🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

เมื่อ RBNZ และ BoE เริ่มปรับนโยบายทางการเงิน แล้วเฟดจะลงมือเมื่อไหร่?

เผยแพร่ 28/05/2564 11:51
EUR/USD
-
GBP/USD
-
USD/JPY
-
AUD/USD
-
EUR/GBP
-
CAD/USD
-
CL
-

นอกเหนือจากผลการประชุมของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) รายงานตัวเลข GDP และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ จะเห็นได้ว่าสัปดาห์นี้ไม่ได้มีข่าวสำคัญอะไรที่มาทำให้ตลาดลงทุนมีความเคลื่อนไหวมากนัก ที่ฝั่งยุโรป สกุลเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อวานนี้หลังจากนาย Gertjan Vlieghe หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าธนาคารกลางอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดภายในต้นปีหน้าหาก BoE มีเหตุผลให้เชื่อว่าการจ้างงานกลับมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ 

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแทบจะทันทีหลังจากที่นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันออกมาพูดเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดภายในประเทศล่าสุดว่าแผนการเปิดประเทศในวันที่ 21 มิถุนายนจะยังคงเป็นไปตามเดิม ถ้อยแถลงของ Vlieghe และการแข็งค่าของสกุลเงินปอนด์สะท้อนให้เห็นความแข็งแกร่งในการฟื้นตัวของสหราชอาณาจักรและการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว 

ในการประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม BoE เคยคาดการณ์เอาไว้ว่าเศรษฐกิจอาจกลับไปสู่ระดับเดียวกับก่อนการแพร่ระบาดได้ภายในสิ้นปี 2021 ถึงแม้จะมีการชะลอการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล แต่เหตุผลที่ปอนด์ถูกเทขายในตอนนั้นเป็นเพราะ BoE ไม่ได้ระบุระยะเวลาที่ชัดเจนว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อไหร่ ดังนั้นถ้อยแถลงเมื่อวานนี้จึงถือเป็นครั้งแรกที่เราได้ยินคนจาก BoE ระบุระยะเวลาชัดเจนว่าจะมีการเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน เมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงวิเคราะห์ว่ากราฟ GBP/USD อาจขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดใหม่ในรอบสามปี ส่วนกราฟ EUR/GBP จะปรับตัวลดลงสู่จุดต่ำสุดของปี 2020 ในสัปดาห์หน้า

 

การแสดงความเห็นของ Gertjan Vlieghe ทำให้ BoE กลายเป็นธนาคารกลางแห่งที่สองที่กล้าออกมาคาดการณ์ระยะเวลาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2022 นับตั้งแต่มีการระบาด เหตุการณ์นี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีคำพูดจากคนในธนาคารกลางออกมาเป็นทางการ ซึ่งถือว่ากล้าพูดอย่างตรงไปตรงมามากกว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) ดังนั้นความสนใจของนักลงทุนจะมุ่งไปที่ทั้งสองสกุลเงินนี้ในสัปดาห์หน้า

คำถามใหม่ที่นักลงทุนในตลาดสกุลเงินเริ่มตั้งคำถามกันก็คือ “ธนาคารกลางของประเทศไหนจะเป็นผู้กล้ารายต่อไปที่จะออกมาแถลงถึงแนวทางการดำเนินงานที่ระบุระยะเวลาชัดเจนต่อจาก RBNZ และ BoE?” แน่นอนว่าทุกคนย่อมคิดถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นแห่งแรก ในวันนี้เราอยากให้นักลงทุนจับตาดูตัวเลขการบริโภคส่วนบุคคล (PCE index) ของสหรัฐฯ เพราะตัวเลขนี้ถือเป็นมาตรวัดตัวหนึ่งที่เฟดชอบใช้ในการตรวจสอบการเร่งตัวของเงินเฟ้อ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าตัวเลข PCE จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เราอาจจะได้เห็นตัวเลข 2.9% แบบ YoY ในส่วนของการบริโภคพื้นฐาน หาก PCE ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ เราจะได้เห็นกราฟ USD/JPY ปรับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ให้เผื่อใจเอาไว้บ้างว่ายังมีโอกาสที่ตัวเลข PCE อาจจะไม่เพิ่มขึ้นตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ เพราะยังมีสัญญาณที่บ่งบอกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ฟื้นตัวได้ดีในทุกภาคส่วน แม้ว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการระบาดโควิด-19 ภายในสหรัฐฯ แต่ตัวเลขยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนและตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยที่รอการจำนองก็ปรับตัวลดลงด้วยเช่นกัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจไม่ใช่คนสุดท้ายที่จะปรับนโยบายการเงินให้รัดกุมขึ้น แต่เพราะตอนนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศที่อยู่หลังฉากยังไม่ได้ดีเหมือนกับที่อยู่หน้าฉาก ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปล่อยนโยบายการเงินให้เป็นเช่นนี้ต่อไปก่อนและซึ่งจะเป็นการคงการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐเอาไว้

 
การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบทำให้ดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แต่สกุลเงินยูโรกับดอลลาร์ออสเตรเลียกลับยังไม่สามารถอาศัยจังหวะนี้พาตัวเองปรับตัวขึ้นไปได้เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ถ้าวันนี้ตัวเลขราคาสินค้านำเข้าของเยอรมันและตัวเลขความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจในยูโรโซนขยายตัวขึ้น กราฟ EUR/USD ก็มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้ ท่ามกลางกระแสภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก และความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปอาจทำให้สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้น

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย