Investing.com - หุ้นเอเชียซื้อขายแบบทรงตัวในวันนี้ หลังจากที่หุ้นทั่วโลกมีสัปดาห์ที่ดีที่สุดในรอบเก้าเดือน หลังได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ และอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวจะกระตุ้นให้เกิดวัฏจักรการลดอัตราดอกเบี้ย
ขณะนี้ความคาดหวังที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะ “soft landing มากขึ้น” ทำให้ ดัชนี S&P 500 ฟิวเจอร์ส และ Nasdaq 100 ฟิวเจอร์ส ปรับขึ้น 0.2% เพิ่มขึ้นจากกำไรของสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนี MSCI ซึ่งเป็นดัชนีที่กว้างที่สุดในเอเชียแปซิฟิกนอกประเทศญี่ปุ่น ปรับขึ้น 0.2% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.8% ในสัปดาห์ที่แล้ว ด้าน Nikkei ของญี่ปุ่นลดลง 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้นเกือบ 9% ในสัปดาห์ที่แล้ว
แนวโน้มของการลดต้นทุนการกู้ยืมยังผลักดันให้ราคาทองคำทะลุ 2,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นครั้งแรก ขณะที่เงิน ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ ยูโร อย่างไรก็ตาม ทั้ง เยน และ ฟรังก์สวิส ที่เป็นสกุลเงินที่ปลอดภัยต่างก็อ่อนค่าลงเมื่อความอยากเสี่ยงกลับคืนมา
ในช่วงสุดสัปดาห์ สมาชิกของธนาคารกลางสหรัฐฯ แมรี ดาลี และ ออสแตน กลูส์บี้ ได้ส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ในการผ่อนปรนนโยบายการเงินในเดือนกันยายน โดย รายงานจากการประชุมครั้งล่าสุด ที่จะเผยแพร่ในสัปดาห์นี้คาดว่าจะเสริมมุมมองดังกล่าวเช่นกัน
เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐก็มีกำหนดการณ์จะ กล่าวคำแถลงการณ์ ที่ Jackson Hole ในวันศุกร์ ซึ่งนักลงทุนคาดหวังว่าเขาจะยอมรับถึงความเป็นไปได้ในการลดอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ใช่เพียงแห่งเดียวที่กำลังพิจารณานโยบายที่ผ่อนปรนมากขึ้น ธนาคารกลางสวีเดนคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ โดยอาจมีการปรับลดลงถึง 50 จุดพื้นฐาน
ในตลาดสกุลเงิน ยูโรยังทรงตัวอยู่ที่ 1.1025 ดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อยที่ 1.1047 ดอลลาร์ ด้านเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังอยู่ที่ 147.79 เยน หลังจากที่ขึ้นไปสูงถึง 149.40 เยนในสัปดาห์ที่แล้ว
เงินดอลลาร์ที่อ่อนลง รวมกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ต่ำลง ได้ช่วยให้ราคาทองคำทรงตัวที่ 2,506 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ใกล้กับระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 2,509.69 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงอีกครั้ง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความต้องการจากจีนที่กดดันความเชื่อมั่นของตลาด น้ำมันดิบเบรนท์ ลดลง 29 เซนต์ มาเป็น 79.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ น้ำมันดิบ WTI ลดลง 27 เซนต์ เป็น 76.38 ต่อบาร์เรล