เมื่อก่อนเห็นหลายๆคน มีหน้าจอเทรดหลายๆจอ เอาไว้ดูกราฟเฝ้ากราฟ เมื่อถึงเวลาสัญญาณมาจะได้เข้า และติดตามกราฟได้ทันท่วงที
ผมคนนึงก็มีความฝันอยากมีหน้าจอสำหรับเทรดอย่างน้อยๆ 6 จอ กับเขาบ้าง เลยดูราคาคร่าวๆแล้ว อาจจะต้องประกอบคอมใหม่เพราะต้องใช้การ์ดจอ 2 ตัวเพื่อต่อกับจอ 6 ตัว ไปๆมาๆ ดูแล้วน่าจะลงทุนไปอีกอย่างน้อยๆ 4-5 หมื่น แถมเวลาทำงานอาจจะต้องสลับกับ notebook ที่ผมมี ตอนนั้นก็ไม่ค่อยอยากใช้เงินเท่าไรสำหรับอุปกรณ์นี้ และการเทรดก็ยังไม่ได้เรื่องสักเท่าไร เลยขอเอาเล็กๆก่อน
จึงตัดสินใจลองซื้อจอเพิ่มมาอีก 2 จอก่อนแล้วต่อเข้ากับอุปกรณ์เสริมที่ต่อเข้ากับ notebook ปรากฏว่าใช้งานได้
เทรดไปเทรดมา จอนึงก็เปิดกราฟเอาไว้ดูว่าตลาดไปยังไง order เราไปถึงไหนบ้างแล้ว อีก 2 จอ ก็เอาไว้ทำงาน เขียนโปรแกรม ไม่รู้ใครเป็นเหมือนผมหรือเปล่า เปิดกราฟขึ้นจอแล้ว กลายเป็นว่าผมไม่เป็นอันทำงาน 55555 เฝ้าลุ้นเฝ้าดูว่ามันถึงไหนแล้ว แต่พอมีความจำเป็นที่ต้องออกไปข้างนอก แต่เข้า order ค้างไว้ กลายเป็นว่าเรากลับทำกำไรต่อ order ได้ดีกว่าตอนที่เฝ้ามันอีก 555555
มันเหมือนกับว่าเราดูมันแล้วก็เฝ้าพยายามจะทำอะไรสักอย่างกับกราฟเพื่ออะไรสักอย่าง แต่กลายเป็นว่าไม่ค่อยดีเท่าไร
จนหลังๆมานี้ หน้าจอทั้ง 3 จอผมไม่ได้เปิดกราฟเลย หน้าจอกราฟกลายเป็น youtube เปิดฟังเพลงหรือรายการอะไรแทน 55555
ผมจะเข้าไปดูกราฟตามช่วงเวลาที่ผมกำหนดแทน โดยมากผมเทรดโดยใช้ H1 H4 time-frame เล็กที่สุดในการตัดสินใจเข้า order
ดังนั้นตอนตลาดเปิดผมก็จะเข้าไปดูกราฟช่วงเวลาที่สำคัญๆเท่านั้น เช่น
- ช่วงเช้าประมาณ 6-7 โมงตลาด AUD JPY เปิด
- บ่ายประมาณ 2-3 โมงตลาดยุโรปเปิด
- และ หัวค่ำ 1-3 ทุ่ม ตลาดอเมริกาเปิด
ซึ่งผมจะเข้าไปดูช่วงประมาณก่อนปิดแท่ง H4 สัก 5-10 นาทีก่อนตัดสินใจทำอะไร
เมื้อเข้า order ไปแล้วก็ตั้ง take profit / stop loss แล้วก็ปล่อยให้มันเป็นหน้าที่ของตลาดนั้นทำเงินไป
การเทรดก็เหมือนการทำงาน ยิ่งลงทุนน้อย ใช้เงินน้อยแล้ว ก็ควรใช้เวลาให้น้อย หรือ คือให้เหมาะสมกับรายได้ เพื่อประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับการลงทรัพยากรไป
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกลยุทธ์ที่ผมเทรดผมชอบเน้นรันเทรน กินกำไรยาวๆ ชิวๆ ผมจึงออกแบบการเทรดให้เข้ากับตัวเองแบบนี้
ผมจึงชวนดูว่าวิธีการเทรดแบบไหนที่เราชอบและถนัด แล้วออกแบบการเทรดให้เข้ากับตัวเอง ดูว่าเราโอเคกับมันไหน ถ้าเราจะต้องใช้ชีวิตแบบนี้ไปยาวๆ
เพื่อนๆ ใช้วิธีการเทรดแบบไหน ชอบแบบไหน ลองมาคุยกันนะครับ
บทความนี้จัดทำเลยเผยแพร่ครั้งแรกทางเพจ About Traders
อ่านยัง?