียดที่ออกมาจริงเป็นเพียงการเลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้ ทำให้ผลกระทบต่อธุรกิจเช่าซื้อต่ำกว่าที่คาดมาก ทั้งในส่วนของธนาคาร อาทิ TISCO และ KKP และ Finance อาทิ TK, S11 และ AMANAH เราจึงเป็นปัจจัยบวกเชิงจิตวิทยา โดยเฉพาะในกลุ่มธนาคารเช่าซื้อที่ราคาอ่อนตัวลงมาก่อนหน้าจากข่าวดังกล่าว

ยังคงกลยุทธ์ Selective Buy
เรามองว่าประเด็น ธปท. ขอความร่วมมือจากธนาคารให้งดจ่ายปันผลระหว่างกาล และงดซื้อหุ้นคืน จะเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นในเชิงจิตวิทยา แต่ผลกระทบจะจำกัดแค่ในส่วนปันผล อย่างไรก็ตามเรามองว่าผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปีของกลุ่มธนาคารยังมีปัจจัยกดดันหลายด้าน ทั้งจาก NIM ที่จะอ่อนตัวลง และคุณภาพหนี้ที่อาจแย่ลง เราจึงยังคงกลยุทธ์ Selective Buy โดยให้ BBL (TP 158 บาท) เป็น Top-pick เนื่องจากลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน บวกกับ Valuation ที่ยังถูกกว่าในเชิงเปรียบเทียบ

บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities

บทความห้ามพลาด

เบื้องลึก! ธปท.สั่งงดจ่ายปันผล หุ้น BANK ระส่ำ นักลงทุนจ๊าก!

สัปดาห์นี้ยังคงอยู่ในโหมดระมัดระวังการลงทุน เน้นหุ้นทนทานต่อเศรษฐกิจ

แบงก์ชาติเตือนธนาคารในไทยงดจ่ายปันผล หรือ เศรษฐกิจไทยยังไม่เจอจุดต่ำสุด?

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย