ธปท. ประกาศ 2 มาตรการหลักให้สถาบันการเงินเตรียมรับผลกระทบจาก COVID-19 วันศุกร์ที่ผ่านมา ธปท. มีประกาศสำคัญออกมา 2 เรื่องคือ มาตรการช่วยเหลือลูกหนีร้ายย่อยที่ได้รับผลจาก COVID-19 ระยะที่ 2 มีรายละเอียดที่สำคัญคือ
1) ปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป โดยลดดอกเบี้ยบัตรเครดิตลงจาก 18% เหลือ 16%, สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับอื่นๆ ได้แก่ สินเชื่อวงเงินหมุนเวียน (บัตรกดเงินสด) และ สินเชื่อผ่อนชำระเป็นงวดลดจาก 28% เหลือ25% และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถลดลงจาก 28% เหลือ 24% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2563เป็นต้นไป
2) ปรับเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลชั่วคราวให้กับลูกหนี้ที่มีการชำระเงินดีแต่มี รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทจาก 1.5 เท่าเป็น 2 เท่าของเงินเดือน มีผลวันที่ 1 ส.ค.-31 ธ.ค. 2563
3) ขยายขอบเขตและระยะเวลาช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และยังไม่เป็น NPL โดยมาตรการส่วนใหญ่เป็นการช่วยเหลือด้านลดดอกเบี้ยและการลดค่างวดผ่อนชำระ
4) เร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหน
มาตรการเสริมสร้างเงินกองทุน โดยให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลและงดการซื้อหุ้นคืน เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของผลกระทบทาง ศก. ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยากจะประเมินผลกระทบที่แท้จริงต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร พร้อมให้แต่ละธนาคารจัดทำแผน บริหารจัดการเงินกองทุนในช่วง 1-3 ปี ข้างหน้า
สินเชื่อบัตรเครดิตกระทบหนักสุด แต่สินเชื่อจำนำทะเบียนและเช่าซื้อไม่ได้รับผลลบ สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 2 เป็นมาตรการที่สร้างผลกระทบมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากเป็นการปรับลดเพดานดอกเบี้ยซึ่งมีผลกับการให้สินเชื่อกับลูกหนี้ทุกราย ขณะที่มาตรการระยะที่ 1เน้นให้ ความช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19โดยเราพบบางประเด็นที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ ตลาดรับรู้ในช่วงก่อนหน้าดังนี้
1) ระยะเวลาการปรับลดเพดานดอกเบี้ยของสินเชื่อภายใต้การกำกับ เดิมคาดอยู่ระหว่างวันที่ 1 ก.ค.-31 ธ.ค. 2563 (รวม 6 เดือน) แต่ตามประกาศเป็นการปรับใช้โดยทั่วไป ไม่มีกำหนดสิ้นสุด ทำให้เราประเมินว่ามาตรการดังกล่าวจะถูกปรับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม โดยหุ้นที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ KTC และ AEONTS เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตซึ่งเป็นสินเชื่อที่คิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในระดับใกล้เคียงกับเพดานเดิมที่ 18% อยู่แล้ว การปรับเพดานลงเหลือ 16% จะส่งผลให้กำไรสุทธิปี2563 ลดลง 6.9% และ 8.3%จากประมาณการเดิม
แต่ในส่วนของสินเชื่อวงเงินหมุนเวียนทั้ง 2 บริษัทคิดดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำกว่าเพดานใหม่ ทำให้ไม่ได้รับผลเชิงลบ ดังนั้นเราจึงคาด KTC และ AEONTS จะมีกำไรสุทธิในปี 2563 ราว 5,462 ลบ. หดตัว 1.1%YoY และ 3,714 ลบ. หดตัว 6.6%YoY ขณะที่หุ้นในกลุ่มสินเชื่อจำนำทะเบียนรถทั้ง SAWAD และ MTC คาดได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างจำกัด เนื่องจาก MTC มีการ คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าเฉลี่ยอยู่ที่ 22% ต่ำกว่าเพดานดอกเบี้ยใหม่ ส่วน SAWAD มีทั้พอร์ต สินเชื่อกลุ่ม Low Yield ที่ให้สินเชื่อภายใต้บริษัทย่อย S2014 ซึ่งมีการคิดดอกเบี้ยกับลูกค้าใน ระดับใกล้เคียงกับดอกเบี้ยตามมาตรการที่ 25% ส่วนสินเชื่อ High Yield ทั้งสินเชื่อจำนำ ทะเบียนรถและสินเชื่อบ้านที่มีการคิดดอกเบี้ยสูงกว่า 25% ดำเนินการภายใต้บริษัทย่อย BFIT
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities
บทความห้ามพลาด
ขอบคุณสำหรับความกล้าหาญในการตัดสินใจครั้งนี้ ( ของแบงก์ชาติ )
ปันผลของแบงก์ที่หายไป ทำให้หุ้นปันผลตัวอื่นเด่นขึ้น
เบื้องลึก! ธปท.สั่งงดจ่ายปันผล หุ้น BANK ระส่ำ นักลงทุนจ๊าก!