รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ และ ติดตามรายงานดัชนี PMI บรรดาเศรษฐกิจหลัก

เผยแพร่ 23/01/2566 08:48
อัพเดท 09/07/2566 17:32
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นฝั่งเอเชียปรับตัวขึ้นได้ดี จากความหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถูกกดดันจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและรายงานผลประกอบการโดยรวมออกมาแย่กว่าคาด
  • ระวัง รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ และติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการของสหรัฐฯ, ยูโรโซน และญี่ปุ่น รวมถึงรอลุ้นรายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทจดทะเบียน อาทิ Microsoft, ASML และ Tesla (NASDAQ:TSLA) เป็นต้น

  • ระวังเงินดอลลาร์รีบาวด์ขึ้น หากตลาดเดินหน้าปิดรับความเสี่ยงต่อ (รายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ออกมาแย่กว่าคาด) หรือ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด อาทิ อัตราเงินเฟ้อ PCE ไม่ได้ชะลอลงตามคาด ทำให้ตลาดกลับมากังวลแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ส่วนเงินบาท แม้ว่าจะมีโอกาสแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็พร้อมผันผวนอ่อนค่าลง หากตลาดปิดรับความเสี่ยงและเงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้จริง ทั้งนี้ เงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญในช่วง 33.20 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ส่งออกบางส่วนต่างก็รอทยอยขายเงินดอลลาร์ ส่วนผู้เล่นต่างชาติก็รอจังหวะเพิ่มสถานะ Short USDTHB ตามความหวังการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว

  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    32.50-33.20
    บาท/ดอลลาร์

  • มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดประเมินว่า ภาวะตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งและตึงตัวจะช่วยหนุนการใช้จ่ายในภาคการบริการ ซึ่งจะสะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (S&P Global Services PMI) ในเดือนมกราคมที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 45 จุด นอกจากนี้ ภาคการบริการจะเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญที่ทำให้ในไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจขยายตัวได้ +2.6% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่ก็เป็นการชะลอลงของเศรษฐกิจจากที่โตได้กว่า +3.2% ในไตรมาสที่ 3 สะท้อนผลกระทบจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟด รวมถึงแรงกดดันจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ซึ่งในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้ดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม อาจปรับตัวลดลงสู่ระดับ 46 จุด อย่างไรก็ดี ไฮไลท์สำคัญที่ต้องจับตาใกล้ชิด คือ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ PCE ที่เฟดติดตาม โดยตลาดคาดว่า การปรับตัวลงของราคาพลังงานและโปรโมชั่นลดราคาสินค้า เพื่อระบายสต็อกในช่วงปลายปีที่ผ่านมา จะกดดันให้ อัตราเงินเฟ้อ PCE เดือนธันวาคม ชะลอลงสู่ระดับ 5.0% อย่างไรก็ดี แม้ว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE อาจจะชะลอลงสู่ระดับ 4.4% ตามภาพการชะลอลงของเศรษฐกิจโดยรวม ทว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับภาคการบริการและไม่รวมค่าเช่าบ้าน Core PCE Services ex. Housing Rents อาจไม่ได้ชะลอลงไปมากนัก ทำให้เฟดอาจยังคงกังวลว่าเงินเฟ้อชะลอลงช้าและจำเป็นต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในปีนี้ และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ อย่าง Microsoft, Tesla และ Chevron ซึ่งหากผลประกอบการบริษัทโดยรวมแย่กว่าคาด ก็อาจส่งผลให้บรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงต่อ (Risk-Off) ได้

    • ฝั่งยุโรป – ตลาดคาดว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) ของยูโรโซน เดือนมกราคมอาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ -20 จุด สะท้อนความหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจยูโรโซนที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากฤดูหนาวของยุโรปที่อุ่นกว่าปกติ ทำให้ยูโรโซนผ่านพ้นวิกฤตพลังงานไปได้ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นตัวดีขึ้น อาจช่วยหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการบริการได้เช่นกัน ซึ่งตลาดมองว่า ดัชนี PMI ภาคการบริการของยูโรโซน ในเดือนมกราคม อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.2 จุด อย่างไรก็ดี ภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงอาจกระทบต่อภาคการผลิตอุตสาหกรรมของยูโรโซนทำให้ ดัชนี PMI ในภาคการผลิตอาจอยู่ที่ระดับ 48 จุด สะท้อนภาวะหดตัวต่อเนื่องในภาคการผลิตอุตสาหกรรม นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงิน ECB รวมถึงรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน อาทิ ASML และบรรดาบริษัทสินค้าแบรนด์เนม

    • ฝั่งเอเชีย – ตลาดมองว่า ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นอาจยังคงหดตัวอยู่จากผลกระทบของการชะลอตัวเศรษฐกิจโลก สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตเดือนมกราคมที่ระดับ 49 จุด อย่างไรก็ดี ภาคการบริการของญี่ปุ่นมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่อง ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาคึกคักมากขึ้น หลังการเปิดประเทศ โดยดัชนี PMI ภาคการบริการอาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 52 จุดได้ในเดือนมกราคม

    • ฝั่งไทย – เราประเมินว่าระดับอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะยิ่งได้แรงหนุนจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย +25bps สู่ระดับ 1.50% ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตามุมมองของ กนง. ต่อแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินในอนาคตอย่างใกล้ชิด หลังผู้เล่นในตลาดบางส่วนเริ่มประเมินว่า กนง. อาจชะลอการขึ้นดอกเบี้ยลงได้ อนึ่งในภาพเศรษฐกิจ ตลาดมองว่ายอดการส่งออก (Exports) เดือนธันวาคม อาจหดตัว -11%y/y ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ส่วนยอดการนำเข้า (Imports) จะหดตัวราว -8.5%y/y ทำให้โดยรวมดุลการค้าอาจยังคงขาดดุลถึง -1.6 พันล้านดอลลาร์

    Weekahead carlendar

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย