คาด กนง. ลดดอกเบี้ย 25 bps. เหลือ 0.25% ในการประชุม 24 มิ.ย. 63 แม้จะเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์ผลประชุมของ กนง. วันที่ 24 มิ.ย. 63 แต่เรามี5 ข้อสังเกตที่ ดูจะสนับสนุนการปรับลดดอกเบีย้ต่อเน่ืองอีก 25 bps. ได้แก่
(1) ผลประชุมครั้งก่อนระบุชัดว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมแย่กว่าคาดการณ์เดิม ซึ่งครั้งนี้เราคาดว่าจะมีการปรับลดประมาณ การ GDP2563 ลงจาก -5.3% ถือเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญต่อการปรับลดดอกเบี้ย
(2) เดือน มิ.ย.-ก.ค. 63 เป็นช่วงรอยต่อของนโยบายการคลัง ทั้งเป็นช่วงสิ้นสุดการให้เงนิเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เป็ นเวลา 3 เดือน และเป็นช่วงที่รัฐบาลมีการระดมเงินทุน เพี่อไปใช้ฟื้นฟเูศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท การรักษาระดับต้นทุนทางการเงินจึงมีผลต่อการหล่อเลี้ยงสภาพคล่องให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวม
(3) อัตราเงนิเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ โดยเงินเฟ้อทั่วไป พ.ค. 63 ติดลบ -3.4% YoY ต่ำสุดในรอบ 10 ปี 10 เดือน ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน +0.01% YoY เมื่อลดดอกเบี้ย 25 bps. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังเป็นบวก
(4) การลดดอกเบี้ยจะช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่ กนง. เริ่มกังวลในการประชุมครั้งก่อน
(5) พฤติกรรรมการซื้อตราสารหนี้ของกองทุนในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศ คล้ายกับ รอบการลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งก่อน คือมีการเร่งซื้อในช่วง 5 วันทำการก่อนประชุม
คาดการณ์ผลกระทบต่อตลาดการเงิน เศรษฐกิจโดยรวม การลดดอกเบีย้จะช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิด NPL และช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับภาคธุรกิจที่ต้องการ Refinance หรือขยายธุรกิจ ตลาดตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะอ่อนตัวลง แต่อาจไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่ (อายุ 10 ปี ต่ำสุดที่ 0.858%) เพราะมีอุปทานพันธบัตรใหม่จากการระดมทุนของกระทรวงการคลังคอยหนุนผลตอบแทน ตลาดทุน การฟื้นตัวของ SET INDEX ( กดดูความเคลื่อไหวดัชนี ) กว่า 42% จากจุดต่ำสุดที่ 969 จุดเมื่อ 13 มี.ค. 63 ทำให้ Current Earning Yield Gap (EYG) ปรับตัวลงจากจุดสูงสุดที่6.5% อย่างรวดเร็ว เหลือเพียง 3.9% ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลังที่ 3.5%
หาก SET INDEX จะขึ้นต่อ EPS ต้องโต เพื่อลด PER แล้วไปเพิ่ม Earning Yield แต่สถานการณ์ปัจจุบันคาดหวัง EPS Growth ได้ยาก (เว้นแต่มีการปรับลดภาษีนิติบุคคล) การลดลงของ Bond Yield จึงเป็นตัวแปรเดียวที่ช่วย หนุน EYG และประคอง SET INDEX ไม่ให้ทรุดตัวลงแรง อัตราแลกเปลี่ยน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยชะลอการไหลเข้าและกระตุ้นการไหลออกของกระแสเงินไปในคราวเดียวกัน อิงจากการลดดอกเบี้ยของ กนง. 5 ครั้งในรอบ 1 ปี ที่ ผ่านมา เราพบว่าช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทได้ 5-10 วันทำการ
กลุ่ม Defensive มักขึ้นก่อนประชุม ส่วนแบงก์จะลงก่อนแล้วฟื้นหลังประชุม จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราพบว่ากลุ่มที่มักปรับตัวขึ้นดีกว่าตลาดก่อน กนง. ลด ดอกเบี้ย 5 วันทำ การคือ โรงไฟฟ้า ไฟแนนซ์ ลิสซิ่ง และสื่อสาร ขณะที่กลุ่มแบงก์จะถกู กดดันก่อนการประชุม แต่มักจะมี Buy on fact หลังประชุม เช่นเดียวกับกลุ่มส่งออกและ อสังหาฯที่มักปรับขึ้นได้ดีหลัง กนง. ลดดอกเบี้ย
ในเชิงกลยุทธ์
(1) แนะนำเก็งกำไร KKP, TISCO, TCAP, BEM, SUPER, GPSC, BGRIM, ADVANC, INTUCH, DTAC ก่อนประชุม กนง. ซึ่งเป็นชุดหุ้น D&D ที่มีความผันผวนต ่า หาก กนง. ไม่ลดดอกเบี้ยตามที่เราคาด Downside จากความผิดหวังจะค่อนข้างจำกัด
(2) รอซื้อ SCB, BBL, TMB, CPF, GFPT, TFG, AP, SPALI วันประชุม กนง. กรณีที่มีการลดดอกเบี้ย ทั้งนี้ เราแนะนำติดตามแรงซื้อตราสารหนี้ของต่างชาติและกองทุนในประเทศ ถ้ายังซื้อในอัตราเร่ง และ Bond Yield ชะลอการปรับขึ้น ผนวกกับเงินบาทเคลื่อนไหวเชิงแข็งค่า จะเป็นเงื่อนไขที่เอื้อต่อการเก็งกำไรตามกลยุทธ์ข้างต้น แต่ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ กลยุทธ์และธีมการ ลงทุนที่กล่าวมาทั้งหมดอาจไม่สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities
บทความห้ามพลาด
-ความเชื่อมั่นทางธุรกิจฝั่งเอเชียดิ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์