สรุป ราคาทองคําราคาทองคำ ช่วงเช้าชะลอการปรับตัวลง และเริ่มเห็นแรงซื้อเก็งกําไรเข้ามาบ้าง โดยปัจจัยพื้นฐานที่ช่วยจํากัด Downside ของราคาทองคํา คือ แนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของเฟด หลังวานนี้ รายงานการประชุมเดือนม.ค.ของเฟดซึ่งระบุว่า เฟดจะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปจนกว่าจะบรรลุ เป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องการยุติโครงการซื้อพันธบัตรและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่แรงซื้อทองคําก็ยังไม่มากนัก หลัง SPDR ลดการถือครองทองคําลงต่อเนื่อง โดยวานนี้(17 ก.พ.) SPDR ลดการถือครองทองคําลง -3.79 ตัน สู่ระดับ 1,132.89 ตัน โดยในปี 2021 กองทุน SPDR ถือครองทองคําลดลงแล้วถึง -37.85 ตัน ประกอบกับสภาวะตลาดขณะนี้ยังเป็นแนวโน้มการเปิดรับความเสียง (Risk On) จากความคาดหวังการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจ หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่เปิดเผยออกมาดีเกินคาด โดยเฉพาะตัวเลขยอดค้าปลีกที่ดีดขึ้นแกร่ง 5.3% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน จึงยิ่งกระตุ้นแรงขายสินทรัพย์ปลอดภัย จึงแนะนําติดตามการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในระยะนี้ เพือชี้นําตลาดเพิ่มเติม โดยวันนี้จะมีการเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตจากเฟดฟิลาเดลเฟีย จํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ การอนุญาตก่อสร้างและข้อมูลการเริมสร้างบ้าน ด้านปัจจัยทางเทคนิคประเมินว่า ความแข็งแกร่งของราคาทองคําและแรงซื้อน้อย ยังคงมีแรงขายทองคําเพื่อทํากําไรเมื่อราคาดีดตัวขึ้น ทําให้การลงทุนอาจต้องเป็นไปในลักษณะรอจังหวะการอ่อน ตัวลงของราคาค่อยเข้าซื้อบริเวณโซน 1,769-1,764 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ (ระดับตํ่าสุดเดือน พ.ย. 2020 และ ก.พ. 2021) หากยืนไม่ได้ให้ชะลอการเข้าซื้อออกไป
แนะนํากลยุทธ์การลงทุน เข้าซื้อเฉพาะเมื่อราคาปรับตัวลงมาในบริเวณแนวรับ 1,769-1,764 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุน 1,764 ดอลลาร์ต่อออนซ์) การขายทํากําไรอาจพิจารณาในโซน 1,795-1,803 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากผ่านให้ชะลอการขายทํากําไรออกไป
คำแนะนำ หากยังไม่สามารถผ่าน 1,795-1,803 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปได้อาจใช้วิธีการลดพอ ร์ตการลงทุนและสําหรับนักลงทุนที่เก็งกําไรฝั่งซื้อควรเน้นการลงทุนระยะสั้น และต้องตังจุดตัดขาดทุนไว้ล่วงหน้าให้ชัดเจน
บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International