Investment Ideas:
ภาพรวมการลงทุน: เราคาดว่า SET Index วันนี้ (4 ต.ค.) จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,540-1,575 จุด เราคาดว่า SET ฟื้นตัว ในลักษณะแรงซื้อกลับหลังวานนี้ (3 ต.ค.) ปรับลดลงกว่า 1.98% SET ปรับลดลงหลังสะท้อนปัจจัย ลบจากการที่ค่าสเปรดสัญญาสวอปการผิดนัดชําระหนี้ (Credit Default Swap: CDs) ที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมไปถึง ความกังวลต่อการประชุมเฟดนอกรอบเมื่อคืนที่ผ่านมา ซึ่งตลาดกังวลต่อการพิจารณาเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย ซึ่งจะนําไปสู่เศรษฐกิจถดถอยในระยะต่อไป อย่างไรก็ตามยังไม่มีสัญญาณเชิงลบใหม่ ขณะที่ SET ที่ปรับ ลดต่อเนื่อง ทําให้มีความน่าสนใจในเชิง Valutaion ระยะสันกลุ่มพลังงานกลับมามีความน่าสนใจ โดยคาดหมาย การประชุม OPEC+ วันที่ 5 ต.ค. จะมีการลดกําลังผลิตมากถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน สําหรับแผนการผลิตเดือน พ.ย. ทําให้หุ้นในกลุ่มพลังงานต้นน้ําน่าสนใจ โดยเฉพาะ PTTEP PTT (BK:PTT) และ BANPU อย่างไรก็ตามภาพรวมการ ลงทุนยังมีความเสี่ยง และมีโอกาสที่ SET จะผันผวนในกรอบขาลง จากการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร กลางทั่วโลก รวมไปถึงรายงานเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวในระยะสูง จะยิ่งเป็นปัจจัยเร่งการดําเนินนโยบายการเงิน กลยุทธ์การลงทุน หุ้นในพอร์ต 40% เลือก PTTEP BANPU BAFS BEM BDMS AWC CENTEL PTG SUSCO เป็นหุ้น เด่น - เราให้น้ําหนักหุ้นในพอร์ต 40% เพิ่มลดความเสี่ยงจากการดําเนินนโยบายการเงินที่เข้างวดมากขึ้นของเฟด Theme หุ้นที่น่าลงทุน กลุ่มพลังงาน เราเลือก PTTEP BANPU PTT BCP TOP SPRC หุ้นในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เราเลือก ASIAN SAPPE หุ้นในกลุ่ม Defensive เราเลือก BDMS BH INTUCH ADVANC หุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้า เราเลือก EA GULF BGRIM GPSC EGCO หุ้นในกลุ่มขนส่งในประเทศ เราเลือก BEM หุ้นเปิดเมือง เราเลือก AOT (BK:AOT) BAFS ERW AWC CENTEL PTG SUSCO ราคาน้ํามันดิบฟื้นตัว เรามองเป็นบวกต่อ PTTEP - สัญญาน้ํามันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ย. ปิดที่ 83.63 เหรียญต่อ บาร์เรล เพิ่มขึ้น 4.14 เหรียญ (+5.29%) ราคาน้ํามันดิบกลับมาฟื้นตัวอย่างมีนัยสําคัญ หลังมีความเป็นไปว่าการประชุม OPEC+ ในวันที่ 5 ต.ค. นี้ กลุ่ม OPEC+ จะมีแผนลดกําลังผลิตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เพื่อพยุงราคาน้ํามันในตลาด โดย Market Consensus คาดว่าการปรับลดกําลังผลิต สําหรับแผนการผลิตในเดือน พ.ย. จะสูงถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน (การประชุม OPEC+ วันที่ 6 ก.ย. มีมติลดกําลังผลิตลง 1 แสนบาร์เรลต่อวัน สําหรับแผนการผลิตเดือน ต.ค. 65) ซึ่งจะ เป็นการปรับลดกําลังผลิตครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2563 หรือนับตั้งแต่โรคโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด รวมไปถึงติดตาม รายงานปริมาณสํารองน้ํามันดิบของสหรัฐฯ จากทางสํานักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานในเวลา 21.30 น. ตามเวลาไทย ราคาน้ํามันดิบในเดือน ก.ย. ปรับลดลงกว่า 11% สะท้อนความกังวลต่อการดําเนินนโยบาย การเงินที่เข้มงวดทั่วโลก จะนําไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถตุถอย ซึ่งจะกระทบความต้องการใช้น้ํามันดิบ รวมไปถึงการแข็งค่า ขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นปัจจัยกดดันราคาน้ํามันดิบในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเรามองว่า ความเห็นของ คณะกรรมการเฟดที่เริ่มกลับให้ความกังวลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ อาจนําไปสู่การชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยใน อัตราเร่ง รวมไปถึงกลุ่ม OPEC+ ที่ยังมีเป้าหมายที่จะควบคุมราคาน้ํามันดิบ ไม่ให้ปรับลดลง เรามองเป็นบวกต่อราคา น้ํามันดิบ เลือก PTTEP BANPU PTT BCP TOP SPRC
• ประเด็นที่น่าติดตาม รายงาน CPI ญี่ปุ่น รายงานเงินเฟ้อของไทย การประชุม OPEC+ และตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ
- ตลาดหุ้นจีน หยุดการทําการ เนื่องในวันชาติจีน สิ้นสุด 7 ต.ค. (4 ต.ค.) ญี่ปุ่น - ดัชนี CPI ของโตเกียวที่ไม่รวมกลุ่ม สินค้าอาหารและพลังงาน เดือน ก.ย. /สหรัฐฯ - ยอดคําสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน เดือน ส.ค. และตําแหน่งงานว่างเปิด ใหม่จาก JOLTs เดือน ส.ค. (5 ต.ค.) ไทย - ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือน ก.ย. (คาด 6.7%yoy ลดลงจากเดือน ส.ค. ที่ 7.86%yoy) / สหรัฐฯ - ปริมาณสํารองน้ํามันดิบสหรัฐฯ จาก API และ IEA การประชุม OPEC+ ตัวเลข ดุลการค้า ดัชนี PMI รวมจาก S&P Global เดือน ก.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการ เดือน ก.ย. ดัชนี การจ้างงานนอกภาคการผลิตจากสถาบัน ISM เดือน ก.ย. และดัชนี PMI ภาคการบริการจากสถาบันไอเอสเอ็ม (ISM) เดือน ก.ย. (6 ต.ค.) - อังกฤษ - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการก่อสร้าง (Construction PMI) เดือน ก.ย. / ยูโรโซน - ดัชนียอดขายปลีก เดือน ส.ค. / สหรัฐฯ - จํานวนคนที่ยืนขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (7 ต.ค.) - ญี่ปุ่น - ดัชนีการ ใช้จ่ายภาคครัวเรือน เดือน ส.ค. และดัชนีการใช้จ่ายภาคครัวเรือน เดือน ส.ค. / จีน - ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน จากสถาบัน Caixin และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) นอกภาคการผลิตของจีน / อังกฤษ - ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยจาก สถาบัน Halifax ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยจากธนาคาร Halifax เดือน ก.ย. และดัชนีผลิตภาพแรงงาน / สหรัฐฯ - รายได้ เฉลี่ยต่อชั่วโมง เดือน ก.ย. รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง เดือน ก.ย. การจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือน ก.ย. อัตราการมี ส่วนร่วม เดือน ก.ย. การจ้างงานนอกภาคการเกษตรเอกชน เดือน ก.ย. และอัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. ปัจจัยทางเทคนิค - หุ้นแนะนําทางเทคนิค ได้แก่ © SISB (แนวต้าน 18.1-18.4 / แนวรับ 17.1-17.0/Stop loss 16.3) © ANAN (แนวต้าน 1.50-1.53 / แนวรับ 1.43-1.40 / Stop loss 1.36) QTC (แนวต้าน 5.00-5.10 / แนวรับ 4.76-4.74/Stop loss 4.52) SET ปรับลดลงเกือบ 296 ต้อนรับเดือน ต.ค. หลังธนาคารพาณซิย์จของไทยเริ่มทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และกังวล ต่อการที่เฟดจะมีการประชุมฉุกเฉิน - SET วานนี้ (3 ต.ค.) ปิดที่ระดับ 1,558.05 จุด ลดลง 31.46 จุด (-1.9896) มูลค่า การซื้อขาย 82,448.96 ล้านบาท (สูงสุด 1,592.72 จุด และต่ําสุด 1,556.73 จุด) SET ปรับลดลงมากกว่าภูมิภาค หลัง การดําเนินนโยบยการเงินของ ธปท. เริ่มส่งผ่านไปสู่กลุ่มธนาคาร หลังธนาคารพาณิชย์ (ยกเว้นธนาคารกรุงไทย) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง ทําให้เกิดความกังวลต่อการลงทุนในสินทรัพย์ เสียง ประกอบกับปัจจัยต่างประเทศ ที่มีความกังวลที่จะมีการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (ช่วงค่ํา 3 ต.ค.) เกี่ยวกับ การการปรับเปลี่ยนการดําเนินนโยบายการเงิน การกําหนด dot plot ใหม่ หลังรายงานตัวเลข PCE วันศุกร์ที่ผ่านมา สูงกว่าคาด
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Asia Wealth Securities