สภาพคล่องในระบบเริ่มชะลอตัวจะกดดันราคาทองคำ

เผยแพร่ 17/06/2563 19:02
XAU/USD
-
GC
-

แนะนำชะลอการลงทุนในทองคำจากปัจจัยกดดันราคา หลังสัญญาณสภาพคล่องในระบบการเงินเริ่มชะลอตัวลง และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อ ทองคำที่ให้ประโยชน์ในการป้องกันเงินเฟ้อ

โดยสัปดาห์ที่ผ่านมางบดุลของ FED ขยายตัวเพียง US$ 4.3 พันล้าน (เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ US$ 67.5 พันล้าน) จากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประเทศ ต่างๆทั่วโลกออกมาตรการลดผลกระทบและเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดการเงิน ผ่านนโยบายการเงินและการคลัง (ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) งบดุลขยายตัว 53% (US$ 2.50 ล้านล้าน),ธนาคารกลางยุโรป (ECB) งบดุลขยายตัว 20% (US$ 1.07 ล้านล้าน), ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) งบดุลขยายตัว 12% (US$ 0.66 ล้านล้าน) และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างปริมาณเงินในระบบ (Money Supply M2) กับราคาทองคำแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน โดยปริมาณเงินในระบบที่สูงขึ้น แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคทั่วโลกกลับชะลอตัวลง ทำให้มีสภาพคล่องส่วนเกิน เข้าสู่สินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ทองคำ

ราคาทองคำยังมีปัจจัยกดดันจาก Net-long position ในตลาด COMEX ที่เริ่มลดลง อย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเม.ย. จากการเปิด shot-position ที่สูงขึ้นของ hedge fund และนักเก็งกำไร สวนทางกับยอดสะสมทองคำของกองทุน ETF ทองคำทั่วโลก ซึ่งทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง

กราฟ Gold Futures ภาพรวม 1 วันที่ผ่านมา

กราฟราคา สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า
https://th.investing.com/commodities/gold

ดูกราฟราคาทองคำ Gold Spot XAU/USD ราคาแบบเรียบไทม์ล่าสุด
https://th.investing.com/currencies/xau-usd

แนวโน้มดอกเบี้ยในระดับต่ำอย่างยาวนานยังไม่ใช่ปัจจัยหนุนราคาทองคำในช่วงเวลานี้ เนื่องจาก
(1) เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะ Disinflation จากผลกระทบของโควิด-19 ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลง ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย และภาคธุรกิจชะลอการลงทุนแม้ดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งทำให้คาดการณ์เงินเฟ้อลดลง จนเข้าใกล้ภาวะ Deflation ส่งผลให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงยังไม่ปรับตัวลดลง มากแม้ดอกเบี้ย (nominal) จะอยู่ในระดับต่ำอีกยาวนาน
(2) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างดอกเบี้ยที่แท้จริงกับราคาทองคำ โดยพิจารณาจาก US 10 Year TIPS พบว่าในอดีตจะมีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกัน

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ cgsec.co.th

บทความห้ามพลาด

-ไม้ตายที่ FED อาจนำมาใช้สร้างความประหลาดใจให้ตลาด

-เฟด ยังคงเป็นผู้กำหนดชะตาโลก

-ราคาทองแท่งปิดตลาด -50 บาท ขายออกบาทละ 25,400 บาท ( 17 มิ.ย.)

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย