Investing.com - หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ร่วงลงในตลาดเอเชียวันนี้ตามการขาดทุนของวอลล์สตรีท หลังข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ร้อนเกินคาดได้ลดทอนแนวโน้มของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ
ข้อมูลเงินเฟ้อจากประเทศจีนยังแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียยังคงติดอยู่ในแนวโน้มภาวะเงินฝืดอย่างต่อเนื่อง และทำให้ความเชื่อมั่นแย่ลงไปอีก
ดัชนีวอลล์สตรีทร่วงลงหลังจากข้อมูลเงินเฟ้อ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ร้อนแรงเกินคาด ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ลดเดิมพันเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนโดยเฟดลง
หุ้นฟิวเจอร์สสหรัฐร่วงลงในตลาดเอเชีย
หุ้นจีนร่วงหลังรายงาน CPI หดตัวเกินคาดในเดือนมีนาคม
ข้อมูลเงินเฟ้อที่อ่อนแอของจีนก็สั่นคลอนตลาดในภูมิภาคเช่นกัน ดัชนี CSI 300 และ เซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ของจีนลดลง 0.2% และ 0.4% ตามลำดับ หลังจากที่ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าข้อมูลเงินเฟ้อ CPI ของจีนหดตัวมากกว่าที่คาดไว้ในเดือนมีนาคม
อีกทั้งการหดตัวอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ PPI ยังบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจจีนที่เผชิญกับแนวโน้มภาวะเงินฝืดในปีที่ผ่านมา
ความอ่อนแอในประเทศจีนถือเป็นปัจจัยที่ไม่ดีสำหรับเศรษฐกิจเอเชียในวงกว้าง เนื่องจากจีนคือประเทศคู่ค้ารายใหญ่ในตลาดภูมิภาค
การขาดทุนในหุ้นแผ่นดินใหญ่ได้ฉุดให้ดัชนี ฮั่งเส็ง ของฮ่องกงร่วงลง 1.4% ลบกำไรส่วนใหญ่ที่เกิดจากหุ้นภาคเทคโนโลยีเมื่อวันพุธ
ASX 200 ของออสเตรเลียร่วงลง 0.8% เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้นั้นหนุนหุ้นกลุ่มเหมือนแร่ได้เพียงเล็กน้อย อีกทั้งความกังวลเกี่ยวกับจีนยังส่งผลต่อหุ้นออสเตรเลียอีกด้วย เนื่องจากหุ้นออสเตรเลียมีการแลกเปลี่ยนกับจีนอย่างมาก
ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นลดลง 0.6% ขณะที่ TOPIX ลดลง 0.3% การขาดทุนเพิ่มเติมของหุ้นญี่ปุ่นได้ถูกจำกัดด้วยความแข็งแกร่งของหุ้นภาคการส่งออก เนื่องจากเงิน เยนญี่ปุ่น ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 34 ปี
แต่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการแทรกแซงของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนค่าเงินเยนยังบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อตลาดญี่ปุ่นเช่นกัน
KOSPI ของเกาหลีใต้ร่วงลง 0.4% ขณะที่ตลาดอินเดียปิดทำการในช่วงวันหยุด แต่อย่างไรก็ตาม Nifty 50 ก็ทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันพุธ
เดิมพันเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเบาบางลง
ตลาดเอเชียอื่น ๆ ก็ปรับตัวลดลงเช่นกันในวันนี้ หลังได้รับผลกระทบจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่สูงขึ้นในระยะยาว
ความเชื่อมั่นในสินทรัพย์ที่ขับเคลื่อนด้วยความเสี่ยงได้รับผลกระทบอย่างมากจากข้อมูล CPI ของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ข้อมูลดังกล่าวประกอบกับท่าทีเชิง hawkish ใน รายงานการประชุมของเฟด ส่งผลให้ตลาดลดความคาดหวังของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน 25 จุดในเดือนมิถุนายนลง รายงานการประชุมแสดงให้เห็นว่าก่อนจะมีการเปิดเผยข้อมูล CPI ในเดือนมีนาคม เจ้าหน้าที่ของเฟดก็มีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ sticky อยู่ก่อนแล้ว
เครื่องมือติดตามอัตราดอกเบี้ยของเฟด แสดงให้เห็นว่าขณะนี้ตลาดเชื่อว่ามีโอกาสมากกว่า 80% ที่จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในเดือนมิถุนายน และมีโอกาสเพียง 17.5% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย