หากใครก็ตามที่กำลังคิดว่าความผันผวนในสัปดาห์ที่แล้วจะแผ่วลงในสัปดาห์นี้ บอกเลยว่าคุณกำลังผิด!! สัปดาห์นี้จะเป็นสัปดาห์ที่ตลาดลงทุนให้ความสนใจกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ มากที่สุดเนื่องจากจะมีการรายงานผลประกอบการของบริษัทเทคฯ ชื่อดัง และการประชุมนโยบายการเงินครั้งแรกของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในปี 2022
ดัชนีหลักทั้งสี่ของอเมริกาไม่ว่าจะเป็นดาวโจนส์ เอสแอนด์พี 500 แนสแด็กและรัสเซล 2000 ต่างก็จบสัปดาห์ที่แล้วด้วยการปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดเดิม โดยที่เอสแอนด์พี 500 และแนสแด็กปรับตัวลดลงหนักที่สุดนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิดในปี 2020 ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์สร้างสถิติสัปดาห์ขาลงที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2020 กลุ่มหุ้นที่เป็นแกนนำในการถูกเทขายครั้งนี้คือหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
แม้แต่รายงานผลประกอบการของบริษัทเน็ตฟลิกซ์ (NASDAQ:NFLX) ก็ไม่สามารถเติบโตได้ตามที่ตลาดหวัง ก่อให้เกิดการเทขายหุ้นของบริษัทภาพยนตร์สตรีมมิ่งอันดับหนึ่งของอเมริกาเช่นกัน หุ้นเน็ตฟลิกซ์เปิดราคาเมื่อวันศุกร์ ต่ำกว่าจุดปิดของวันพฤหัสบดี ก่อนที่จะปรับตัวลดลงต่อ ส่งผลให้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่แล้ว หุ้นเน็ตฟลิกซ์ได้ปรับตัวลดลงทั้งหมด 21.79%
การที่เน็ตฟลิกซ์ยอมรับตามตรงถึงการถูกแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไป ประกอบกับการขึ้นราคามาตรฐานจาก $13.99 เป็น $15.49 ทำให้นักลงทุนพร้อมใจกันเทขายหุ้นเน็ตฟลิกซ์ในวันศุกร์ สะท้อนให้เห็นว่าลำพังการมีคอนเทนต์คุณภาพเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถทำให้บริษัทนี้ไปรอดได้ในอนาคตระยะยาว ที่ภาพยนตร์หรือซีรีส์สตรีมมิ่งไม่ใช่เรื่องใหม่
ขาลงเมื่อวันศุกร์ของหุ้นเน็ตฟลิกซ์สร้างสถิติเป็นขาลงในรอบวันที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคมปี 2012 เมื่อพิจารณาเป็นรอบสัปดาห์ จะพบว่าขาลงของสัปดาห์ที่แล้วรุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคมปี 2012 ตอนที่มูลค่าของหุ้นเน็ตฟลิกซ์ลดลง 28% จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคฯ ตอนนี้ราคาหุ้นเน็ตฟลิกซ์ได้หลุดแนวรับสำคัญ ที่ทำให้ราคาหุ้นไซด์เวย์มาตลอดเรียบร้อยแล้ว การร่วงลงมาครั้งนี้ทำให้เราต้องพิจารณาแนวรับใหม่เป็นเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นระยะยาว ที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดในปี 2016
หากจะบอกว่าช่วงเวลานี้มีแต่มรสุมแย่ๆ พัดเข้ามาที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีก็คงจะไม่ผิดนัก เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาดัชนีแนสแด็ก 100 ปรับตัวลดลง 2.8% ในขณะที่รอบสัปดาห์ถือว่าร่วงลงมาแล้วทั้งหมด 7.51% กลายเป็นสัปดาห์ขาลงสัปดาห์ที่สองติดต่อกันแล้วของแนสแด็ก 100 แต่ขาลง 7.51% นั้นก็ยังถือว่าเป็นเพียงอันสอบของกลุ่มเท่านั้น เพราะอันดับหนึ่งต้องยกให้กับรัสเซล 2000 ที่สร้างสถิติขาลงมากถึง 8.07% ตลอดสัปดาห์ ในขณะที่ดาวโจนส์ปรับตัวลดลง 4.58%
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดหุ้นอเมริกาตอนนี้กำลังเป็นการส่งสัญญาณบอกกับนักลงทุนว่าช่วงเวลาแห่งปารตี้ในปี 2022 จะไม่มีเหมือนกับสองปีที่ผ่านมา ถึงเทคโนโลยีจะหลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวัน และมีโอกาสเติบโตมากแค่ไหน แต่เมื่อมูลค่าของมันได้มาในฐานะตัวคานความเสี่ยงในช่วงโรคระบาด ก็อาจจะถึงเวลาแล้วที่นักลงทุนจะตื่นจากฝัน กลับไปอยู่ในโลกความเป็นจริง กลับมาลงทุนกับหุ้นกลุ่มพื้นฐาน และวัฐจักรมากขึ้น ทำให้หุ้นบลูชิพในดัชนีดาวโจนส์ได้รับผลกระทบน้อยมาก เมื่อเทียบกับหุ้นที่อยู่ในแนสแด็ก ยิ่งรัสเซล 2000 ที่ต้องพึ่งพาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ก็ยิ่งทำได้ยากขึ้นเมื่อการจ้างงานชะลอตัว
เราเคยวิเคราะห์ไปว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลง หุ้นกลุ่มแรกที่จะได้รับผลกระทบก่อนใครเพื่อนคือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ย การจะทำนโยบายการเงินให้ตึงตัวขึ้น คือสิ่งที่ลดสภาพคล่องในตลาดหุ้นออก และเมื่อสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ก็จะทำต้นทุนการซื้อหุ้นเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ความน่าสนใจหุ้นอเมริกาลดลง
ในความเห็นของเรา หุ้นที่มีความอ่อนไหวตามสภาพเศรษฐกิจจากนี้ไปจะเป็นหุ้นที่ทำผลงานได้อย่างโดดเด่น นั่นคือหนึ่งเหตุผลที่ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงาน ที่ในปีนี้ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 12.52% และเป็นหุ้นเพียงกลุ่มเดียวที่ในปีนี้ยังวิ่งอยู่ในแดนบวก แต่การที่ราคาหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นนั้น หมายถึงราคาน้ำมันและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย จึงสามารถเข้าใจได้ว่าที่หุ้นกลุ่มอื่นไม่สามารถขึ้นได้มาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากต้นทุนพลังงานที่มีราคาแพงขึ้น
การที่ตลาดหุ้นขับเคลื่อนไปด้วยกระแสการคาดการณ์ของตัวเอง ทำให้การประชุมครีั้งแรกของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในปี 2022 จึงถือว่าสำคัญมาก ผลการประชุมครั้งนี้จะเป็นตัวบอกใบ้ความเป้นไปได้ของแนวทางนโยบายการเงินตลอดทั้งปี 2022 ธนาคารชื่อดังต่างพากันออกมาคาดการณ์จำนวนครั้งที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ข้อมูลล่าสุดถึงกับบอกว่าเฟดอาจจะตั้งขึ้นอัตราดอกเบี้ยในทุกๆ ครั้งที่มีการประชุมในปีนี้เลยก็เป็นได้
นอกจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ นักลงทุนจะให้ความสนใจกับการรายงานตัวเลข GDP ของอเมริกาในวันพฤหัสบดี และการรายงานตัวเลขการบริโภคส่วนบุคคล ที่จะรายงานในวันศุกร์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งมาตรวัดเงินเฟ้อสำคัญของธนาคารกลางสหรัฐฯ อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือการรายงานผลประกอบการของบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น 3M (NYSE:MMM), IBM (NYSE:IBM), Intel (NASDAQ:INTC), Boeing (NYSE:BA), Caterpillar (NYSE:CAT) และ American Express (NYSE:AXP)
กลุ่มมหาอำนาจหุ้นเทคฯ ‘FAAMG’ ก็จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้ด้วยเช่นกัน ไมโครซอฟต์ (NASDAQ:MSFT) และแอปเปิล (NASDAQ:AAPL) จะรายงานในวันพรุ่งนี้และวันพฤหัสบดีตามลำดับ ในขณะที่เทสลา (NASDAQ:TSLA) จะรายงานในวันพุธที่ 26 มกราคม
สัปดาห์ที่แล้ว กราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีสามารถขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดที่ 1.9% ได้ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาวิ่งอยู่ที่ 1.76% เมื่อวันศุกร์
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค จุดที่กราฟอัตราผลตอบแทนฯ ลงมาวิ่งอยู่นั้นคือแนวรับที่บริเวณจุดสูงสุดของเดือนมีนาคม แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ที่ราคาอาจจะปรับตัวขึ้นต่อ หากเป็นเช่นนั้นจริง จะยิ่งกดดันหุ้นเทคฯ ให้ปรับตัวลดลง และหนุนหุ้นกลุ่มวัฐจักรให้ปรับตัวสูงขึ้น
สัปดาห์ที่ผ่านมาถือเป็นช่วงเวลาที่ดอลลาร์สหรัฐก็ผันผวนเช่นเดียวกัน
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถกลับขึ้นไปปิดในกรอบสามเหลี่ยมได้อีกครั้ง แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อดอลลาร์ เมื่อมีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
แต่ถึงดอลลาร์จะปรับตัวขึ้นเช่นไร ทองคำก็ยังสามารถสร้างขาขึ้นได้เป็นวันที่สองติดต่อกัน
หากวิเคราะห์ภาพรวมรายสัปดาห์ จะเห็นว่ากราฟทองคำได้สร้างกรอบสามเหลี่ยมสมมาตรขึ้นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว การฟอร์มตัวเช่นนี้หมายความว่านักลงทุนทั้งสองฝั่งมีแรงซื้อและขายอยู่ในระดับที่เท่าๆ กัน
ตลาดสินทรัพย์ทางเลือกที่น่าจับตาในขณะนี้ไม่มีตลาดไหนนอกจากบิทคอยน์อีกแล้ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้สร้างขาลงเพิ่มอีก 18.5%
แนวรับ $40,000 ที่แข็งแกร่งในที่สุดก็ไม่อาจต้านทานมรสุมข่าวร้ายที่ต้องพบเจอได้ การรวงลงมาครั้งนี้ยิ่งทำให้ภาพความเป็นไปได้ของ double-top ชัดเจนขึ้น ตอนนี้นักลงทุนต้องกลับมากังวลที่แนวรับ $30,000 อีกครั้ง หากสามารถหลุด $30,000 ลงมาได้จริง รูปแบบ double-top จะสมบูรณ์ และเปิดโอกาสให้ปรับตัวลดลงต่อไปยังระดับราคา $29,000 ต่อไป
การเพิ่มลดกำลังการผลิตน้ำมันทำให้ขาขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ที่ควรจะเป็น 4.88% ต้องลดลงมาเหลือ 1.57% เท่านั้น
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นมาเป็นวันที่ห้าติดต่อกัน ถึงแม้ว่าจุดปิดของแท่งสัปดาห์ล่าสุดจะอยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดในเดือนตุลาคม แต่จุดต่ำสุดและจุดสูงสุดของแท่งก็ยังถือว่ายกตัวสูงขึ้นอยู่ดี ถึคงจะเป็นการปรับตัวลดลง แต่ก็สามารถตีความได้ว่าสัปดาห์ที่แล้วอาจจะเป็นการย่อของขาขึ้นเพื่อตั้งเทรนด์ขาขึ้นต่อในสัปดาห์นี้
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EST)
วันจันทร์
03:30 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 57.4 เป็น 57.0
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะลดลงจาก 57.9 เป็น 57.7
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคบริการ: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 53.6 เป็น 53.9
19:30 (ออสเตรเลีย) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.8% เป็น 1.0%
วันอังคาร
04:00 (เยอรมัน) ดัชนีวัดความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจจาก Ifo: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 94.7
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขตวามเชื่อมั่นของผู้บริโภคจาก CB: คาดว่าจะลดลงจาก 115.8 เป็น 111.8
วันพุธ
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 744K เป็น 760K
10:00 (แคนาดา) การประชุมนโยบายการเงินและดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: สัปดาห์ที่แล้วออกมาที่ 0.515 ล้านบาร์เรล
14:00 (สหรัฐฯ) การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ
14:00 (สหรัฐฯ) แถลงผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน
วันพฤหัสบดี
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 0.8% เป็น 0.4%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสองเท่าจาก 2.3% เป็น 5.4%
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยที่รอการจำนอง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -2.2% เป็น 0.3%
วันศุกร์
04:00 (เยอรมัน) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลดลงจาก 1.7% เป็น -0.2%
วันเสาร์
20:00 (ประเทศจีน) ดัชนี PMI ภาคการผบิต: ตัวเลขครั้งก่อนออกมาอยู่ที่ 50.3%
20:45 (ประเทศจีน) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากมหาลัยไซซิน: ตัวเลขเดือนธันวาคมออกมาอยู่ที่ 50.9