ปลดล็อคข้อมูลพรีเมียม: ส่วนลดสูงสุดถึง 50% InvestingProรับส่วนลด

ดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ราคาทองคำอาจเริ่มแกว่งตัว sideways down

เผยแพร่ 15/05/2566 08:34
GC
-

ปัจจัยภายนอกที่ควรจับตา คือ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ส่วนปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ ในประเด็นการเจรจาเพดานหนี้ (Debt Ceiling) และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก ก็อาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินได้เช่นกัน ในขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่อาจส่งผลต่อตลาดการเงินได้อย่างมีนัยสำคัญ คือ ผลการเลือกตั้งทั่วไป

**ราคาทองคำ = สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย.

FX Highlight

  • เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา และที่สำคัญดัชนี DXY ได้ปรับตัวขึ้นทะลุแนวต้าน 102.5 จุด ทำให้เงินดอลลาร์ยังคงมีโมเมนตัมฝั่งแข็งค่าอยู่ ซึ่งต้องจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญและปัจจัยการเมืองอย่างการเจรจาขยายเพดานหนี้
  • โดยเราคงมุมมองเดิมว่า upside ของเงินดอลลาร์จะมีไม่มากนัก เนื่องจากความกังวลปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ อาจกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงได้
  • อย่างไรก็ดี ถ้อยแถลงจากบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟด ก็อาจช่วยหนุนเงินดอลลาร์ได้บ้าง หากเจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนท่าทีใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวหรือยังคงกังวลแนวโน้มอัตราเงินเฟ้ออยู่
  • นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางของสกุลเงินหลักอื่นๆ อาทิ เงินยูโร (EUR) เงินปอนด์ (GBP)  และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ซึ่งในส่วนขอเงินเยนญี่ปุ่นอาจมีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่นออกมาสดใสหรือดีกว่าคาด ส่วนอัตราเงินเฟ้อ CPI ก็ยังอยู่ในระดับสูงหรือเร่งตัวขึ้น
  • อนึ่ง บรรยากาศในตลาดการเงิน (Risk Appetite/Sentiment) ก็อาจส่งผลต่อทิศทางเงินดอลลาร์ได้ โดยเงินดอลลาร์อาจยังเป็นที่ต้องการของตลาด หากตลาดผิดหวังกับรายงานผลประกอบการของหุ้นกลุ่มค้าปลีก อาทิ Home Depot, Walmart หรือกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้น (ข้อมูลเศรษฐกิจแย่กว่าคาด)
  • ในฝั่งปัจจัยภายใน จากผลการเลือกตั้งเบื้องต้น ณ 21.30 น. วันที่ 14 พ.ค.  พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลมีแนวโน้มได้เสียงรวมกันเกิน 250 เสียง ตามที่เราได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งในกรณีนี้ อาจเห็นนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นไทยมากขึ้นได้ในสัปดาห์นี้
  • ทั้งนี้ แม้ว่า เงินบาทอาจได้แรงหนุนจากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติหลังรับรู้ผลการเลือกตั้ง แต่สัปดาห์นี้ อาจมีโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติ (ยอดจ่ายปันผลอาจมากกว่า 300 ล้านดอลลาร์) ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าได้ 
  • นอกจากนี้ หากราคาทองคำย่อตัวลงทดสอบโซนแนวรับ ก็อาจมีโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่า
  • ในเชิงเทคนิคัล การอ่อนค่าลงของเงินบาทในสัปดาห์ก่อน ทำให้สัญญาณจาก RSI และ MACD เริ่มชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways up หรืออ่อนค่าลงได้บ้าง ซึ่งเรามองว่า แนวต้านสำคัญแรกคือ โซน 34.00 บาทต่อดอลลาร์ และมีเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน แถว 34.20 บาทต่อดอลลาร์ เป็นโซนแนวต้านถัดไป โดยเรามองว่า ผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจรอจังหวะเงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง ในการเพิ่มสถานะ Long THB ขณะที่ โซนแนวรับจะอยู่แถว 33.50 บาทต่อดอลลาร์

  Gold Highlight

  • ราคาทองคำอาจเริ่มแกว่งตัว sideways down และผู้เล่นในตลาดต่างก็ใช้จังหวะการรีบาวด์ใกล้โซนแนวต้านทยอยขายทำกำไร ทำให้การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำอาจเป็นไปอย่างจำกัดในระยะสั้น
  • อย่างไรก็ดี ต้องรอจับตา 1) ความคืบหน้าการเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ 2) รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ 3) ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด  และ 4) บรรยากาศในตลาดการเงิน
  • เราคงมุมมองเดิมว่า หากตลาดกังวลปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ มากขึ้น ก็อาจหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นได้ แต่การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำก็อาจยังคงถูกจำกัดอยู่
  • โดยเรามองว่า โซนแนวต้านของราคาทองคำอาจอยู่ในช่วง 2,060 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังผู้เล่นส่วนใหญ่ได้ทยอยเข้าซื้อสะสมทองคำ ในจังหวะที่ราคาทองคำย่อตัวลง โดยเฉพาะในช่วงโซน 1,990 ดอลลาร์ต่อออนซ์ 
  • นอกจากนี้ ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจาก RSI และ MACD ชี้ว่า ราคาทองคำอาจมีโอกาสแกว่งตัวลดลง sideways down แต่แนวรับก็อาจเริ่มขยับขึ้นมาแถว 2,020 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และโซนแนวรับถัดไป คือ 1,990 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นแนวเดียวกันกับเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน
  • เราคงเป้าราคาทองคำไว้ที่ 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้เรายังคงมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะราคาทองคำปรับฐานในการทยอยเข้าซื้อได้ โดยผู้เล่นอาจทยอยแบ่งไม้เข้าซื้อในโซนแนวรับ 1,980-1,990 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคาหลุดแนวรับถัดไปแถว 1,950 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ผู้เล่นในตลาดอาจชะลอการ เพื่อประเมินภาพตลาดอีกครั้ง

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย