หากไม่นับเรื่องสงครามรัสเซียยูเครน และความสามารถในการเติบโตของเงินเฟ้อทั่วโลก ที่นักลงทุนอย่างเราๆ ต้องให้ความสำคัญอยู่แล้ว สิ่งที่นักลงทุนต้องจับตาดูในสัปดาห์นี้การล็อกดาวน์มหานตรเซี่ยงไฮ้ของประเทศจีนเพราะการระบาดของโควิด และการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ของเดือนมีนาคม ที่จะเกิดขึ้นทันทีในวันศุกร์ที่ 1 เมษายนนี้เลย
เกือบลืมไปว่าก่อนที่จะมีการรายงานตัวเลข NFP ในวันศุกร์ นักลงทุนจะได้ทราบตัวเลขดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Index) ในวันพฤหัสบดีนี้ด้วย ซึ่งความสำคัญของตัวเลขดังกล่าวคือการเป็นหนึ่งในสี่มาตรวัดเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐ
มาเริ่มที่สถานการณ์ตลาดน้ำมันกันก่อน ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในช่วงเวลาเที่ยงวันของตลาดซื้อในสิงคโปร์เมื่อวานนี้ปรับตัวลดลง 2.6% มีราคาซื้อขายอยู่ที่ $114.14 ต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ก็ปรับตัวลดลง 3.1% มีราคาซื้อขายอยู่ที่ $110.39 แม้ว่าสัปดาห์ก่อนหน้านั้นจะปรับตัวขึ้นมาทั้งหมด 8.8% ในรายงานจากธนาคารเจพี มอร์แกนของสัปดาห์ที่แล้วระบุว่าแม้ราคาน้ำมันจะทรงตัวอยู่เหนือ $100 ต่อบาร์เรล มาตั้งแต่การเริ่มรุกรานยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่เห็นสัญญาณการทำลายอุปสงค์เกิดขึ้น
แม้แต่สินทรัพย์ที่ได้ชื่อว่าเป็นตัวคานความเสี่ยงสงครามและปัญหาเศรษฐกิจอย่างทองคำเมื่อวานนี้ก็ปรับตัวลดลงในตลาดซื้อขายฝั่งเอเชีย สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าที่จะส่งมอบในเดือนเมษายนบนตลาด COMEX ปรับตัวลดลง 0.5% มีราคาซื้อขายอยู่ที่ $1,944.10 ต่อออนซ์ ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าสัญญาซื้อทองคำฟิวเจอร์สปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.3%
ณ ประเทศจีน หลังจากที่มีสถิติการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้น นครเซี่ยงไฮ้ก็ได้ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ว่าจะล็อกดาวน์เมืองหลวงแห่งนี้ และจะแบ่งเฟสการทำงานเพื่อดำเนินการทดสอบ COVID-19 ในช่วงเก้าวันออกเป็นสองเฟส
เซี่ยงไฮ้ต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่มาเกือบหนึ่งเดือนแล้ว เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเป็นวันที่จำนวนผู้ป่วยรายวันสูงที่สุดนับตั้งแต่การระบาดครั้งแรกลดลง มีผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการรายใหม่ที่เซี่ยงไฮ้ตอนนี้ 2,631 ราย ซึ่งคิดเป็นเกือบ 60% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ ที่ไม่แสดงอาการทั้งหมดของจีนในวันนั้น และรวมผู้ติดเชื้อรายใหม่ 47 รายที่มีอาการ
ก่อนหน้านี้ ทางการเซี่ยงไฮ้ไม่เคยยินยอมให้มีการปิดเมืองในวงกว้าง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจภายในเมืองเสียหาย ประเทศจีนเลือกใช้วิธี "การแบ่งส่วนและแบ่งแยก" ที่เฉพาะกลุ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถคัดกรองย่านชุมชนใกล้เคียงได้ทีละแห่ง
ภายใต้คำสั่งใหม่ การขนส่งสาธารณะ บริการเรียกรถแท็กซี่ส่วนบุคคล ในพื้นที่เหล่านี้จะถูกระงับ รัฐบาลประกาศในแอปพลิเคชัน WeChat อย่างเป็นทางการ ภาครัฐระบุรายละเอียดลงไปถึงยานพาหนะที่ไม่ผ่านการอนุมัติ ซึ่งจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานบนท้องถนน นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า บริษัทและโรงงานทั้งหมดจะต้องหยุดการผลิต หรือทำงานจากสถานที่ต่างกันได้เท่านั้น ยกเว้นเอาไว้เพียงบริษัทที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอบริการสาธารณะหรือการจัดหาอาหาร
ในรายงานของเจพี มอร์แกนกล่าวว่าราคาน้ำมันดิบที่มีราคาสูงไม่ได้เป็นเพียงตัวเร่งเดียวในการทำลายอุปสงค์ของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เท่านั้น แต่วิกฤตการณ์ในยูเครน การคว่ำบาตรทางการเงินในรัสเซีย และการแพร่ระบาดของโอมิครอนในจีนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลโดยตรงต่อการใช้เชื้อเพลิงในประเทศจีน ความเสี่ยงนี้คาดว่าจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนจะหดตัวในเดือนมีนาคมและเมษายน จนต้องลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 2 ของจีนลง 1.1%
การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจีนทำให้เจพี มอร์แกนเชื่อว่าความต้องการน้ำมันภายในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2022 จะลดลง 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปรับลดตัวเลขนี้ลงอีก 500,000 บาร์เรลต่อวันในไตรมาสที่สามและสี่ สรุปก็คือเจพีเชื่อว่าความต้องการน้ำมันของจีนในปี 2022 จะหายไป 420,000 บาร์เรลต่อวัน
สำหรับสถานการณ์ในยุโรป JPM ประเมินว่าความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงอยู่ในระดับสูง นับตั้งแต่เริ่มสงครามรัสเซีย-ยูเครน นักเศรษฐศาสตร์ของเจพีได้ปรับลดการเติบโตในภูมิภาคนี้ลงกว่าร้อยละ 2 และเพิ่มการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อขึ้นเกือบร้อยละ 3
ด้วยเหตุนี้ JPM จึงปรับลดคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันยูเรเซียในปี 2022 ลง 270,000 บาร์เรลต่อวัน ความต้องการเชื้อเพลิงเครื่องบินของยูเรเซียจะลดลง 130,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เครื่องบินพลเรือนของรัสเซียประมาณครึ่งหนึ่งจะต้องถูกระงับเนื่องจากไม่สามารถละเมิดน่านฟ้าและการขาดแคลนชิ้นส่วนเครื่องบิน JPM ยังปรับลดความต้องการใช้น้ำมันของยุโรปโดยเฉลี่ยในปี 2022 ลง 160,000 บาร์เรลต่อวัน เพราะความอ่อนไหวที่ราคามีต่อความเสี่ยงสงคราม และความคาดหวังการเติบโตทางเศรษฐกิจในยุโรปที่ลดลง
ที่อเมริกาพบว่าข้อมูลการติดตามรถไมล์เดินทาง (VMT) ระหว่างปี 2018-19 เบี่ยงเบนไปจากแนวโน้มปี 2019 ถึงสองครั้งในปีนี้ ครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อการระบาดของโอมิครอนแพร่กระจายไปทั่วรัฐ และอีกครั้งเริ่มเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์หลังจากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น
อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ฝ่ายบริหารของโจ ไบเดนกำลังพิจารณาการปล่อยน้ำมันสำรองออกจากคลังยุทธศาสตร์ (SPR) อีกครั้ง ซึ่งรอบนี้อาจมีปริมาณมากกว่า 30 ล้านบาร์เรลเมื่อต้นเดือน รวมแล้ว สหรัฐอเมริกาและประเทศสมาชิกรายอื่นๆ ได้ปล่อยน้ำมันสำรองออกมาแล้วประมาณ 60 ล้านบาร์เรล
นาตาชา คาเนวา หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของเจพี มอร์แกนวิเคราะห์ว่า
"พวกเขา (รัฐ) มีความสามารถที่จะปล่อยน้ำมันสำรองออกมาได้มากกว่านี้ เฉพาะที่ของ IEA มีน้ำมันสำรองอยู่ประมาณ 1.5 พันล้านบาร์เรล แต่เพราะรัฐไม่เคยคิดที่จะนำมันออกมาใช้นอกจากสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น"
อีกหนึ่งประเด็นที่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญในสัปดาห์นี้คือการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือนมีนาคมของสหรัฐอเมริกา เพราะตัวเลขนี้จะเป็นตัวบอกใบ้ได้ว่านโยบายการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดต่อจากนี้จะรุนแรงขึ้น หรือเบาลง นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าตัวเลขในวันศุกร์ที่จะเพิ่มขึ้น 475,000 ตำแหน่ง หลังจากที่ตัวเลขของเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้น 678,000 ตำแหน่ง ค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้น 5.5% YoY และอัตราการว่างงานจะลดลง 3.7%
สำหรับการรายงานตัวเลขการบริโภคส่วนบุคคลที่จะมาก่อนตัวเลขการจ้างงานฯ นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขจะออกมาอยู่ที่ 5.5% ซึ่งอยู่สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของเฟด 2% แน่นอน หลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในวันที่ 16 มีนาคม เจอโรม พาวเวลล์ได้พูดชัดว่าพร้อมขึ้นดอกเบี้ยมากกว่านี้หากจำเป็น นั่นจึงทำให้จากนี้ไป ตลาดลงทุนจะให้ความสำคัญกับ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ราคาน้ำมันดิบ WTI และดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของทุกเดือน เพราะทั้งสี่ตัวเลขนี้คือตัวบ่งชี้เงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ใช้
นอกจากนี้รายงานตัวเลขเศรษฐกิจประจำสัปดาห์ก็จะมี รายงานตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ตัวเลขตำแหน่งงานเปิดใหม่ การจ้างงานในภาคเอกชน จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก และดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM นอกจากนี้จะมีถ้อยแถลงจากบุคคลในธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้แก่ จอห์น วิลเลียม ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก แพททริก ฮาร์กเกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดเฟีย ราฟาเอล บอสติค ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า และโทมัส บาร์กิ้น ประธานเฟดสาขาริชมอนด์