► กนง. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 bps เหลือ 0.50% และคาดว่าจะทรงตัวในระดับนี้ ตลอดปี 2563
► ส่งผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยคาด KBANK (BK:KBANK) จะได้รับผลกระทบมากสุด ในขณะที่ KKP ได้ผลบวก
► ส่วนกลุ่มการเงินได้รับผลบวกเล็กน้อย เนื่องจากบริษัทต่างมีการออกหุ้นกู้ใหม่ เพื่อลดต้นทุน การเงินไปตั้งแต่ช่วงต้นปีแล้ว
► เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 ทั้งธนาคารพาณิชย์และกลุ่มการเงิน
► เราให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคาร Neutral เราเลือก (BK:BBL) (ซื้อ; TP 150 บาท) และ (BK:KKP)(ซื้อ; TP 63 บาท) เป็น Top Picks
► เราให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มการเงิน Overweight เลือก MTC (ซื้อ; TP 58 บาท) เป็น Top Picks
กนง. ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 0.50% คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps เหลือ 0.50% ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ จากแนวโน้มเศรษฐกิจ และตัวเลขเงินเฟ้อที่หดตัวมากกว่าคาด เนืฃ่ องมาจากผลกระทบ COVID-19 รวมถึงแนวโน้มการกลับมาแข็งค่าอีกครั้งของค่าเงินบาท ทั้งนี้เราประเมินว่าในช่วงที่เหลือของปี 2563 แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทรงตัวในระดับ 0.50% จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ฟื้นตัว (เราประเมินว่าจุดต่ำสุดจะอยู่ในช่วง 2Q63) ท่าให้เราคาดว่า กนง. จะมีการ ผ่อนปรนนโยบายการเงินมากขึ้น นอกจากนี้การที่ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือ และมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจเพิ่มเติม จะช่วยลดความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงที่เหลือของปี2563
ส่งผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ คาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้จะเป็นอีกปัจจัยกดดันผลประกอบการ 2Q63 ของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ หลังจากก่อนหน้านี้กลุ่มธนาคารมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยกลุ่ม M-rate (MOR MLR และ MRR) ลง 40 bps จากการส่งผ่านผลประโยชน์จากการลดอัตราเงินน่าส่งกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FDIF)
อย่างไรก็ตาม ด้วยมุมมองอย่างอนุรักษนิยมของเรา เราได้รวมผลกระทบหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 0.50% (Worst Case) เรียบร้อยแล้ว โดยธนาคารที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ KBANK ตามด้วย KTB และ SCB เนื่องจากธนาคารมีสัดส่วนเงินฝากกระแสรายวัน และเงินฝากออมทรัพย์ (CASA) และสัดส่วนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) ค่อนข้างสูง ในขณะที่ธนาคารที่ประกอบธุรกิจเช่าซื้อได้รับประโยชน์ โดยคาดว่า KKP จะได้รับประโยชน์มากที่สุด
ส่งผลบวกต่อกลุ่มการเงินค่อนข้างจำกัด เราคาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในครั้งนี้ จะส่งผลบวกต่อกลุ่มการเงินค่อนข้างจ่ากัด เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีทีผ่านมา บริษัทได้มีการทยอยออกหุ้นกู้ใหม่ เพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมที มีอัตราดอกเบี้ยสูงแล้ว เช่น MTC และ SAWAD ในขณะที่สัดส่วนเงินกู้ยืมประเภทดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Loan) โดยรวมของกลุ่มอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ จึงคาดว่าต้นทุนทางการเงินโดยรวมของกลุ่มจะอยู่ในระดับใกล้เคียง 1Q63 โดยเราคาดว่า SAWAD จะได้รับประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากมีสัดส่วนเงินกู้ยืมประเภทลอยตัวสูงกว่ากลุ่มอยู่ที 27.0%
คงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ Neutral และกลุ่มการเงิน Overweight เรายังคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ Neutral และกลุ่มการเงิน Overweight โดยในระยะสั้น คาดราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ตอบรับสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออ่านวย ทั้งการลดอัตราดอกเบี้ย และการหดตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งสวนทางกับกลุ่มการเงิน ทั้งนี้หุ้น
Top Picks กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ BBL (ซื้อ; TP 150 บาท) และ KKP (ซื้อ; TP 63 บาท) ส่วนกลุ่มการเงิน คือ MTC (ซื้อ; TP 58 บาท)
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Asia Wealth Securities