รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

3 ประเด็นที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้ ( 23 ก.ค.)

เผยแพร่ 23/07/2563 14:38
อัพเดท 23/07/2563 14:43
© Reuters.

โดย Detchana.K

Investing.com - ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยไม่กังวลใจ เกี่ยวกับกรณีที่ประเทศไทยมีโอกาสติดรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองว่าแทรกแซงค่าเงิน ที่จัดทำโดยกระทรวงการคลังสหรัฐ ระบุว่าได้มีการชี้แจงเรื่องนี้แล้ว ปัจจัยดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทในวันนี้มากนัก โดยยังคงทรงตัวอยู่ในระดับ 31.63 บาทต่อดอลลาร์ ประเด็นที่มีผลต่อค่าเงินบาทในระยะนี้ยังคงเป็นการเคลื่อนไหวของค่าเงินภูมิภาค โดยเฉพาะเงินหยวน ซึ่งได้รับแรงกดดันจากปัญหาความสัมพันธ์ตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐ ที่ส่งผลให้เงินหยวนอ่อนค่าทะลุระดับ 7.05 หยวนต่อดอลลาร์ และเกิดแรงขายในสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ รวมถึงเงินบาทตาม ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้

1.ไทยเสี่ยงถูกกระทรวงการคลังสหรัฐขึ้นบัญชีประเทศปั่นค่าเงิน

บทวิเคราะห์จาก UBS Group AG และ Goldman Sachs ระบุว่า ประเทศไทยมีโอกาสติดรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองว่าแทรกแซงค่าเงิน โดยปัจจัยที่จะทำให้ประเทศนั้น ๆ มีโอกาสติดอยู่ในบัญชีเฝ้าระวังเรื่องของการแทรกแซงค่าเงินนั้น ประกอบไปด้วย (1) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล มากกว่า 2% ของ GDP หรือไม่ (2) ดุลการค้าของประเทศนั้นเกินดุลสหรัฐฯ มากกว่า 2 หมื่น ล้านเหรียญสหรัฐฯ 4 ไตรมาสติดกันหรือไม่ และ (3) มีการซื้อเงินหรือพันธบัตรของสหรัฐฯ มูลค่าเกินจำนวน 2% ของ GDP ประเทศในช่วง 6-12 เดือนหรือไม่

โดยในปี 2562 ประเทศติด 2 ใน 3 เงื่อนไข เฝ้าระวังเรื่องของการแทรกแซงค่าเงิน อย่างไรก็ตามผู้ว่าการธนาคารแห่ง ประเทศไทย ยืนยันว่าไม่ได้มีการแทรกแซงค่าเงินเพื่อที่จะให้ไทยได้เปรียบในการส่งออก กรณีดังกล่าวนอกจากไทยแล้วอาจยังมี สวิตเซอร์แลนด์ และ ไต้หวัน ด้วย (ที่มา: Brandinside.asia และ BoT)

อย่างไรก็ตามความเห็นของผู้ว่า ธปท. ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า เผยว่าไม่กังวลเพราะมีการชี้แจงกับสหรัฐให้เข้าใจ บลจ.เอเชียพลัสประเมินจากสถิติในอีต พบว่าโดยปกติสหรัฐจะประกาศรายชื่อประเทศที่แทรกแซงค่าเงิน 2 รอบต่อปี คือเดือน เม.ย. และ ต.ค. ของทุกปี ในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีประเทศไทนเข้าข่ายครบทั้ง 3 เกณฑ์ ( มีบางประเทศที่เข้าบางเกณฑ์ ซึ่งสหรัฐจะให้อยู่ในรายชื่อประเทศที่ต้องเฝ้าติดตาม ) โดยรอบล่าสุด ม.ค.63 ก็ยังไม่มีประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีดำ

ด้านสถานการณ์เงินบาท USD/THB ยังแกว่งตัวอ่อนค่าลงจากแรงขายทำกำไรระยะสั้นของนักลงทุนต่างชาติ โดยใช้ประเด็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นเหตุผลประกอบ

ในระยะสั้นจึงต้องจับตาทิศทางของเงินหยวน (CNY) ซึ่งเป็นตัวแทนภาพความเสี่ยงของตลาดเงินในเอเชียที่ชัดเจนที่สุด ถ้าความขัดแย้งครั้งนี้ กดดันให้เงินหยวนอ่อนค่าทะลุระดับ 7.05 หยวนต่อดอลลาร์ขึ้นไป ก็จะกดดันให้เกิดแรงขายในสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ รวมถึงเงินบาทตามไปด้วย

2. จับตากระแสการผ่อนคลายธุรกิจเฟส 6

บล.เอเชีย พลัส เผยว่าหนึ่งประเด็นที่ตลาดน่าจะให้น้ำหนักคือ ที่ประชุม ศบค.มีมติอนุมัติมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 6 เอเชีย พลัสเชื่อว่าการผ่อนคลายดังกล่าว โดยเฉพาะการอนุญาติให้ผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามารักษา จะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีสัดส่วนผู้ป่วยต่างชาติสูง เช่น BDMS และ BH

ส่วน บล. คันทรี กรุ๊ป เผยว่า การที่วานนี้ ศบค.มีมติต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน ไม่มีผลใดๆต่อดัชนีเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ตลาดคาดหมายไว้อยู่แล้ว ขณะที่การผ่อนคลายเฟส 6 ด้วยการ อนุญาตให้ชาวต่างชาติ 4 กลุ่มเข้าประเทศได้แบ่งออกเป็น ( 1) จัดแสดงสินค้าใน ราชอาณาจักร ( 2) กองถ่ายภาพยนตร์ ( 3) แรงงานต่างด้าว ( 4) เข้ามารักษาพยาบาล (เสริมความงาม , ปรึกษาการมีบุตร) มองเป็นสัญญาณบวกต่อการ เปิดรับต่างชาติเข้ามาประเทศมากขึ้น และอีกนัยเชื่อว่าเป็นการส่งสัญญาณต่อโอกาสเปิด Travel bubble

ในระยะถัดไปมองกลุ่มได้ประโยชน์ได้แก่ สนามบิน (BK:AOT) โรงพยาบาล(BK:BH)  (BK:BDMS)  (BK:BCH)โรงแรมและร้านนวด (BK:CENTEL)  (BK:ERW)  (BK:MINT) SPA นอกจากนี้วันนี้จะเป็นวันแรกที่ภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Peninsula เข้าฉายในประเทศไทยเบื้องต้นจากการสำรวจจำนวนคนเข้าชมในโรงภาพยนตร์ของ MAJOR กระแสตอบรับอยู่ในเกณฑ์ดีมากมองเป็นบวกโดยตรงต่อ  (BK:MAJOR)

3.ทิศทางราคาทองคำครึ่งปีหลังเป็นอย่างไร?

คุณฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG) เปิดเผยเกี่ยวกับทิศทางทองในครึ่งปีหลัง
ว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังมีแนวโน้มสดใสท่ามกลางปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนราคาทองคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เศรษฐกิจทั่วโลกเข้าสู่สภาวะถดถอยหลังการระบาดของ COVID-19 ซึ่งกระตุ้นให้รัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกต้องเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งทางการเงินและการคลัง นำโดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.00-0.25%

ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยพร้อมดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แบบไม่จำกัดวงเงิน นอกจากนี้การดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังจากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ยังส่งผลให้เกิดการขาดดุลงบประมาณมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำในระยะยาวเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีประเด็นสงครามการค้าสหรัฐจีนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ การเมืองระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นประเด็นฮ่องกงและทะเลจีนใต้ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีนและอิหร่าน รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือน พ.ย.ปีนี้ ปัจจัยที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนหันเข้ามาถือครองทองคำมากขึ้น

ในทางเทคนิค แนวโน้มราคาทองคำ ระยะยาว ยังมีทิศทางขาขึ้น โดยราคาทองคำตั้งแต่ช่วงปี 2017-2020 มีการยกระดับต่ำสุด สูงขึ้น และยกระดับ สูงสุด สูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ราคาทองคำตั้งแต่ช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย. ปี 2020 ยังมีการยกระดับต่ำสุด สูงขึ้น และยกระดับสูงสุด สูงขึ้น ติดต่อกันหลายเดือน แนวโน้มดังกล่าว สร้างมุมมองเชิงบวกต่อราคาทองคำเช่นกัน แม้ว่าเมื่อราคาทองคำปรับตัวขึ้นจะมีแรงขายทำกำไรสลับออกมาบ้าง แต่ราคายังคงเคลื่อนไหวและรักษารูปแบบการแกว่งตัวในทิศทางขาขึ้นได้

ในช่วงที่เหลือของปี 2020 หลังจากราคาทะลุผ่านแนวต้านชุดแรกที่ระดับ 1,790-1,803 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของราคาช่วงเดือน ต.ค.ปี 2012- เดือน ก.พ.ปี 2011 และเป็นจุดแนวต้านสำคัญที่ราคาทดสอบหลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถผ่านไปได้ ทำให้ทิศทางราคาทองคำในระยะยาวสดใสมากขึ้น ประเมินแนวต้านสำคัญชุดที่สองสำหรับปีนี้อยู่ที่ระดับ 1,911-1,920 ดอลลาร์ต่อออนซ์  อัพเดตราคาโกลด์สปอต XAU/USD

ความคิดเห็นล่าสุด

เราต่างหากที่ต้องขึ้นบัญชีดำสหรัฐ เรื่องพิมพ์เงินตามอำเภอใจ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย