ถ้าพูดถึงสินทรัพย์สำรองที่มาเป็นอันดับแรกๆ ส่วนใหญ่คนจะพูดถึงทองคำหรือไม่ก็แร่เงินแต่รู้ไหมว่าพาลาเดียมกลับเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดมาตั้งแต่ปีที่แล้วซึ่งดีกว่าทองคำเสียอีก
และในปี 2020 ที่กำลังเข้าสู่ช่วงปลายเดือนมกราคมแล้ว เจ้าของสถิติผู้ทำงานปรับตัววิ่งขึ้นมา 55% ในปี 2019 ก็ยังคงร้อนแรงไม่หยุดด้วยการคืนผลกำไรตอบแทนนับจากต้นปีมาจนถึงปัจจุบันเกือบ 10% อย่างไรก็ตามแม้จะทำผลงานได้ดีแต่ในช่วงต้นปีนี้เราเริ่มเห็นแล้วว่ามีแรงขายที่พยายามจะเข้ามายับยั้งความร้อนแรงของพาลาเดียมบ้างแล้ว
แม้จะไม่เฉิดฉายเท่าทองคำแต่กลับทำผลงานได้ดีกว่า
ทองคำสินทรัพย์สำรองยอดนิยมตลอดกาลในปี 2020 ยังคงทำผลงานได้ดีแม้แพ้ราคาน้ำมันดิบในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในปี 2019 ราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นมาได้ 18% ก่อนที่จะสามารถแตะระดับราคา $1600 ได้ในช่วงที่สหรัฐฯ กำลังมีประเด็นกับอิหร่าน คิดเป็นการคืนผลกำไรตอบแทนนับจากต้นปีมาจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 1%
ในขณะที่พาลาเดียมกลับทำผลงานได้ดีกว่าไม่เฉพาะกับเพื่อนๆ ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ตระกูลแร่เท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงสินค้าโภคภัณฑ์ในทุกๆ รูปแบบ สาเหตุที่พาลาเดียมยังคงทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นนี้เพราะประเทศรัสเซียและแอฟริกาใต้ใช้พลาลาเดียมเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตน้ำมันนั่นเอง
นักขุดยังพร้อมที่จะขุดพาลาเดียมต่อไป
เจพี แคซซี่ นักวิเคราะห์แห่ง Mining Technology เขียนลงบล๊อกของเขาว่า “ตั้งแต่ปี 2017 ที่การขุดแร่พาลาเดียมของโลก 41% กระทำโดยบริษัทรัสเซียนาม “Norilsk Nickel” อยู่เพียงจ้าวเดียว บริษัทอื่นๆ จึงต้องคิดหาวิธีการใหม่ในการนำมาสู้กับแร่พาลาเดียม” นอกจากนี้เธอยังเขียนอีกว่าเพราะการปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ของราคาพาลาเดียมจึงทำให้มีผู้เล่นมากมายทั้งรายเล็กรายใหญ่ต่างสนใจที่จะกระโดดเข้ามาหาผลประโยชน์จากแร่พาลาเดียม
อย่างไรก็ตามเขาเชื่อว่าสถานการณ์ฟองสบู่ของแร่พาลาเดียมนั้นใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ทันทีที่อุปทานสามารถไล่ตามอุปสงค์ได้ทัน ที่สำคัญมีเพียงวงการเดียวเท่านั้นที่ต้องการพลังงานน้ำมันนั่นคืออุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่อโลกเริ่มหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นเมื่อนั้นความต้องการในตัวพาลาเดียมก็จะลดลงไป
คำถามตอนนี้จึงเหลืออยู่ที่ว่า "อนาคตของพาลาเดียมจะยังเหลืออยู่อีกนานแค่ไหน? และนักลงทุนจะหมดความสนใจในแร่ตัวนี้เมื่อไหร่?" แคซซี่กล่าวทิ้งท้าย
“ซื้อสิครับ รออะไร!” ยังเป็นคำแนะนำสำหรับพาลาเดียม
เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มกราคม ราคาพาลาเดียมสปอตมีราคาอยู่ที่ $2,130 ต่อออนซ์คิดเป็นการปรับตัวขึ้นมา $188 หรือคิดเป็น 9.7% เครื่องมือวิเคราะห์ตลาดรายวันของ investing.com ยังคงแนะนำให้สามารถเข้าซื้อพาลาเดียมหลังจากที่ราคาได้ก้าวข้ามผ่านระดับแนวต้าน $2,138 มาแล้วเพราะการทะลุแนวต้านนั้นหมายความว่าราคาอาจสามารถวิ่งขึ้นไปได้อีกอย่างน้อย $50 หรือ 2.8%
ส่วนราคาของพาลาเดียมล่วงหน้าเมื่อวันจันทร์ที่ 13 มกราคมมีราคาอยู่ที่ $2,079.10 คิดเป็นการปรับตัวขึ้นมา $167 หรือคิดเป็น 8.7% จากราคาปิดเมื่อปีที่แล้ว
ในปี 2019 ราคาพาลาเดียมล่วงหน้าปรับตัวขึ้นมามากถึง 55% ปริมาณความต้องการของแร่พาลาเดียมไม่เพียงเฉพาะบริษัทรัสเซียเท่านั้นที่เห็นแต่ยังรวมไปถึงบริษัทขุดเหมืองรายอื่นๆ ด้วยอย่างเช่น Ivanhoe บริษัทสัญชาติแคนาดา บริษัทนี้มีเหมืองอยู่ที่แอฟริกาใต้ซึ่งพวกเขาตั้งเป้าไว้ว่าจะขุดพาลาเดียมให้ได้ 219,000 ออนซ์ต่อปี นอกจากนี้ยังมีเหมืองที่ชื่อ Lac Des IIIes ในแคนาดาอีกแห่งซึ่งบริษัท North American Palladium ตั้งใจว่าจะดำเนินการขุดแร่พาลาเดียมไปจนถึงปี 2027 และพวกเขาจะได้แร่พาลาเดียมเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 2.32 ล้านออนซ์ภายในระยะเวลาอีก 8 ปีข้างหน้า
นักวิเคราะห์เริ่มส่งสัญญาณให้แตะเบรกเอาไว้บ้าง
นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินชื่อดังของอเมริกา “แบงก์ ออฟ อเมริกา” เมอร์ลิว ลินน์ ออกมาเตือนบริษัทผู้ขุดเหมืองเหล่านี้ว่า “แม้การขุดพาลาเดียมจะยังคงหนุนราคาพาลาเดียมให้ปรับตัวสูงขึ้น แต่บริษัทผู้ผลิตยานยนต์เริ่มมองหาพลังงานทดแทนแล้ว ที่สำคัญตอนนี้โลกมีพาลาเดียมเพียงพอแล้วสังเกตได้จากตัวเลขปริมาณความต้องการพาลาเดียมต่อปีในช่วง 2-3 ปีข้างนหน้าที่จะนิ่งอยู่ที่ 10.2 ล้านออนซ์”
“ธุรกิจยานยนต์ได้มองหาพลังงานทดแทนมานานแล้ว และเรื่องนี้จะไม่ใช่อนาคตในอุดมคติอีกต่อไป ยิ่งโลกสามารถหาพลังงานทดแทนมาได้เร็วเท่าไหร่ เวลาของพาลาเดียมก็ยิ่งหมดลงเร็วขึ้นเท่านั้น” ไมเคิ่ล วิลล์เมอร์ นักวิเคราะห์จากแบงก์ ออฟ อเมริกา กล่าว
คาดการณ์ว่าตัวเลือกทดแทนที่จะสามารถมาแทนพาลาเดียมได้ในอนาคตอาจจะเป็นแพลตินั่มที่ตอนนี้มีตัวเลขอยู่เพียง $1000 กว่าๆ ต่อออนซ์เท่านั้น ทั้งพาลาเดียมและแพลตินั่มต่างเป็นพลังงานสำหรับยานยนต์ที่สำคัญ ความต่างจะมีเพียงแพลตินั่มใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเท่านั้น
อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพูดถึงแพลตินั่มที่จะมาแทนพาลาเดียม บริษัทผู้ผลิตยานยนต์เองก็รู้ดีว่าถ้าต้องนำแพลตินั่มมาใช้จริงๆ พวกเขาอาจต้องเสียเงินทุนมหาศาลในการยกเครื่องยนต์กันใหม่ซึ่งอาจจะเสียเวลามากกว่าที่จะได้่ประโยชน์เมื่อเทียบกับพาลาเดียมที่เป็นมิตรกับรถยนต์และมีราคาย่อมเยามากกว่า