Bank of Thailand Benchmark Interest Rate
Actual: 0.50% Previous: 0.50%
KTBGM: 0.50% Consensus:
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50% ตามคาด โดยมองว่าการลดดอกเบี้ยที่ผ่านมาร่วมกับมาตรการช่วยเหลือเศรษฐกิจจากรัฐบาล และมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อจะช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจในช่วงหลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown
เราคงมุมมองว่า ดอกเบี้ยนโยบายจะไม่ต่ำไปกว่า ระดับ 0.50% แต่ก็ยังมีโอกาสที่ กนง. อาจลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 0.25% หากมีการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 ส่งผลให้ทั่วโลกกลับมาใช้นโยบาย Lockdown ที่เข้มงวด กดดันให้เศรษฐกิจหดตัวกว่าคาด (W-shape recovery)
การประชุมครั้งถัดไป: 5 สิงหาคม 2563
กนง. มีมติเอกฉันท์ให้ “คง” ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% พร้อมมองภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
กนง. มองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มหดตัวกว่าที่เคยประเมินไว้ แต่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown โดย กนง. ยังมองอีกว่า มาตรการการคลัง ร่วมกับ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงมาก พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อ และการเร่งรัดปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อครัวเรือนและภาคธุรกิจ และหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะถัดไป
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2020 มีแนวโน้มติดลบมากขึ้นจากราคาสินค้าพลังงานที่ดลงแรง นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง แต่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ตามภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก และการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบ
กนง. ยังคงกังวลการแข็งค่าของเงินบาท โดยมองว่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ทั้งนี้ กนง. จะติดตามแนวโน้มค่าเงินอย่างใกล้ชิด และประเมินความจำเป็นของการใช้มาตรการที่เหมาะสมต่อไป
อย่างไรก็ดี กนง. มองว่าระบบการเงินยังมีเสถียรภาพ แม้ว่าธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง แต่ต้องเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของครัวเรือนและ SMEs ที่อาจเพิ่มสูงขึ้น
เราคงมุมมองว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% และจะกลับมาลดดอกเบี้ยเหลือ 0.25% ได้ หากการระบาดของ COVID-19 รุนแรงกว่าคาด กดดันให้เศรษฐกิจถดถอยหนัก
เราเชื่อว่า ธปท. จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% สำหรับวิกฤติ COVID-19 ครั้งนี้ เพราะสถานการณ์ COVID-19 ในไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และยังไม่มีการระบาดระลอกที่ 2 หลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ซึ่งจะหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีในช่วงครึ่งหลังของปี อย่างไรก็ดี การลดดอกเบี้ยก็อาจเกิดขึ้นได้ หากมีการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 ที่รุนแรง ทำให้ทั่วโลกและประเทศไทยกลับมาใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดอีกครั้ง
จับตานโยบายลดการแข็งค่าของเงินบาท USD/THB โดยที่ผ่านมา ธปท. ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินเป็นจำนวนมาก ทำให้เสี่ยงต่อการติดบัญชี Currency Manipulator ของสหรัฐฯ จึงทำให้ ธปท. อาจดำเนินมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม โดยจุดสิ้นสุดความอดทนของ ธปท. อาจวัดจาก ดัชนีเงินบาท REER ที่ระดับสูงกว่า 112-113จุด (ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 110จุด)
เรื่องนี้ห้ามพลาด
ยอดส่งออกเดือนพฤษภาคม หดตัว“22.5%” แย่กว่าคาด
Krungthai COMPASS มองส่งออกปีนี้หนักสุดในรอบเกือบ 11 ปี
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจTMB คาด "ไทยเที่ยวไทย" มีแนวโน้มดีขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์