InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.02/04 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้า เปิดตลาดที่ระดับ 35.14 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.02 - 35.28 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคแข็งค่า จากดอลลาร์อ่อนค่า เนื่องจากเมื่อคืนนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าจะยุติ การขึ้นดอกเบี้ย และมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยในปี 67 อย่างน้อย 3 ครั้ง เป็นปัจจัยกดดันให้บอนด์ยิลด์สหรัฐปรับตัวลง ราคาทองคำปรับตัวขึ้น นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ออกมาติดลบ เป็นสัญญาณบ่งชี้ชัดเจนว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้า หมายที่เฟดวางไว้ได้ 2% ในปีหน้า สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ ได้แก่ ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย, ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย และยอดค้าปลีกเดือนพ.ย. ของสหรัฐฯ นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.70 - 35.10 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 141.48/51 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 142.36 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0901/0905 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0894 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,378.94 จุด เพิ่มขึ้น 20.97 จุด (+1.54%) มูลค่าซื้อขาย 40,897.67 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,562.27 ลบ. - ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 67 ที่ 3.2% ลดลงจากก่อนหน้า นี้ที่เคยคาดไว้ที่ 3.5% เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการหดตัวของการส่งออกสินค้าและการลดการ ใช้จ่ายภาครัฐ และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้มากขึ้นในระดับปานกลางที่ 3.1% ในปี 68 สำหรับโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่มีการวางแผนไว้ ซึ่งมูลค่าโครงการคิดเป็นประมาณ 2.7% ของ GDP โดยหากมีการดำเนินโครงการ คาดว่าจะสามารถกระตุ้นการเติบโตในระยะสั้นได้เพิ่มขึ้น 0.5-1% ของ GDP ในช่วงระยะ ระหว่างปี 67-68 แต่จะส่งผลให้การขาดดุลทางการคลังอาจเพิ่มขึ้นเป็น 4-5% ของ GDP ในขณะที่หนี้สาธารณะ อาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 65- 66% ของ GDP จาก ณ สิ้นเดือนก.ย. 66 สัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ที่ 62.1% ของ GDP - ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) มองว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่กลับสู่ระดับศักยภาพ จากการฟื้น ตัวที่ล่าช้าและไม่ทั่วถึงในหลายภาคส่วน โดยได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 66 ลงเหลือ 2.4% จากเดิมคาดไว้ที่ 2.8% ขณะที่ปี 67 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเพิ่มเป็น 3.1% โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับ ผลบวกชั่วคราวจากมาตรการกระตุ้นการบริโภค อย่างไรก็ดี มองว่าเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ยังเผชิญความไม่แน่นอนสูง ทั้งปัจจัย ภายในและภายนอก - Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 67 ขยายตัว 3% ซึ่งปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3.5% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า และขยายตัวต่ำกว่าคาด ปัจจัยกดดันมา จากการบริโภคภาคเอกชนเติบโตชะลอลงหลังจากที่ขยายตัวในระดับสูงในปี 66 อีกทั้งการลงทุนภาครัฐที่ยังขยายตัวต่ำจากความล่าช้าของ งบประมาณประจำปี 67 - ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทดับเบิลไลน์ แคปิตอลคาดการณ์ว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อายุ 10 ปี จะยังคงลดลงสู่ระดับ 3% ในปีหน้า หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย