ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2019
โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
การซื้อขายสกุลเงินหลักทุกตัวลดต่ำลงอย่างมากในวันอังคารเนื่องจาก ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ร่วงลงกว่า 400 จุด นักลงทุนมีความกังวลกับผลการตัดสินใจของประธานาธิบดีทรัมป์เกี่ยวกับภาษีที่จะใช้กับจีน ทำให้หุ้นและค่าเงินสกุลต่างๆ ลดต่ำลง นำโดย USD/JPY ถึงแม้ว่าจีนจะพยายามเจรจาต่อรอง แต่เมื่อเวลาที่กำหนดไว้ใกล้เข้ามา ทรัมป์ก็ยิ่งมีท่าทีเคร่งเครียดกว่าที่เคยเป็น โอกาสที่บรรลุการเจรจาด้านภาษีนั้นมีมากกว่า 50% และเมื่อประกาศอย่างเป็นทางการแล้ว หุ้นและสกุลเงินต่างๆ จะมีการปรับค่ากันใหม่อีกครั้ง ในวันอังคาร ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเมื่อเที่ยบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ (ยกเว้นเยนญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นสัญญาณของการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงซึ่งถือเป็นปัจจัยอ่อนไหวที่จะผลักดันแนวโน้มฟอเร็กซ์ตลอดสัปดาห์นี้
ดอลลาร์ออสเตรเลีย ยังคงยอมรับความเสี่ยงได้เนื่องจากเมื่อคืนวานธนาคารกลางออสเตรเลียไม่เปลี่ยนแปลง อัตราดอกเบี้ย ใน หมายเหตุประจำวันจันทร์ เราแย้งว่า RBA น่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งก็เป็นจริงตามที่คาด อย่างไรก็ตามไม่ว่าดอลลาร์ออสเตรเลียจะปรับตัวสูงขึ้น แถลงการณ์ของ RBA ก็ยังดูเป็นคำเตือนมากกว่าที่จะเป็นข่าวดี ธนาคารกลางกล่าวว่าเงินเฟ้อในไตรมาสเดือนมีนาคมต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้อย่างชัดเจน และยังต้องผลักดันกำลังการผลิตรวมทั้งอัตราจ้างงานที่เหลืออยู่ให้ไปถึงเป้าหมาย CPI ที่กำหนด โดยมีความไม่แน่นอนในประเทศที่สำคัญเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย แม้ว่า RBA จะยังไม่มีข่าวดีเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การซื้อขาย AUD ยังมีปริมาณสูงขึ้นเนื่องจากนักลงทุนเตรียมพร้อมสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย แต่จากแถลงการณ์ของ RBA มีความชัดเจนแล้วว่าธนาคารกลางยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจอยู่ แม้ว่า ยอดขายปลีก และ การซื้อขาย จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเหนือความคาดหมาย แต่ยังถือว่าลดลงจากเดือนก่อน ปริมาณการซื้อขายกับจีนที่ประกาศให้ทราบในช่วงเย็นวันอังคาร ในขณะที่ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่ามีสัญญาณที่จะเกิดเสถียรภาพ แต่ปริมาณที่เบาบางอาจส่งผลให้ AUD และ NZD ลดค่าลงอย่างรวดเร็วได้
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ ก็ไม่ต่างจาก RBA มากนัก เนื่องจากยังคงมีความกังวลในหลายๆ ด้าน นอกเหนือจากเรื่องที่ประธานาธิบดีทรัมป์ขู่ที่จะปรับภาษีเป็น 25% เป็นมูลค่าสินค้า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐกับสินค้าจากจีนในวันศุกร์นี้แล้ว สภาพเศรษฐกิจก็อ่อนลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่การประชุมเชิงนโยบายครั้งล่าสุด ตั้งแต่เดือนมีนาคม การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต มีปริมาณลดลง ตลาดแรงงาน, ภาคบริการ, กิจกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตและตลาดการเคหะอ่อนตัวลง ดุลการค้า สูงขึ้นมากแต่เงินเฟ้อต่ำลง เมื่อย้อนกลับไปในเดือนมีนาคม RBNZ ทำให้ตลาดต้องสั่นคลอนเมื่อออกมาประกาศว่าน่าจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่าปรับขึ้น เพราะดุลความเสี่ยงเริ่มเข้าสู่ขาลงเนื่องจากมีความอ่อนไหวของภาคธุรกิจลดลงที่สอดคล้องกับแนวโน้มจากทั่วโลก ทำให้ในขณะนั้น NZD/USD มีการเปลี่ยนแปลงในวันเดียวกันลดลงอย่างรุนแรงในรอบ 7 สัปดาห์และอาจตกต่อเนื่องไปมากกว่านั้นหากธนาคารกลางยืนยันท่าทีประนีประนอมเช่นนั้นต่อไป จากข้อมูลทางเทคนิค NZD/USD ยังอยู่ในช่วงขาลงและทรงตัวเพื่อจะลงไปยังแนวรับที่ 65 เซนต์
สำหรับ EUR/USD แนวต้านที่ 1.12 ยังคงเป็นไปได้ยากพอสมควรเนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของ lมูลค่าสินค้าภาคอุตสาหกรรม ของเยอรมันยังน้อยเกินไป ปริมาณการผลิตภาคอุตสาหกรรม ของเยอรมันที่ประกาศในช่วงเย็นวันอังคารและความเสี่ยงยังคงเป็นขาลงหลังจากที่มีการประกาศ ในขณะที่ ตัวเลข ดัชนี PMI จาก IVEY ของแคนาดาลดต่ำลงจึงไม่สามารถช่วย ดอลลาร์แคนาดา ที่ยังแข็งค่าอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเหนือ 1.34 ได้