ท่ามกลางสัปดาห์ที่เต็มไปด้วยการรายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจสำคัญ การประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันนี้ถือเป็นวันที่สำคัญที่สุด ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด (FED) จะมีการอัปเดตตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ และภาพรวมของอัตราดอกเบี้ยซึ่งนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดจะเป็นผู้ให้คำตอบกับทุกคำถาม แน่นอนว่าวันนี้เขาต้องเจอคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สาเหตุที่ดอลลาร์ไม่อ่อนค่าลงเป็นเพราะตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือนมกราคมถูกปรับให้สูงขึ้น และตัวเลขค้าปลีกนี้มักจะถูกปรับตามมาภายหลังอยู่ตลอด นักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในตัวเลข 5.3% และมองว่าช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของการบริโภคได้ผ่านพ้นไปแล้ว นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาพึ่งได้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า $1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐไป ความสนใจของนักลงทุนจึงหันไปอยู่ที่การขยายตัวของตัวเลขยอดค้าปลีกในช่วงที่นับตั้งแต่ครึ่งหลังของเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนมากกว่า
1. เฟดจะเปลี่ยนแปลงตัวเลขคาดการณ์ GDP และอัตราเงินเฟ้อหรือไม่?
2. เฟดจะปรับการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในแผนภาพแบบจุด (dot plot) ในปี 2022 ขึ้นหรือไม่?
3. ประธานเฟดยังมองว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเป็นเรื่องชั่วคราวและยังคงจะทำ QE ต่อไปหรือไม่?
สิ่งที่ทำให้การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ครั้งนี้สำคัญกว่าครั้งอื่นๆ เป็นเพราะผลการประชุมอาจส่งผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวของสกุลเงิน ความเคลื่อนไหวในตลาดพันธบัตรฯ และตลาดหุ้นจะเป็นไปตามในสิ่งที่พาวเวลล์พูด ก่อนหน้านี้พวกเราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเขายังไม่กังวลเรื่องเงินเฟ้อ แต่เขาจะใจเย็นแบบนี้ไปได้อีกนานแค่ไหนทั้งๆ ที่ผลตอบแทนพันธบัตรฯ ยังอยู่ในระดับสูงเช่นนี้?
ถ้าผลการประชุมวันนี้เจอโรม พาวเวลล์ยังยืนยันคำเดิม ผลตอบแทนพันธบัตรฯ ก็จะยิ่งได้โอกาสปรับตัวขึ้นต่อซึ่งถือเป็นผลบวกต่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม หากเขาตัดสินใจทำตามคำแนะนำของประธานธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) หรือตัดสินใจเปลี่ยนไปซื้อพันธบัตรระยะยาว ผลตอบแทนพันธบัตรฯ และดอลลาร์จะปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วและจะส่งผลกระทบไปถึงดอกเบี้ยในการกู้ซื้อที่อยู่อาศัย
สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นในช่วงแรกๆ ของการเปิดตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ เมื่อวานนี้เพราะตัวเลขจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจแห่งยุโรป (ZEW) ดีขึ้น แต่ยูโรก็ไม่สามารถรักษาขาขึ้นนั้นเอาไว้ได้ ภาพรวมทางเศรษฐกิจของยุโรปยังไม่อาจฟื้นตัวได้ตราบใดที่การกระจายวัคซีนยังล่าช้าและการเร่งซื้อบอนด์ของ ECB ยังไม่อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของยุโรป ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงเมื่อรายงานผลการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ได้ข้อสรุปว่าจะยังคงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและจำเป็นต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอีกสักระยะ RBA ไม่คิดจะเปลี่ยนเงื่อนไขนี้จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะคงที่อยู่ระหว่าง 2%-3%