คาด กนง. คงดอกเบี้ยและเผยนโยบายค่าเงิน

เผยแพร่ 22/06/2563 15:12
USD/THB
-

สัปดาห์ที่ผ่านมา เศรษฐกิจฝั่งสหรัฐฯและยุโรปส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown สะท้อนจากยอดค้าปลีกที่โตมากกว่าคาด

ติดตามผลการประชุม กนง. และนโยบายลดการแข็งค่าของเงินบาทในวันพุธ เพราะแม้ กนง. จะคงดอกเบี้ยที่ 0.50% ตามคาด แต่เงินบาทก็อาจผันผวนขึ้นได้หากมีการเปิดเผยมาตรการบรรทาการแข็งค่าของเงินบาท

แม้ว่าตลาดการเงินโดยรวมจะยังอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง แต่ฝั่งไทยอาจเผชิญแรงเทขายหนัก หลัง ธปท. ขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายปันผลและซื้อหุ้นคืนทำให้ทั้งตลาดหุ้นรวมถึงตลาดค่าเงินอาจผันผวนสูงขึ้น

กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า 30.75-31.25 บาท/ดอลลาร์ USD/THB
อัพเดตอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท
https://th.investing.com/currencies/usd-thb

มุมมองนโยบายการเงิน

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธ เรามองว่า กนง.จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo Rate) ไว้ที่ระดับ 0.50%หลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน ทั้งนี้ กนง.จะยังคงส่งสัญญาณพร้อมใช้เครื่องมือต่างๆ รวมทั้งมาตรการด้านการงินและสินเชื่อหากมีความจำเป็น นอกจากนี้ เราเชื่อว่า ธปท.อาจประกาศมาตรการช่วยลดการแข็งค่าของเงินบาทอาทิ การลดปริมาณการออกพันธบัตรระยะสั้นหรือการควบคุมธุรกรรมค้าทองคำที่เข้มงวดมากขึ้น

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ในวันพฤหัสฯตลาดมองว่า BSP จะ“ลด”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Overnight Rate) 0.25% สู่ระดับ 2.50% เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

weekahead calendar

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเดินหน้าฟื้นตัวดีขึ้นสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการในเดือนมิถุนายนที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ50.8จุด และ 48จุด ตามลำดับ เช่นเดียวกับ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (Durable Goods Orders)เดือนพฤษภาคมก็จะโต 11%จากเดือนก่อนหน้า หลังจากหดตัวกว่า 18% ส่วนยอดใช้จ่ายส่วนบุคคล (Personal Spending) เดือนพฤษภาคมจะโตราว 8% จากเดือนก่อนสอดคล้องกับยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤษภาคม ที่จะเพิ่มขึ้น 17.7% จากเดือนก่อน

ฝั่งยุโรป – ตลาดยังคงเชื่อมั่นการฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรปชี้จากประมาณการดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการในเดือนมิถุนายนที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 44.8จุด และ41.2จุด ตามลำดับ ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนี (IFO Business Climate) เดือนมิถุนายนก็จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 85จุด จากระดับ 79.5จุด ในเดือนก่อน

ฝั่งเอเชีย – ตลาดคาดว่าธนาคารกลางจีน (PBOC)จะคงอัตราดอกเบี้ยอ้าง อายุ 1ปี (1-yr LPR) ไว้ที่ระดับ 3.85% ทั้งนี้ PBOC อาจลดดอกเบี้ยดังกล่าวได้อีก 0.50% เป็นอย่างน้อยเพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน

ฝั่งไทย – ตลาดประเมินว่าดุลการค้าจะยังคงเกินดุลในเดือนพฤษภาคมเนื่องจากยอดนำเข้าจะหดตัวถึง 16% จากปีก่อนหน้า มากกว่ายอดส่งออกที่จะหดตัวราว 6% โดยส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันดิบที่ดิ่งลงกว่า 40% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ยอดส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอาหารยังคงขยายตัวได้ในช่วงมาตรการ Lockdown ในหลายประเทศ

ดูกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ https://th.investing.com/economic-calendar/

บทความห้ามพลาด

เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.85-31.25 ต่อดอลลาร์

เงินบาท ( 22 มิ.ย. ) ทรงตัวที่ 31.03 บาท/ดอลลาร์ สัปดาห์นี้ต้องจับตา กนง.

'สิ่งมหัศจรรย์ทั้ง7'ของเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ และตลาดการเงินปี 2020

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย