รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ลุ้นจุดจบขาขึ้นดอกเบี้ยเฟด หนุนให้เงินบาทSideway Down ในเดือนมิถุนายน

เผยแพร่ 09/06/2566 14:51
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตลาดการเงินเคลื่อนไหวผันผวน ท่ามกลางแรงกดดันจากความกังวลปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ ซึ่งสุดท้ายสภาคองเกรสสหรัฐฯ ก็มีมติผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ได้สำเร็จก่อนเวลาที่กำหนด ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดกล้าที่จะกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นในช่วงปลายเดือน ทั้งนี้ เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้น +1.4% จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงตลาดกังวลปัญหาเพดานหนี้ และมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดหวังว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ

 

แม้ว่ามุมมองเงินบาท sideway down ของเราในเดือนก่อนหน้า จะผิดไปจากคาดมาก จากปัจจัยความไม่แน่นอนของการเมืองไทยและการกลับมาแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ตามการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและความต้องการถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แม้ว่าสหรัฐฯ จะเผชิญความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งปกติมักจะกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 

อย่างไรก็ดี ในสำหรับเดือนมิถุนายน เราขอมองอีกครั้งว่า เงินบาทมีแนวโน้มผันผวน Sideway Down (ทยอยแข็งค่าขึ้น) ในกรอบกว้าง 34.00-35.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีโซนแนวต้านสำคัญแถว 34.80-34.90 บาทต่อดอลลาร์ ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน และโซน 34.40-34.50 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับสำคัญ ซึ่งหากเงินบาทแข็งค่าหลุดแนวรับดังกล่าว ก็อาจแข็งค่าขึ้นต่อสู่ระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้

ทั้งนี้ เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่า สวนทางกับที่เราประเมินไว้ได้ หากเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายนนี้ หรือ เฟดอาจจะคงอัตราดอกเบี้ย แต่มีการส่งสัญญาณชัดเจน พร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อ ทำให้เงินดอลลาร์ กลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง นอกจากนี้ เรากังวลว่า บรรยากาศในตลาดการเงินปัจจุบัน อาจมองแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในมุมมองบวกมากเกินไป สะท้อนผ่านการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของตลาดหุ้นในฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ ที่นำโดยหุ้นกลุ่มเทคฯ ใหญ่ และหุ้นธีม AI ซึ่งล่าสุด ดัชนี VIX Index ที่สะท้อนความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงก่อนเกิด COVID ทำให้มีโอกาสที่ตลาดจะพลิกกลับมาปิดรับความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง หากมีปัจจัยมากดดัน และในภาวะปิดรับความเสี่ยงดังกล่าว เรามองว่า เงินดอลลาร์ก็อาจยังเป็นที่ต้องการของผู้เล่นในตลาดได้ เนื่องจากความได้เปรียบของการเป็นสินทรัพย์ “ยีลด์สูง”

นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงภายนอก อย่าง ทิศทางเงินดอลลาร์ เรามองว่า อีกความเสี่ยงภายนอกที่อาจทำให้คาดการณ์ของเราผิดไป คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งที่ผ่านมาแย่กว่าที่ตลาดคาดไปมาก กดดันให้เงินหยวนอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อทิศทางค่าเงิน EM Asia รวมถึงเงินบาทด้วยเช่นกัน (Correlation เงินหยวนกับเงินบาทสูงถึง 70%)

ส่วนปัจจัยเสี่ยงภายในที่อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าที่เราคาด คือ ความไม่แน่นอนของการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้นักลงทุนต่างชาติอาจกลับมาเทขายสินทรัพย์ไทยอีกระลอกได้

Fundamental Perspectives

ปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่าในระยะสั้นนี้ เรามองว่าจะมาจากปัจจัยนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางหลัก
1) เรามองว่า เฟดจะส่งสัญญาณ “จบรอบขาขึ้นดอกเบี้ย” ขณะที่ ธนาคารกลางหลักอื่นๆ จะยังส่งสัญญาณ “พร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อ” ส่งผลให้ เงินดอลลาร์มีโอกาสพลิกกลับมาอ่อนค่าลงอย่างชัดเจน โดยเรามองว่า แนวโน้มการชะลอตัวลงมากขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทิศทางอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลง โดยเฉพาะล่าสุด อัตราการเติบโตของค่าจ้างก็ปรับตัวลงชัดเจน กอปรกับ ภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวมากขึ้น จะทำให้เฟดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม FOMC เดือนมิถุนายนนี้ พร้อมกันนั้น เราคาดว่า เฟดจะส่งสัญญาณ “จบรอบ” การขึ้นดอกเบี้ยที่ชัดเจน ผ่านคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือ Dot Plot ล่าสุด

ส่วนธนาคารกลางหลักอื่นๆ อาทิ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง พร้อมกับย้ำจุดยืนเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ เพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลให้สกุลเงินหลัก อย่าง เงินยูโรและเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นได้

2) โฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ โดยเราประเมินว่า หากเฟดส่งสัญญาณจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยที่ชัดเจน ราคาทองคำก็มีโอกาสรีบาวด์ขึ้นทดสอบโซนแนวต้านแถว 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ สัญญาณเชิงเทคนิคัล ก็เริ่มสะท้อนว่า ราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งถ้าหากราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นได้ตามคาด เราคาดว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอทยอยขายทำกำไรและโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็อาจช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทได้

3) ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจเป็นฝั่งขายสุทธิน้อยลง โดยเราเริ่มเห็นสัญญาณการกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งหุ้น เนื่องจากระดับราคาหุ้นไทย ณ ปัจจุบัน ก็ยังไม่ได้แพงไป ส่วนคาดการณ์ผลประกอบการก็อาจทยอยปรับตัวดีขึ้นได้ ตามภาพเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติอาจยังไม่รีบกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง จนกว่าจะเห็นความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลและทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ส่วนฟันด์โฟลว์ในตลาดบอนด์นั้น เรามองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจรอจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น ในการทยอยเข้ามาซื้อ บอนด์ระยะกลาง-ระยะยาว เนื่องจากยีลด์เคิร์ฟของไทยยังมีความชันพอสมควร และหากธนาคารแห่งประเทศไทยจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไว้ที่ 2.00% บอนด์ยีลด์ 5 ปี และบอนด์ยีลด์ 10 ปี ไทยที่ระดับปัจจุบัน แถว 2.25%-2.30% และ 2.55%-2.60% ตามลำดับ ก็มีความน่าสนใจ อนึ่ง เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจใช้กลยุทธ์ Trading ในกรอบ (Buy on Dip, Sell on Rally) ทำให้ทิศทางฟันด์โฟลว์อาจไม่ได้ไหลเข้าต่อเนื่อง  

ส่วนปัจจัยฝั่งอ่อนค่าที่อาจกดดันค่าเงินบาทได้ คือ
1) Low Season ของการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเดือนมิถุนายน ยังคงเป็นช่วง Low Season จึงทำให้ เงินบาทขาดปัจจัยพื้นฐานสนับสนุน (การท่องเที่ยวจะเริ่มค่อยๆ กลับมาคึกคักมากขึ้น ในช่วงไตรมาสที่ 3 และเข้าสู่ช่วง High Season ใน ไตรมาสที่ 4) 

2) การฟื้นตัวเศรษฐกิจจีนที่อาจแย่กว่าคาด โดยหากเศรษฐกิจจีนยังฟื้นตัวได้ไม่ดี อย่างที่ตลาดคาดหวัง ก็อาจส่งผลเชิงลบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อสินทรัพย์จีน กดดันให้ตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นฮ่องกงเสี่ยงปรับฐานต่อ ขณะเดียวกัน ภาพดังกล่าวก็อาจกดดันให้เงินหยวนจีนอ่อนค่าต่อได้ไม่ยาก อย่างไรก็ดี เราคาดว่า รัฐบาลจีนและธนาคารกลางจีน (PBOC) ก็พร้อมที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเฟดจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยจริงดังคาด 

ในกรณีที่ PBOC ใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ตามที่เราคาดการณ์ไว้ เรามองว่า เงินหยวนมีโอกาสอ่อนค่าต่อได้ในระยะสั้น (อาจทดสอบโซน 7.15 หยวนต่อดอลลาร์) ก่อนที่จะพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นใกล้โซน 6.95-7.00 หยวนต่อดอลลาร์ หากผู้เล่นในตลาดมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีนอีกครั้ง ซึ่งเราควรจะเห็นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ อย่าง ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ รวมถึง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ปรับตัวดีขึ้น หรือ ออกมาดีกว่าคาด ส่วนตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นอ่องกงก็มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นขาขึ้นได้อีกครั้ง ทั้งนี้ เรามองว่า ในจังหวะที่เงินหยวนอ่อนค่าลง แม้จะกดดันเงินบาทได้บ้าง แต่เงินบาทก็อาจไม่ได้อ่อนค่าตามไปมากนัก (หากปัญหาการเมืองในประเทศไม่รุนแรง) ทำให้เรามองว่า เงินบาทมีโอกาสแข็งค่ากว่าเงินหยวน และแนะนำให้รอจังหวะ Buy on Dip เงินหยวน (CNY/THB) หากมีการปรับตัวลดลงใกล้ระดับ 4.80-4.85 บาทต่อหยวน 

Technical Perspectives

ในเชิงเทคนิคัล ทั้งสัญญาณจาก RSI และ MACD ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideway down หรืออาจทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง โดยเราประเมินว่า เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าทดสอบโซนแนวรับสำคัญแถว 34.40-34.50 บาทต่อดอลลาร์ได้ไม่ยาก ในขณะที่การรีบาวด์ (กลับมาอ่อนค่าลง) ของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ายังคงติดโซนแนวต้าน 34.80-34.90 บาทต่อดอลลาร์ อยู่ ซึ่งเราพบว่า บรรดาผู้ส่งออกต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์ในช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าใกล้โซนแนวต้าน และผู้เล่นบางส่วนที่มีสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อน) ก็อาจใช้จังหวะดังกล่าวในการขายทำกำไร บ้าง และหากพิจารณาการเคลื่อนไหวของเงินบาทรายวันผ่านกราฟแท่งเทียน จะเริ่มเห็นแท่งเทียน เช่น Shooting star หรือ Doji มากขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนถึงความลังเลของตลาดว่าเงินบาทจะอ่อนค่าต่อหรือไม่ ทำให้โอกาสที่เงินบาทจะพลิกกลับมาอ่อนค่าต่อเนื่องนั้นอาจเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก

Risk Factors to keep eyes on

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรติดตามในเดือนนี้ จะประกอบไปด้วย

1) ภาพเศรษฐกิจฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Markets) และแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลัก โดยในส่วนของดอกเบี้ยเฟด จะขึ้นกับรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI และผลการประชุมเฟดเดือนมิถุนายน ที่อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดปรับมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดได้

2) ความวุ่นวายของการเมืองไทย

3) ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน

และ

5) สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังทางการรัสเซียได้ส่งกำลังทหารเข้าในพื้นที่เพิ่มเติม สะท้อนการเตรียมการปฏิบัติการเชิงรุกอีกครั้ง ส่วนฝั่งยูเครนก็มีการเตรียมกำลังเชิงรุกเช่นกัน หลังทหารส่วนใหญ่ได้รับการฝึกฝนการใช้อาวุธจากฝั่ง NATO (source: UK Ministry of Defence)

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย