ลด 50%! ชนะตลาดในปี 2025 ด้วย InvestingProรับส่วนลด

มีเหตุผลอะไรบ้างที่สนับสนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น

เผยแพร่ 18/08/2563 15:01
DX
-
LCO
-
CL
-
OVX
-

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก: EIA, API และ CQG

- การลดกำลังการผลิตน้ำมันเริ่มส่งผลแล้ว
- การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ยังคงลดลงต่อเนื่อง
- การอ่อนมูลค่าของดอลลาร์ยังหนุนให้ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าปรับตัวสูงขึ้น

แม้ว่าในปัจจุบันเราจะเริ่มเห็นทิศทางของพลังงานทางเลือกที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมมาแรงขึ้นและดูเหมือนยิ่งใกล้จะเป็นความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือว่าน้ำมันดิบยังคงถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของโลกและยังคงสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง

ในเดือนเมษายนปี 2020 เกิดปรากฎการณ์ที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นเมื่อราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าในตลาด NYMEX ที่จะส่งมอบในเดือนพฤษภาคมร่วงลงจนติดลบ $40.32 บาร์เรลซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์การซื้อขายน้ำมันดิบ หลังจากนั้นเป็นต้นมาราคาน้ำมันดิบก็ปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอด การที่กรอบราคาของการซื้อขายน้ำมันดิบในอนาคตสูงกว่าราคาปัจจุบัน (Contango) หรือค่าพรีเมียมในการขนส่งมีความแตกต่างกันมากถึงขนาดนี้สะท้อนให้เห็นถึงปริมาณน้ำมันดิบที่มีอยู่ล้นตลาดเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการเนื่องจากในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ไวรัสโคโรนาระบาดอย่างหนักจนทำให้ผู้คนไม่ออกจากบ้านไปทำงานเหมือนปกติ

อย่างไรก็ตามเหล่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันก็ไม่ได้นิ่งดูดายต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาพวกเขาขาดทุนไปกับการปรับสมดุลตลาดน้ำมันให้กลับมาเป็นปกติให้ได้มากที่สุด จนตอนนี้ราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าที่จะส่งมอบในเดือนกันยายนมีราคาต่ำสุดอยู่ที่ $21.99 บาร์เรลสูงกว่าจุดต่ำสุดในสัญญาซื้อขายเดือนพฤษภาคมถึง $62 ต่อบาร์เรล ที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนเมษายนมาจนถึงสัปดาห์ที่แล้วราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าก็ปรับขึ้นมาเรื่อยๆ แม้ว่าตอนนี้ราคาจะชะลอตัวแต่ก็ยังไม่มีสัญญาณใดๆ บางบอกว่าราคาน้ำมันดิบอาจจะปรับตัวลดลง

การลดกำลังการผลิตเริ่มส่งผลแล้ว

หลังจากเหตุการณ์ราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าร่วงลงมากที่สุดในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์มาจนถึงเดือนเมษายนจนราคาสามารถลงไปจนติดลบได้ กลุ่มโอเปกซึ่งนำโดยซาอุดิอาระเบียและรัสเซียต่างก็ช่วยกันลดกำลังการผลิตน้ำมันลงซึ่งในแต่ละวันพวกเขาลดกำลังการผลิตลงไปมากถึงวันละ 10 ล้านบาร์เรลก่อนที่จะพึ่งมาหยุดการลดกำลังการผลิตในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม

ผลลัพธ์ที่ได้จากการร่วมมือร่วมใจกันในครั้งนั้นคือตอนนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI ล่วงหน้าในตลาด NYMEX สามารถวิ่งกลับขึ้นมามีราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ $40 ต่อบาร์เรลในขณะที่ราคาซื้อขายน้ำมันดิบเบรนท์มีราคาอยู่เหนือ $40 เล็กน้อยและทำให้เหล่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันสามารถลดตัวเลขการลดกำลังการผลิตของตนลงเหลือ 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนสิงหาคม

การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ยังคงลดลงต่อเนื่อง

นอกเหนือจากซาอุดิอาระเบียและรัสเซียที่เป็นพี่ใหญ่แห่งการผลิตน้ำมันของโลกแล้วเรายังมีสหรัฐอเมริกาที่เป็นหนึ่งในมหาอำนาจของผู้ผลิตน้ำมัน ในช่วงกลางเดือนมีนาคมสหรัฐฯ เคยสร้างตัวเลขการผลิตน้ำมันต่อวันสูงสุดเอาไว้ที่ 13.1 ล้านบาร์เรลต่อวันแต่เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำในช่วงนั้นทำให้สหรัฐฯ จำเป็นต้องลดการผลิตน้ำมันลงมาอย่างจำใจ

อ้างอิงข้อมูลจากองค์กรข้อมูลด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ในวันที่ 7 สิงหาคมพบว่าการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ต่อวันมีตัวเลขอยู่ที่ 10.7 ล้านบาร์เรลซึ่งลดลงจากจุดสูงสุดที่เคยทำเอาไว้ 18.3% และจากข้อมูลของ Baker Hughes บริษัทจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับน้ำมันระบุว่าในวันที่ 14 สิงหาคมจำนวนของแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ตอนนี้เปิดใช้งานอยู่มี 172 แท่นขุดเจาะซึ่งลดลงไปมากถึง 598 แท่นขุดเจาะเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019

ในขณะเดียวกันเมื่อไปดูที่รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ จะเห็นว่าแม้การใช้งานน้ำมันดิบจะมีเพิ่มมากขึ้นแต่การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ยังคงลดลงEIA Inventories - Barrels

Source: EIA

ข้อมูลจาก EIA ระบุว่าปริมาณการกักเก็บน้ำมันดิบคงคลังใน 3 สัปดาห์ล่าสุดลดลงมาต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ติด ปริมาณน้ำมันสะสมลดลงจาก 22.5 ล้านบาร์เรลนับตั้งแต่สิ้นสัปดาห์ของวันที่ 24 กรกฎาคม ในขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเป็น 419,000 บาร์เรล น้ำมันที่ได้จากการกลั่นลดลง 200,000 บาร์เรลและการผลิตน้ำมันในแต่ละวันลดลง 400,000 บาร์เรลต่อวันในช่วง 3 สัปดาห์API Inventories - Barrels

Source: API

ในขณะเดียวกันข้อมูลจากหน่วยงานทดสอบคุณภาพน้ำมันเครื่อง (API) ของสหรัฐฯ ระบุว่าปริมาณน้ำมันที่ถูกกักเก็บลดลง 19.817 ล้านบาร์เรล ส่วนปริมาณพลังงานเชื้อเพลิงคงคลังลดลง 1.966 ล้านบาร์เรล น้ำมันที่กลั่นแล้วคงคลังเอาไว้เพิ่มขึ้น 1.062 ล้านบาร์เรล 

สรุปก็คือปริมาณน้ำมันดิบคงคลังลดลงในขณะที่การผลิตน้ำมันในแต่ละวันกับการเปิดใช้งานแท่นขุดเจาะที่ลดลงเท่ากับว่าการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง

การอ่อนมูลค่าของดอลลาร์ยังหนุนให้ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าปรับตัวสูงขึ้น

ที่ผ่านมาแนวโน้มของราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าใน NYMEX มีการปรับตัวขึ้นมาตลอดตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนซึ่งถือว่าเป็นการฟื้นตัวกลับขึ้นมายังระดับ $40 ต่อบาร์เรลที่รวดเร็วมากนับจากช่วงราคาติดลบ

Crude Oil Daily

Source: CQG

กราฟรายวันด้านบนนี้ชี้ให้เห็นถึงโมเมนตัมของราคาน้ำมันและความแข็งแกร่งของขาขึ้นที่สัมพันธ์กันกับตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าที่ในสัปดาห์ที่แล้วสามารถพาตัวเองให้ยืนอยู่สูงขึ้นกว่าระดับปกติได้  ดัชนีวัดความผันผวนในตลาดน้ำมันดิบปัจจุบันอยู่ในระดับ 19% ลดลงมาจาก 171% ในช่วงกลางเดือนมีนาคมเป็นอย่างมาก

จำนวนรวมของสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าทั้งฝั่งซื้อและฝั่งขายมีตัวเลขอยู่ที่ 2.060 ล้านสัญญาโดยมีจุดต่ำสุดอยู่ที่ 1.957 ล้านสัญญาในเดือนกรกฎาคมซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของนักลงทุนที่พาให้ตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย

ในขณะเดียวกันเมื่อมาดูกราฟของดัชนีดอลลาร์สหรัฐที่ใช้วัดมูลค่าความแข็งแกร่งของสกุลเงินสำรองอันดับหนึ่งของโลกพบว่าดัชนีลงไปสร้างจุดต่ำสุดเอาไว้ห่างจากจุดสูงสุดที่เคยทำเอาไว้ในปี 2002 ที่ 103.96 ในเดือนมีนาคมเป็นอย่างมากDollar Index Weekly

Source: CQG

กราฟรายสัปดาห์ด้านบนแสดงข้อมูลของดัชนีดอลลาร์สหรัฐที่ลงไปสร้างจุดต่ำสุดเอาไว้ที่ 92.475 ในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายนก่อนที่จะวิ่งไปมาอยู่ที่ระดับราคาประมาณ 93.11 ยิ่งมูลค่าของดอลลาร์อ่อนลงมากเท่าไหร่ยิ่งสนับสนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น

โดยสรุปแล้วการอ่อนมูลค่าลงของดอลลาร์สหรัฐ การลดลงของกำลังการผลิตน้ำมันทั้วโลกและการลดลงของปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ คือส่วนประกอบที่หนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ในตอนนี้ราคาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าบนตลาด NYMEX ที่จะส่งมอบในเดือนกันยายนมีราคาอยู่ที่ $42.23 ต่อบาร์เรลโดยมีเป้าหมายของขาขึ้นอยู่ที่ $43.52, $48.97 และ $54.55 ตามลำดับ ด้วยปัจจัยสนับสนุนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงทำให้เราเชื่อว่าราคาน้ำมันดิบยังมีโอกาสขึ้นต่อได้อีกในอนาคตอันใกล้

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย