เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเอสแอนด์พี 500 และดาวโจนส์สามารถวิ่งกลับขึ้นมาปิดบวกได้อย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้ว่าผลงานทั้งสัปดาห์จะกลายเป็นการปิดติดลบครั้งแรกในรอบสามสัปดาห์ บางคนมองว่าขาลงครั้งนี้คือความสิ้นหวัง แต่ก็ยังมีคนที่คิดว่าเพียงความผันผวนที่ดีดกลับขึ้นมาในวันศุกร์ ก็มากพอที่จะเป็นความหวังให้นักลงทุนได้กลับไปปิดบวกก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มการลดอัตราดอกเบี้ยจริงๆ
กลยุทธ์การช้อนซื้อจะยังใช้ได้หรือไม่หากเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้ันมาจริงๆ?
ภาพรวมดัชนีหลักของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เริ่มต้นปี 2022 มาจนถึงปัจจุบัน ปรากฎว่าดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลงมาจากจุดสูงสุดตลอดกาล 7.01% ซึ่งถ้าไม่นับขาขึ้นที่ดีดตัวกลับขึ้นไปนั้น เท่ากับว่าเอสแอนด์พีร่วงลงมาแล้วทั้งหมด 9.8% สัปดาห์ที่แล้วยังถือว่าโชคที่ดีดัชนีสามารถกลับมาปิดสัปดาห์เป็นบวกได้ 0.77% เพราะขาขึ้นในวันศุกร์เพียงวันเดียวสามารถขึ้นมาได้ทั้งหมด 2.43%
ดัชนีตัวถัดมาคือดาวโจนส์ ตั้งแต่ต้นปี 2022 มาจนถึงปัจจุบัน ดาวโจนส์ร่วงลงมาจากจุดสูงสุดในวันที่ 4 มกราคมแล้ว 7.17% แต่เพราะแรงดีดกลับขึ้นมา 1.34% ในสัปดาห์ที่แล้ว จึงทำให้ภาพรวมของดาวโจนส์คือการติดลบ 5.63% ในขณะที่ดัชนีวัดมูลค่าบริษัทขนาดเล็กถึงกลางอย่างรัสเซล 2000 กลับปิดติดลบมากที่สุดถึง 19.41% จากจุดสูงสุดล่าสุด ดีดตัวกลับขึ้นมา 1.26% ในวันศุกร์จนทำให้ภาพรวมตลอดทั้งสัปดาห์ที่แล้วสามารถกลับมากลายเป็นบวกได้ 0.98%
ดัชนีที่คนพูดถึงมากที่สุดคือดัชนีที่เคยสร้างขาขึ้นอย่างยอดเยี่ยมมาตลอดสองปีล่าสุด ‘แนสแด็ก’ ดัชนีดังกล่าวปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ด้วยการทำขาขึ้น 3.13% กู้สถานการณ์ให้ภาพรวมตลอดทั้งสัปดาห์สามารถกลับมาปิดบวกได้ 0.11% แต่หากนับจากจุดสูงสุดในวันที 10 พฤศจิกายนปี 2021 มาจนถึงปัจจุบัน จะพบว่าแนสแด็กร่วงลงมาแล้วทั้งหมด -12.71%
ถามว่าภาพรวมของดัชนีหลักทั้งสี่กำลังบอกอะไรกับตลาดลงทุน? เราให้คำตอบได้สองประการ
1.) ดัชนีที่เคยเติบโตมากที่สุดของปี 2021 อย่างรัสเซล 2000 และแนสแด็กในวันนี้กลับเป็นสองดัชนีที่ร่วงลงหนักที่สุด
2.) ถึงแม้ว่าดาวโจนส์และรัสเซล 2000 จะได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์เหมือนกัน แต่เพราะดาวโจนส์มีสัดส่วนของหุ้นยักษ์ใหญ่มากกว่า และบริษัทเหล่านั้นก็สามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า จึงช่วยดึงมูลค่าของดัชนีดาวโจนส์ให้กลับขึ้นไปได้มากกว่า เมื่อเทียบกับรัสเซล 2000 ที่มีแต่บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง
อีกหนึ่งคำถามสำคัญที่เรามองว่านักลงทุนควรตอบตัวเองให้ได้โดยเร็วที่สุดคือการดีดตัวกลับมาในวันศุกร์ที่แล้ว สมควรพิจารณาว่าเป็นโอกาสเข้าช้อน อย่างที่เคยเกิดขึ้นมาตลอดในปี 2021 หรือไม่ ในวันที่สถานการณ์เปลี่ยนไปจากกลายผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน เป็นความเป็นไปได้ที่อาจมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4-5 ครั้งภายในปี 2022 ด้วยเหตุผลข้อนี้ จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล และเป็นไปได้หากตลาดหุ้นในปีนี้จะวิ่งไม่เหมือนกับปี 2021 อีกแล้ว
หากพิจารณาเป็นการได้ผลตอบแทนเป็นทวีคุณ ตอนนี้ดัชนีเอสแอนด์พี 500 มีมูลค่าผลตอบแทนทวีคุณอยู่ที่ 19.5 เท่า ลดลงมาจาก 22 เท่าที่เคยทำได้ในช่วงปลายเดือนธันวาคม ตัวเลข 19.5 เท่านี้ลงมาใกล้กับค่าเฉลี่ยในรอบห้าปีแล้วที่ 18.5 เท่า นักวิเคราะห์บางสำนัก (รวมถึงบาร์เคลย์) จึงยังไม่เชื่อว่าแรงขาลงที่อยู่กับตลาดตอนนี้เป็นโอกาสเข้าซื้อ และพวกเขาเชื่อว่ายังมีโอกาสที่ดัชนีหลักจะลงไปอีก 8% จากระดับราคาในปัจจุบัน
หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกมาตอกย้ำถึงการทำนโยบายการเงินให้มีความตึงตัวมากขึ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลก็ดีดตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ขานรับความเป็นไปได้ในการขึ้นอัตราดอกเบี้่ย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนและหนี้ของบริษัทมีตัวเลขที่แพงขึ้น และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมนักลงทุนจึงไม่อยากลงทุนกับหุ้นที่มีราคาสูงในช่วงที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
การที่นักลงทุนพยายามหลีกเลี่ยงตลาดหุ้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น ณ ตอนนี้กราฟอัตราผลตอบแทนฯ อยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2019 และจากลักษณะการพักฐานของกราฟตอนนี้ (รูปแบบธงหลังจากสามเหลี่ยมสมมาตร) เป็นไปได้ที่อัตราผลตอบแทนฯ 10 ปีกำลังเตรียมพร้อมที่จะสร้างขาขึ้นต่อไป
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐขยับขึ้นสร้างจุดสูงสุดใหม่ในแนวโน้มขาขึ้น ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่จุดต่ำสุดในช่วงต้นเดือนมกราคมปี 2021 ขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2020 การแข็งค่าของดอลลาร์ส่งให้ราคาโลหะมีค่าอันดับหนึ่งของโลกอย่างทองคำต้องร่วงลง 3.74% จนตอนนี้ราคาทองคำก็กำลังทดสอบกับแนวรับเทรนด์ไลน์ขาขึ้น ที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดเดือนสิงหาคมปี 2021
ราคาทองคำมีภาพรวมเป็นสามเหลี่ยมรูปสมมาตรมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2020 ดังนั้นเทรนด์ไลน์เส้นนี้จึงเป็นเหมือนจุดตัดสินแนวโน้มของราคาทองคำไปในตัว ที่นับวันใกล้จะถึงจุดระเบิดแล้ว
ราชาแห่งสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์ยังไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นตัวกลับมาเป็นขาขึ้นได้เมื่อไหร่ ขาขึ้นครั้งล่าสุดก็ยังไม่มีลักษณะใดที่ทำให้คิดว่ากำลังจะกลายเป็นแนวโน้มขาขึ้นได้เลย
จากพฤติกรรมในอดีต ขาขึ้นเล็กๆ ของบิทคอยน์ในปี 2022 มีแต่จะนำมาซึ่งขาลงรอบใหม่ ดังนั้นตอนนี้เรายังคงเชื่อมั่นในภาพรวมนั้น และคิดว่าขาขึ้นรอบล่าสุดก็ไม่ต่างกัน
ไมค์ เวิร์ธ CEO ของบริษัทเชฟรอน (NYSE:CVX) เป็นคนล่าสุดที่ออกมาบอกว่ามีความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นน้ำมันที่ระดับราคา $100 ต่อบาร์เรล นี่คือคำพูดของเราหลังรายงานผลประกอบการของบริษัทเมื่อวันศุกร์ออกมาน่าผิดหวัง ทั้งในแง่ของมูลค่าหุ้นและผลกำไร เท่ากับว่าในช่วงที่ราคาน้ำมันแพงนี้ เชฟรอนไม่สามารถหากำไรในช่วงเวลาดังกล่าวได้มากเท่าที่ควร
รายงานผลประกอบการดังกล่าวทำให้หุ้นเชฟรอนร่วงลงมา 3.5% จากจุดสูงสุดตลอดกาล เมื่อพิจารณาการฟอร์มตัวของรูปแบบแท่งเทียน จะเห็นว่าหุ้นเชฟรอนกำลังสร้างรูปแบบดาวตก (Evening Star) ซึ่งเป็นรูปแบบแสดงถึงการเปลี่ยนเทรนด์รูปแบบหนึ่ง ยิ่งแท่งที่สามสามารถลงไปสร้างจุดต่ำสุดได้ต่ำกว่าแท่งเทียนขาขึ้นใหญ่ก่อนหน้า ยิ่งเพิ่มน้ำหนักให้กับโอกาสการเปลี่ยนเทรนด์ของหุ้นเชฟรอน
ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ แต่ก็ยังไม่สามารถขึ้นยืนเหนือแท่งเทียนกลับตัวในวันที่ 19-20- มกราคมได้ ยิ่งสร้างจุดสูงสุดในระดับที่ใกล้เคียงกับขาขึ้นครั้งก่อนได้มากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าแนวโน้มขาขึ้นกำลังชะลอตัว
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EST)
วันจันทร์
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะลดลงครึ่งหนึ่งจาก 7.3% เป็น 3.9%
22:30 (ออสเตรเลีย) การประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง: คาดว่าจะคงที่ 0.10%
วันอังคาร
03:55 (เยอรมัน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่ 60.5 จุด
03:55 (เยอรมัน) รายงานตัวเลขการว่างงาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -23K เป็น -8K
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการผลิต: คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 56.9 จุด
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะลดลงจาก 0.8% เป็น 0.4%
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะลดลงจาก 58.7 เป็น 57.5 จุด
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขตำแหน่งงานที่เปิดว่างจาก JOLT: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 10.562M เป็น 11.075M
วันพุธ
05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 5% เป็น 4.3%
08:15 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานฯ จากภาคเอกชน ADP: คาดว่าจะลดลงจาก 807K เป็น 208K
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะออกมาอยู่ที่ 2.377 ล้านบาร์เรล
วันพฤหัสบดี
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการบริการ: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 53.3 เป็น 53.5 จุด
07:00 (สหราชอาณาจักร) การประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางฯ: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.25% เป็น 0.50%
07:45: (ยูโรโซน) การประชุมอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางฯ: คาดว่าจะคงที่ 0.00%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก: คาดว่าจะลดลงจาก 260K เป็น 245K
08:30 (ยูโรโซน) ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางยุโรป
10:00 (สหรัฐฯ) ดัชนี PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจาก ISM: คาดว่าจะลดลงจาก 62.3 เป็น 59.3 จุด
วันศุกร์
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนี PMI ภาคการก่อสร้าง: คาดว่าจะคงที่ 54.3 จุด
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร: คาดว่าจะลดลงจาก 199K เป็น 155K
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขอัตราการว่างงาน: คาดว่าจะคงที่ 3.9%
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลขอัตราการจ้างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก 54.7K เป็น -125.0K
หมายเหตุ: สัปดาห์นี้จะเป็นวันหยุดยาวของประเทศจีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้เนื่องในวันตรุษจีน