โดย Ambar Warrick
Investing.com -- หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นในวันอังคาร ท่ามกลางการเดิมพันว่า นายเจอโรม พาวเวลล์ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีท่าทีที่อ่อนลงต่อการกล่าวแถลงการณ์ต่อหน้ารัฐสภาในวันนี้ ขณะที่หุ้นจีนทรงตัวในกรอบแคบ ๆ เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ได้เพิ่มความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจจะช้าลง
ดัชนี CSI 300 และ เซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ของจีนเคลื่อนไหวน้อยกว่า 0.2% ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เนื่องจาก ซิน กัง รัฐมนตรีต่างประเทศได้ออกมาเตือนถึงความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นกับสหรัฐฯ หากวอชิงตันไม่เปลี่ยนความเห็นที่ยังคงต่อต้านประเทศยักษ์ใหญ่ของเอเชีย
คำเตือนดังกล่าวสั่นคลอนความเชื่อมั่นที่มีต่อจีน โดยเทรดเดอร์ส่วนใหญ่มองผ่านรายงานบัญชีเดินสะพัด ของจีนที่ดีเกินคาดในเดือนกุมภาพันธ์
แต่ตัวเลข การนำเข้า ของจีนหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้มากในช่วงเดือนดังกล่าว ซึ่งบ่งชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศยังคงอ่อนแอ แม้ว่าจะมีการยกเลิกข้อจำกัดต่อต้านโควิดส่วนใหญ่ในปีนี้แล้วก็ตาม
ตัวเลขการนำเข้าที่อ่อนแอประกอบกับแนวโน้ม GDP ที่จะอ่อนแอกว่าที่คาดไว้สำหรับปีนี้ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปีนี้
ถึงกระนั้น ตลาดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจีนส่วนใหญ่ต่างปรับตัวขึ้น
ดัชนี Taiwan Weighted และ KOSPI ของเกาหลีใต้สูงขึ้น 0.5% และ 0.4% ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนี ฮั่งเส็ง ของฮ่องกงเป็นดัชนีที่ทำผลงานดีที่สุดสำหรับวันนี้ที่ 1.2% โดยเป็นแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของหุ้นน้ำมันและภาคเทคโนโลยี
ดัชนี นิคเคอิ 225 ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.5% เนื่องจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า รายงานรายได้เฉลี่ยในรูปเงินสดของญี่ปุ่น ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมกราคม ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นมีแรงกระตุ้นน้อยลงในการเข้มงวดของนโยบายการเงิน
หุ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความเสี่ยงสูงปรับตัวขึ้นโดย ดัชนี SET ของไทยเพิ่มขึ้น 0.9% ในการซื้อขาย catch-up โดยอัตราเงินเฟ้อ ดัชนีราคาผู้บริโภค ในประเทศยังอต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะดำเนินการนโยบายการเงินในลักษณะที่เข้มงวดน้อยลง
ตลาดเอเชียอื่น ๆ มีการเติบโตอย่างระมัดระวัง ท่ามกลางความคาดหวังที่ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่เย็นลงจะผลักดันให้พาวเวลล์มีท่าที่ผ่อนคลายลงในระหว่าง การกล่าวคำแถลง ต่อสภาคองเกรสในวันนี้และพรุ่งนี้
แต่ความยืดหยุ่นที่คาดไม่ถึงในตลาดงานของสหรัฐฯ ประกอบกับตัวเลข อัตราเงินเฟ้อ ที่สูงเกินคาดในเดือนมกราคมยังคงทำให้เห็นได้ว่า เฟด ยังคงยืนหยัดในท่าทีที่แข็งกร้าว สัปดาห์นี้จุดสนใจอยู่ที่ข้อมูล การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ของเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งจะครบกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้
สัญญาณที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในตลาดแรงงานมีแนวโน้มว่าจะนำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ส่งผลไม่ดีต่อตลาดหุ้นเอเชียที่มีความเสี่ยงสูง อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อตลาดในภูมิภาคจนถึงปี 2022 และการฟื้นตัวในปีนี้ยังคงถูกจำกัดอยู่
ดัชนี ASX 200 ของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 0.5% ในวันอังคาร แม้ว่า ธนาคารกลาง จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 จุดพื้นฐาน และกล่าวว่าจะมีการการปรับขึ้นอีก แต่แนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารก็ยังเป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาดอยู่