🔥 กลยุทธ์การหุ้นคัดเลือกโดย AI ของเรา หุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่ ทะยานขึ้น +7.1% ในเดือน พฤษภาคม เข้าเทรดขณะหุ้นกำลังมาแรงรับส่วนลด 40%

ยอดส่งออกเดือนพฤษภาคม หดตัว“22.5%” แย่กว่าคาด

เผยแพร่ 24/06/2563 13:26

Exports May 2020
Actual: -22.5%y/y
Previous: +2.12%y/y
KTBCompass: -4.0%y/y
Consensus: -5.75%y/y

Trade data

ยอดการส่งออกไทยเดือนพฤษภาคมหดตัว 22.5%y/y ซึ่งเป็นการหดตัวที่มากสุดนับตั้งแต่กลางปี 2009 ขณะที่ยอดการนำเข้าหดตัวถึง 34.41%y/y ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลกว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์

เราคาดว่ายอดการส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวได้ดีขึ้น แต่โดยรวมทั้งปีจะหดตัวถึง 13% จากปีก่อนหน้า โดยการส่งออกจะถูกหนุนโดยการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก หลังหลายประเทศทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ขณะเดียวกันราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้นจากแนวโน้มนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและความเสี่ยงที่ตลาดหุ้นจะปรับฐาน จะเป็นปัจจัยหนุนให้ยอดการค้ามีแนวโน้มเกินดุล ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีอยู่ในระดับ 3%-4% ของ GDP

เรามองว่า ดุลการค้าเกินดุลจะเป็นปัจจัยหนุนให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นปี แม้นักท่องเที่ยวต่างชาติจะยังไม่กลับมาก็ตาม

กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนพฤษภาคม โดยยอดการส่งออกพลิกหดตัวถึง 22.5% ส่วนยอดการนำเข้าก็หดตัวกว่า 34.41% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทำให้ดุลการค้าเกินดุลราว 2.7 พันล้านดอลลาร์

ยอดการส่งออกสินค้ามีมูลค่า 16.3 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นการหดตัวถึง 22.5%y/y โดยเป็นการหดตัวลงในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัว 27% จากที่ขยายตัวได้ 4% ในเดือนก่อน โดยมีปัจจัยหลักมาจากปัญหาด้านการขนส่ง (Logistics) อย่างไรก็ดี ยอดการส่งออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอาหารปรับตัวขึ้นถึง 15%y/y และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ทั่วโลก นอกจากนี้ราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นราว 3% ก็มีส่วนช่วยหนุนการส่งออกทองคำและยอดการส่งออกโดยรวม (สัดส่วนส่งออกทองคำราว 8% ของยอดส่งออก)

กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ยอดการส่งออกจะค่อยๆฟื้นตัวดีขึ้น แต่ทั้งปีอาจจะหดตัวมากกว่า -3% ที่ได้เคยประเมินก่อนหน้า โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออกคือ การระบาดระลอกที่ 2 ของ COVID-19 และแนวโน้มเงินบาทแข็งค่า

เราคงมุมมองว่า ดุลการค้าเกินดุลและการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำจะช่วยหนุนให้ เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แตะ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นปี

แนวโน้มการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า การผ่อนคลายมาตรการ Lockdown จะช่วยหนุนการส่งออกสินค้าไทย โดยเราเชื่อว่า ในระยะแรกสินค้าที่ตลาดจะยังคงต้องการคือ สินค้าเกษตรและอาหารจากแนวโน้มการใช้จ่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเพื่อประคองฐานะการเงินและลดหนี้สิน ก่อนใช้จ่าย ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในระยะถัดไป ภาพดังกล่าวจะสะท้อนผ่านยอดการนำเข้าไทยที่จะยังไม่ฟื้นตัว กอปรกับราคาน้ำมันที่จะทรงตัวในระดับต่ำ จะเป็นปัจจัยหนุนให้ ดุลการค้ามีแนวโน้มเกินดุลต่อเนื่อง นอกจากนี้ ราคาทองคำที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 1,800 ดอลลาร์ต่ออนซ์ จากปัจจัยเสี่ยง อาทิ สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย จะช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นแตะ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นปี

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย