ทำไมถึงติดดอย ?

เผยแพร่ 21/04/2563 15:08

เมื่อเรารู้ตัวว่าติดดอย สิ่งแรกที่ควรต้องทำเลย คือ หาสาเหตุว่าทำไมเราถึงเข้า เพื่อทบทวนแผนที่เราวางไว้ และ เพื่อจดจำไว้ ถ้าเจอแบบนี้อีกเราอาจจะติดดอยได้ เพื่อนำไปวางแผนการเทรดครั้งต่อไป

สำหรับผม ผมมองว่าเหตุผลหลักๆ ที่ติดดอยมีดังนี้

1. ไม่ทำตามแผน

เมื่อถึงเวลาต้อง “ตัดขาดทุน” (Cut loss) แล้วไม่ลงมือทำ ถ้าตัดขาดทุนไปแล้ว เดี๋ยวมันจะเด้งกลับมาจุดที่ซื้อ จะเสียดาย ยิ่งผิดทางหนักๆเข้าไม่กล้า ตัดขาดทุน แถมเข้าถัวเฉลี่ย และ ผิดทางก็ยิ่งหนักไปอีก

การรอให้ราคากลับมาเป็นการแก้ปัญหา “ชั่วคราว” เพราะ เมื่อเจออีก ก็จะทำอีก ที่ผ่านมาเราอาจจะเข้าที่หัว Wave 1 Wave 3 Wave B แต่ถ้าครั้งต่อไปเราเข้า หัว Wave 5 ก็จะติดดอยยาวๆ

สิ่งที่ควรทำ คือ “ทำตามแผน” ถึงเวลาต้องตัดขาดทุนก็ต้องทำ และ ต้อง “ยอมรับความผิดพลาด” ที่เราเข้าผิด

อ้าววววว ถ้าตัดขาดทุนแล้วมันดีด ขึ้นไป ไม่เสียดายหรอ ?????

ใช่ครับมันน่าเสียดาย แต่ควร “ดีใจ” ที่ได้ทำตามแผน เพราะ วินัยและวิธีคิดเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้ามันดีดขึ้น ณ จุดที่ตัดขาดทุน แสดงว่า ระยะที่เราวางแผนยังไม่ดีพอ เราจะได้แก้ให้ตรงจุด ระยะตัดขาดทุนเปลี่ยน การคำนวณปริมาณการเข้า (จำนวนหุ้น สัญญา lot) ก็เปลี่ยน ครั้งต่อไปที่เข้า จะได้คุมความเสี่ยงได้

2. กลัวตกรถ

เห็นราคากำลังวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เลยตามเข้าไป กลัวไม่ตามเทรน ยิ่งถ้าวิ่งถูกทางแล้วเพื่อนกลับมาถามเราว่า “ได้เข้ามาไหม” ยิ่งเจ็บจี๊ดเลย แล้วก็ตอบในใจว่า “ตอนนั้นได้แค่มอง” เลยคิดว่าครั้งนี้ไม่ควรพลาด “ต้องตาม” สุดท้ายรอบนี้เพื่อนไม่ได้เข้า เราติดดอย

เราต้องลบความคิดเหล่านี้ออกไปให้ได้อย่าง “เด็ดขาด” หากจะประสบความสำเร็จ ทางด้านนี้ มันคือความคิด “เม่า” เพราะ ใน Wave 5 เจ้าต้องทำราคา ดึงอารมณ์เขา เม่า ให้ “ติดกับ” โดยการ สร้างแท่งเขียวๆ หลายๆแท่ง กระชากอารมณ์ เม่า น้อยผู้อ่อนไหวให้ตาม

“ช่างมัน” ถ้าเรายังไม่มีแผน

สิ่งที่ควรทำคือ “ทำใจ” หากเราไม่มีประสบการณ์มากพอ ไม่ควรเข้าเป็นอย่างยิ่ง เราควร “ทำตามแผน” ที่วางไว้ หากไม่เป็นไปตามแผน กำไรนี้ก็ยังไม่ใช่จังหวะของเรา บอกตัวเองว่า “ไม่เป็นไร” และ กลับไปวางแผนต่อ กลับไปศึกษา ปัจจัยพื้นฐาน อะไรที่เป็นเหตุที่ทำให้กราฟมันวิ่ง ถ้าเป็นสายเทคนิคคอล กลับไปดูกราฟในอดีต ก่อนที่มันจะขึ้นยาวๆ หน้าตาเป็นอย่างไร กี่โมง วันไหน ทำการบ้านให้มากพอนะครับ

หากเราติดดอยอยู่ แล้ว ให้กลับไปดูว่า แผนการเล่นในตอนที่เข้า คือ อะไรกลับไปทบทวน ถ้ามันยังอยู่ในแผน เช่น ยังไม่ถึง จุดตัดขาดทุน จะไม่มีคำว่า “ติดดอย” อยู่ในหัว นอกเสียจากว่า มันผิดทาง ขยาย จุดตัดขาดทุนเรื่อยๆ จนพอร์ต แดงเกินกว่าที่จะรับได้ อันนี้โรคติดดอยกำเริบ

ลองคิดดูครับถ้าเรา “ติดดอย” เราจะเสียอะไรบ้าง อย่างแรกๆ คือ เสียเวลาไปกังวล , เสียความมั่นใจ และ ที่สำคัญ คือ เสียโอกาส ถ้าตัดขาดทุน แล้วเอาเงินที่เหลือ ไปลงทุนตัวอื่น ที่เราถนัด , ทำตามแผนได้ และ มั่นใจ ผมว่า อย่างน้อยเราก็จะได้กำไรกลับคืนมา จนส่วนที่ขาดทุนไปเหลือน้อย ดีกว่าไปนั่งลุ้นให้มันกลับมา

“ยอมรับ” ความผิดพลาด และ “มีแผน” ผมกล้าการันตีเลยครับว่า เราจะพัฒนาขึ้นอย่างแน่นอน

เป็นกำลังใจให้ทุกๆ ท่านครับ

บทความนี้จัดทำเลยเผยแพร่ครั้งแรกที่เพจ About Traders

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย