💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ผู้เสียหายและผู้ก่อตั้งบริษัท Coinasset โร่แจ้งสถานีประชาชนเพื่อชี้แจงถึงเหรียญ Jfin Coin ที่หายไป

เผยแพร่ 10/12/2564 14:12
อัพเดท 10/12/2564 14:40
© Reuters.  ผู้เสียหายและผู้ก่อตั้งบริษัท Coinasset โร่แจ้งสถานีประชาชนเพื่อชี้แจงถึงเหรียญ Jfin Coin ที่หายไป

ตัวแทนผู้เสียหายที่เคยลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกับบริษัทคอยน์ แอสเซท จำกัด ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พร้อมผู้ก่อตั้งบริษัท Coinasset ได้โร่แจ้งรายการ ‘สถานีประชาชนไทยพีบีเอส’ ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมเพื่อชี้แจงถึงกรณีของเหรียญ Jfin ของกลางที่หายจำนวนกว่า 700,000 เหรียญ ตัวแทนผู้เสียหายตั้งข้อสังเกตว่า หลังจากแต่ละคนได้รับอีเมล์ จากบริษัทกฎหมายแห่งหนึ่งที่เข้ามาเป็นคนกลางเพื่อคืนสินทรัพย์ดิจิทัล นับตั้งแต่บริษัทคอยน์ แอสเซท จำกัด ปิดตัวลงไปไปเมื่อปี 2562 ก็ได้ให้แต่ละคนต้องแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเหรียญ ผู้เสียหายรายนี้กล่าวว่า เขาได้ส่งหลักฐานต่างๆและยืนยันตัวตน ส่งไปตามที่บริษัทกฎหมายแจ้งหลังจากดำเนินการเสร็จแล้วกลับไม่ได้รับเงินสินทรัพย์คืน จนกระทั่งต่อมาทราบว่าเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมาบริษัทกฎหมายดังกล่าวประกาศยุติบทบาทการเข้ามาดูแลสินทรัพย์ดังกล่าว ทำให้ตัวแทนผู้เสียหายรู้สึกถึงความไม่ชอบมาพากล ข้อความบางส่วนที่ตัดตอนมาจากคำพูดของผู้เสียหายเล่าว่า : “บริษัทกฎหมายได้มีการปฏิเสธการขอรับสินทรัพย์ของผมคืน และได้มีการบอกว่าเหรียญทั้งหมดบริษัทได้ขอคิดเป็นค่าบริการที่เขาดูแล ผมก็เลยบอกว่าคุณจะคิดค่าบริการจากสินทรัพย์ในส่วนตรงนี้ไม่ได้ เพราะสินทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในคู่สัญญาของคุณ คุณไปสัญญากับทางคอยน์ แอสเซทเองว่าคุณจะดูแลเหรียญไว้เพื่อคืนให้กับเจ้าของตัวจริง แต่สุดท้ายคุณไม่ได้คืนมาที่เรา และกลับนำไปหักเป็นค่าบริการ” ทางด้านนาย ศิวนัส ยามดี อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทคอยน์ แอสเซท จำกัด ได้ออกมายอมรับในความผิดพลาดในอดีตและเล่าถึงสาเหตุที่ปิดตัวไปเมื่อปี 2562 เนื่องจากมีปัญหาภายในบริษัทและส่งผลให้ไม่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือก.ล.ต ด้วยเหตุนี้ทาง ก.ล.ต จึงได้สั่งให้บริษัทคอยน์ แอสเซทคืนสินทรัพย์ให้กับลูกค้าหรือนักลงทุน ต่อมามีลูกค้ากล่าวว่ายังไม่ได้สินทรัพย์คืนเป็นจำนวนมาก ซึ่งสินทรัพย์ที่ลูกค้าไม่ได้รับคืนเยอะที่สุดนั่นก็คือเหรียญ Jfin Token ซึ่งทำให้ผู้เสียหายเดินเรื่องฟ้องร้องบริษัท จนกระทั่งเมื่อปี 2563 บริษัทสามารถติดตามเหรียญดิจิทัลคืนมาได้ประมาณ 2 ล้านกว่าเหรียญโทเค็นและได้คืนกันในชั้นศาลโดยส่งมอบให้ทางบริษัทกฎหมายซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 รับหน้าที่ดูแลและดำเนินการส่งคืนให้แก่ผู้เสียหาย แต่ทว่าล่าสุดกลับทราบว่า ผู้เสียหายบางส่วนยังไม่ได้รับสินทรัพย์ดังกล่าวคืนจึงขอคำชี้แจงจากบริษัทกฎหมายดังกล่าว และทราบภายหลังว่าได้มีการหักค่าดำเนินการหรือค่าบำเหน็จจากของกลางร้อยละ 10 ทุกเดือน ทั้งนี้นาย ศิวนัส ยามดีได้ออกมากล่าวชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวในระหว่างให้สัมภาษณ์กับรายการสถานีประชาชนไทยพีบีเอสว่า : “ในสัญญาที่ผมไปคุยกับฝ่ายกฎหมายทุกคนมันไม่ชัดเจนเลย ทนายบางคนยังบอกว่ามันเป็นโมฆะด้วยซ้ำเพราะมันคือสัญญาประนีประนอมไม่ใช่สัญญาจ้างเรื่องแรก เรื่องที่สองคือต่อให้มันเป็นสัญญาจ้างก็จริง คู่สัญญาก็คือผมกับบริษัทกฎหมาย ดังนั้นเขาจึงต้องมาวางบิลมาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผม และไม่มีสิทธิ์ไปหักเงินของกลาง” เบื้องต้นทีมข่าวสถานีประชาชนไทยพีบีเอสได้ประสานไปยังตัวแทนบริษัทกฎหมายที่เข้ามาเป็นคนกลางในการคืนสินทรัพย์ดังกล่าวให้กับผู้เสียหายเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทเล่าว่าได้มีการคืนสินทรัพย์ดิจิทัลให้กับผู้เสียหายที่มีหลักฐานชัดเจนไปแล้วกว่า 20 คนและอ้างว่าเหรียญที่ได้รับมานั้นไม่เพียงพอที่จะคืนให้กับผู้เสียหายทั้งหมด ส่วนการเรียกเก็บค่าดำเนินการบริษัทกฎหมายอ้างว่าเขามีสิทธิ์หักค่าบำเหน็จสินจ้างร้อยละ 10 ทุกเดือน เพราะติดต่อไปยังทางนายศิวนัสไม่ได้ สุดท้ายนี้เราจะคงต้องติดตามดูกันต่อไปว่าเรื่องราวนี้จะจบลงอย่างไร และผู้เสียหายจะได้รับเงินคืนหรือไม่ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งคดีตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นในบ้านเรา

กดอ่านข่าว ผู้เสียหายและผู้ก่อตั้งบริษัท Coinasset โร่แจ้งสถานีประชาชนเพื่อชี้แจงถึงเหรียญ Jfin Coin ที่หายไป ต่อที่ Siam Blockchain

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย