เหลียวหลัง
เงินบาท USD/THB ปิดอ่อนค่าที 30.99 ต่อดอลลาร์ หลังย่ำฐานในกรอบ 30.94-31.23 ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1.4 หมื่นล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรสุทธิ 8.1 พันล้านบาท
เงินดอลลาร์แข็งค่าเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ยกเว้นเยน USD/JPY ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการระบาดระลอกสองของ COVID-19 ในหลายประเทศ แม้ว่ายอดค้าปลีกของสหรัฐฯ จะปรับตัวดีขึ้นเกินคาด แต่ภาพรวมนักลงทุนยังคงเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยเนื่องจากวิตกว่าอาจจะเกิดการล็อกดาวน์รอบใหม่ซึ่งจะฉุดรั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ทางด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ)มีมติคงนโยบาย ส่วนธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี)ประกาศปรับเพิ่มขนาดมาตรการเข้าซื่อสินทรัพย์ขึ้นอีก 1 แสนล้านปอนด์ ตามที่ตลาดคาดไว้ อย่างไรก็ตาม บีโออีคาดว่าการปรับเพิ่ม QE นี้จะครอบคลุม การเข้าซื้อตราสารจนถึงสิ้นปี 63 บ่งชี้ว่าอัตราการเข้าซื้อพันธบัตรจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงแรกของวิกฤติไวรัส
แลหน้า
เงินบาทมีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.85-31.25 ต่อดอลลาร์ นักลงทุนจะยังคงติดตามยอดผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่พุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง ขณะที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)แถลง ต่อสภาว่ายังไม่มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้เต็มที จนกว่าประชาชนจะมั่นใจว่าโรคระบาดอยู่ภายใต้การควบคุม นอกจากนี้ ประธานเฟดระบุว่า อัตราดอกเบี้ยอาจจะอยู่ใกล้ 0% ต่อไป โดยเฟดจะยังคงดําเนินมาตรการซื้อพันธบัตรเพื่อ กดดันต้นทุนการกู้ยืมระยะยาวให้ลดต่ำลง ขณะที่สภาจําเป็นต้องดําเนินบทบาทในส่วนของมาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ทีผ่านมา เฟดประกาศเข้าซื้อหุ้นกู้ซึ่งครอบคลุมตราสารหนี้ภาคเอกชนในวงกว้าง ส่วนโครงการปล่อยสินเชื่อสําหรับบริษัทขนาดกลาง และเล็กมีความคืบหน้ามากขึ้น
สําหรับปัจจัยในประเทศ การประชุมคณะกรรมการนโยบาย การเงิน(กนง.) วันที 24 มิ.ย. มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที 0.50% โดยเราประเมินว่า กนง.จะมุ่งใช้เครื่องมือที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยนโยบายเพื่อฟื้นฟูและ เยียวยาเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบรุนแรงจาก COVID-19 รวมถึงการรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน อนึ่ง เราเห็นด้วยกับประเด็นที่ทางการให้ธนาคารพาณิชย์ เสริมสร้างเงินกองทุนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที มีความไม่แน่นอนสูง โดยท่าทีดังกล่าวบ่งชี้ถึงความระมัดระวังของผู้ดําเนินนโยบายและส่งเสริมความรอบคอบของทุกภาคส่วน ในภาวะที่ไม่ปกติ อย่างไรก็ดี ตลาดการเงินอาจมีความผันผวนในระยะสั้น นอกจากนี้นักลงทุนจะให้ความสนใจกับ ข้อมูลส่งออกและนําเข้าเดือนพ.ค.ช่วงกลางสัปดาห์เช่นกัน
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
ห้ามพลาดครับ
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการแพร่ระบาดรอบสองของโควิด-19
ปันผลของแบงก์ที่หายไป ทำให้หุ้นปันผลตัวอื่นเด่นขึ้น
อัพเดตอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท | แปลงอัตราแลกเปลี่ยน
ปรับแต่งการแสดงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อติดตั้งบนเว็บไซต์ของคุณได้ที่ Investing.com