Cyber Monday Deal: ลดสูงสุด 60% InvestingProรับส่วนลด

จัดพอร์ตการลงทุนสไตล์ NETFLIX 

เผยแพร่ 13/07/2564 09:22

ผมเคยได้ยินคนพูดถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เหมือนใครของ NETFLIX

ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินเดือนพนักงานสูงๆ ไม่กำหนดจำนวนวันลาพักร้อน นั่งเครื่องบินชั้น business class ได้ พนักงานตัดสินใจเซ็นต์งานหลักล้านเหรียญเองได้เลย ไม่ต้องรอเจ้านายระดับสูง

ตอนแรกก็ไม่ค่อยเข้าใจมากนัก จนกระทั่งได้อ่านหนังสือที่มีชื่อว่า

“No RULES RULES” หรือ กฎที่นี่ คือ ไม่มีกฎ

เขียนโดย Reed Hastings ผู้ก่อตั้งและ CEO NETFLIX

อ่านจบ ได้ไอเดียมาประยุกต์ใช้กับการจัดพอร์ตลงทุนสไตล์ NETFLIX ได้ออกมาแบบนี้ครับ

1️. Talent Density, Talented People

หัวใจสำคัญที่สุดของ NETFLIX คือ เป็นบริษัทที่อุดมไปด้วยคนเก่ง เพราะเวลาคนเก่งทำงานด้วยกัน ทำให้มีไฟ แลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา โดยวิธีการได้คนเก่งมาคือ ยอมจ่ายเงินเดือนชนเพดานของอุตสาหกรรม และให้เป็นตัวเงินเดือนเลย ไม่ใช่ต้องไปลุ้นโบนัสปลายปีเอา เพราะเชื่อว่าคนเก่งที่จ้างมา จะทำรายได้เพิ่มให้บริษัทหลายเท่าตัว

ในแง่ของการจัดพอร์ตหุ้น เราก็ต้องเลือกแต่หุ้นที่เก่งเข้าพอร์ต ตัวไหนไม่ดี ไม่เก่ง อย่าไปเอาเข้ามา มองที่คุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ ถึงแม้หุ้นบางตัวราคาจะขึ้นไปพอสมควรแล้ว แต่ถ้าเป็นหุ้นที่ดีจริง ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง มีโอกาสเป็น super stock ได้ในอนาคต ถ้าประเมินมูลค่าดีแล้ว ถามตัวเองเหมือน NETFLIX ชอบถามว่า คนนี้ใช่คนที่ต้องการหรือเปล่า เราก็ถามว่า หุ้นตัวนี้ใช่ตัวที่จะมาเปลี่ยนพอร์ตเราหรือเปล่า ถ้าใช่ก็อย่าไปเกี่ยงราคามากเกินไป รีบซื้อเข้าพอร์ตให้ไว

2️. Gets rewarded, Promoted, or Let go

NETFLIX บอกว่า ถ้าคนไหนทำงานดีก็พร้อมจะเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้ ถ้าสำรวจแล้วพบว่าในตลาดมีคนได้เงินเดือนสูงกว่านี้ ก็พร้อมที่จะขึ้นเงินเดือนให้พนักงานตำแหน่งเดียวกันทันที แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าคนไหนไม่ perform ทำงานไม่ดี ก็พร้อมที่จะจ่ายเงินอย่างดีและให้ออกจากบริษัทเช่นกัน

NETFLIX ใช้คำว่า “Keeper Test” เอาไว้ให้หัวหน้างานพิจารณาว่า ถ้ามีลูกน้องมาขอลาออก ให้ถามตัวเองว่าเราอยากจะยื้อเค้าไว้ หรือว่าไม่เป็นไร ปล่อยไป และขอให้โชคดี ถ้าคำตอบคืออย่างหลัง ก็ให้เค้าออกไป และหาคนใหม่ที่เก่งกว่าเข้ามาแทน เพื่อที่ว่าสุดท้ายก็จะเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยคนเก่ง

ในแง่ของการจัดพอร์ต เราก็ต้องหมั่นทำ Keeper Test สำรวจหุ้นสม่ำเสมอ ถามตัวเองว่าหุ้นตัวนี้เราต้องการอยู่มั้ย ตัวไหนดีเก็บไว้ ตัวไหนไม่ดีก็รีบขายทิ้งออกไป แล้วมองหาหุ้นตัวใหม่เข้าพอร์ตมาแทน เก็บแต่หุ้นที่มีคุณภาพสูงไว้ตลอดเวลา

3️.We are Pro Sport Team, not family

หลายบริษัทมักบอกว่า เราอยู่กันแบบครอบครัว รักกันเหมือนพี่เหมือนน้อง ในมุมหนึ่งก็ดูดีจะได้ทำงานกันได้แบบราบรื่นสมานฉันท์และมีความสุขในที่ทำงาน แต่ NETFLIX บอกว่า ปัญหาคือ เราจะไม่กล้าว่าพี่น้องเราถ้าทำงานพลาด หรือไม่มีทางไล่เค้าออกถ้าทำงานพัง

เพราะฉะนั้น NETFLIX เลยใช้วิธีการทำงานแบบทีมกีฬามืออาชีพแทน คือ ใครซ้อมดี ฝีมือดี ได้ลงเล่น แต่ถ้าใครเล่นไม่ดีเปลี่ยนตัวได้ และคอยมองหาผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีฝีมือเข้าทีมได้ตลอดเวลา เหมือนการซื้อขายนักกีฬา อาจจะฟังดูโหดร้ายซักหน่อย แต่ก็ทำให้ทีมมีแต่คนเก่ง

ในแง่ของการลงทุน ถ้าเรามองเป็นครอบครัว เราก็อาจจะหลงรักหุ้นบางตัวได้ บางตัวถือมาหลายปี บางตัวชอบแบรนด์ บางตัวเชอบเจ้าของอ้วนๆ ทำให้ไม่ยอมตัดใจขายแม้ธุรกิจจะเริ่มไม่ดี แต่ถ้าเรามองเป็นทีมกีฬา ทีมฟุตบอล ก็จะทำให้เราลดอคติ และตัดสินใจลดพอร์ต เปลี่ยนตัวหุ้นได้ตามผลงานจริงๆ

4️. 4A & 360 Degree Feedback

NETFLIX มีวัฒนธรรมการให้ feedback กันตรงๆ และต่อหน้า บางทีพูดกันในห้องประชุมคนเยอะๆ เลยก็ได้ แต่ว่าก็จะมีหลักการของ 4A คือ

การให้ Feedback ด้วย Aim to Assist และ Actionable แปลว่า ให้ด้วยเจตนาที่ดี ต้องการช่วยเหลือ ไม่ได้อยากตำหนิ และ feedback ที่ให้ก็ต้องเอาไปปรับเอาไปทำต่อได้ด้วย

การรับ Feedback ด้วย Appreciate และ Accept or Discard แปลว่า เราอย่าไปตั้งแง่ หรือปกป้องตัวเอง เวลาใครมา feedback เราต้องรู้สึกขอบคุณเค้า รับฟัง และสุดท้ายก็เลือกเองว่าจะเอาไปใช้หรือไม่ใช้

การ feedback ไม่ได้จำกัดแค่ one on one หรือคุยกันแค่สองคน แต่เราอาจให้เป็น 360 องศา คือ จากทุกคนที่ทำงานด้วยเลยก็ได้ โดยวิธีการก็จะให้บอก Start, Stop, Continue คือ feedback ว่าเราควรเริ่ม ควรหยุด หรือควรทำอะไรต่อเนื่อง เราก็จะได้เข้าใจภาพชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรต่อ

ในแง่ของการลงทุน เราก็ควรไปถามหา feedback กับเพื่อน ไปอ่านข่าว ไปอ่าน webboard อ่านบทวิเคราะห์ ดูว่าคนอื่นเค้ามองยังไงกับหุ้นที่เรามี ทั้งในแง่บวกและลบ โดยไม่ต้องไปตัดสิน ไม่ต้องไปโกรธ หรือไม่ต้องไปเห็นด้วย เพื่อที่จะได้เอาข้อมูลทั้งหมดมาพิจารณาเองว่า เราจะทำอย่างไรกับหุ้นที่เรามี เราจะ stop มั้ย หรือเราจะ continue ถือต่อหรือซื้อเพิ่มอีก

5️. Lead with Context not Control

หลายบริษัท เจ้านายมักชอบควบคุม หรือบอก 1,2,3 ให้ลูกน้องทำตาม แล้วคอยติดตามผลงาน ถ้าต้องเซ็นต์เอกสารก็จะเป็นคนเซ็นต์เอง เป็นโครงสร้างแบบปิรามิด ที่ CEO อยู่บนยอดสูงสุด แต่ที่ NETFLIX จะปล่อยให้ลูกน้องตัดสินใจเอง โปรเจ็คต์เป็นล้านเหรียญก็เซ็นต์เองได้ เจ้านายมีหน้าที่สร้างบริบทให้เข้าใจตรงกัน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายเดียวกัน เป็นการทำงานแบบรากไม้ ที่ CEO อยู่โคนรากข้างล่างสุด

ในแง่ของการจัดพอร์ต บางครั้งเราเองคอยกำหนด ควบคุม หุ้นในพอร์ตมากเกินไปหรือเปล่าว่า ต้องมีสภาพคล่องเท่านี้ D/E ห้ามเยอะ ROE ต้องเพิ่ม กำไรห้ามตก แล้วก็คัดหุ้นเข้าพอร์ตมาตามเกณฑ์ แต่บางครั้งก็อาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไปเพราะบางบริษัทอาจสะดุดชั่วคราว บางบริษัทหนี้เยอะแต่เป็นหนี้ที่ดี เป็นต้น

แปลว่า อาจจะดีกว่าถ้าเรากำหนดด้วยบริบท กำหนดด้วยกรอบของหุ้นที่เราสนใจว่ากลยุทธ์การเติบโตมาถูกทางหรือเปล่า ดูที่เหตุ ที่ปัจจัยเป็นหลัก แล้วก็ปล่อยวาง ไม่ต้องไปควบคุมอัตราส่วนทางการเงินทุกอย่าง ไม่แน่ว่าสุดท้ายอาจจะส่งผผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็ได้

6. ถ้าสำเร็จให้ฉลอง ถ้าผิดพลาดส่องดูให้ชัด (sunshine it)

ที่ NETFLIX คุณจะไม่โดนไล่ออก ถ้าคุณทำงานพลาด แต่ทุกครั้งที่ผิด ต้องเรียนรู้ ว่าผิดตรงไหน เพราะอะไร และแจ้งให้กับทีมงานทราบ เพื่อเรียนรู้ แก้ไข และทำให้โครงการต่อไปดีกว่าเดิม เขาถึงเรียกว่าให้สาดแสงให้ sunshine ออกมาให้ชัดเจน

ในแง่ของการลงทุน หุ้นตัวไหนเราขาดทุน ซื้อหุ้นผิดพลาด ขายหุ้นผิดพลาด ก็ควรจะจดบันทึกแบบละเอียด เพื่อนำมาเรียนรู้เช่นกัน เราจะเก็บเป็นบันทึกส่วนตัวก็ได้ หรือเราจะแชร์ให้คนอื่นรู้ด้วยก็ดี เผื่อว่าจะได้ feedback ดีๆ หรือมุมมองของคนที่มีประสบการณ์เข้ามาได้อีก

โดยสรุป การจัดพอร์ตลงทุนสไตล์ NETFLIX สำหรับผม คือ

พอร์ตต้องเต็มไปด้วยหุ้นที่เก่ง เลือกหุ้นแบบทีมกีฬา ตัวไหนเก่งซื้อเข้ามาอยู่ในทีม ตัวไหนไม่เก่งไม่ให้ลงเล่น หาทางรีบขายออกไป ถึงแม้จะขาดทุนก็ต้องทำ

เวลาพิจารณาหุ้น ให้มองภาพใหญ่ มองกลยุทธ์ มองเหตุ มองปัจจัย มากกว่าไปจดจ้องแต่ภาพเล็ก หรือการขึ้นลงของราคาจนมากเกินไป

ที่สำคัญต้องรับฟัง feedback จากคนรอบข้างสม่ำเสมอ และจดบันทึกข้อผิดพลาดของตัวเอง เพื่อที่จะได้รู้ตัวว่า

เราต้อง start, stop และ continue อะไร เพื่อให้พอร์ตการลงทุนเติบโตอย่างยั่งยืน

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกทาง Stock Vitamins - วิตามินหุ้น

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย