ปี 2019 ยังเป็นปีที่ดีสำหรับนักลงทุนน้ำมันอยู่ เนื่องจากราคายังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจนทำให้หลายฝ่ายรวมถึงนักวิเคราะห์ที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าน่าจะเกิดการถดถอยเป็นเวลาหลายเดือนต้องแปลกใจ อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้อาจเริ่มจะเข้าสู่ช่วงคราวเคราะห์แล้วจริงๆ ก็ได้ เนื่องจากเริ่มมีสัญญาณที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะเริ่มชะลอตัว ในขณะเดียวกันปริมาณการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดก็ทำให้นักลงทุนต้องจับตามองไปที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งหลายอย่างใกล้ชิดว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงต่อไปอย่างไร เพราะปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่บอกถึงความไม่แน่นอนที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปได้
1. ตัวชี้วัดสภาวะเศรษฐกิจโลก
เครื่องมือที่ใช้ชี้วัดสภาพทางเศรษฐกิจหลายตัวเริ่มส่งสัญญาณที่รุนแรงมากขึ้นว่าจะเกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลให้ ตลาดน้ำมัน ซบเซาหรือปรับตัวลดลงเนื่องจากนักลงทุนเกิดความกลัวว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะทำให้ความต้องการ น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ลดลง
สถานการณ์ในการเจรจาทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะใช้คาดการณ์ความต้องการน้ำมันได้ สำนักข่าวบางแห่งก็เริ่มแสดงความกังวลมากขึ้นเช่นกัน หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของทั่วโลกปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบหลายปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจกำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ แต่มันแสดงถึงความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจ
นักวิเคราะห์จาก มอร์แกน สแตนลีย์ ได้ กล่าวในช่วงต้น สัปดาห์นี้ว่าสหรัฐฯ กำลัง “จับตาดูภาวะการถดถอย” นี้อยู่ ด้าน IHS Markit ก็รายงานว่ายอดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในสหรัฐฯ เริ่มมีปริมาณลดลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน รวมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตในสหรัฐฯ ก็มีปริมาณลดลงไปอยู่ที่จุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี
จากปัจจัยต่างๆ ที่แสดงว่าเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวในขณะนี้ ทำให้ราคาน้ำมันยังไม่น่าที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้
2. ปริมาณการผลิตน้ำมัน
ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันจะลดลง ปริมาณการผลิตก็มีอยู่อย่างจำกัดด้วยเช่นกัน การส่งออกน้ำมันของอิหร่านในเดือนพฤษภาคมมีปริมาณลดลงอย่างมาก ข้อมูลจาก TankerTrackers.com ระบุว่ามีการส่งออกน้ำมันจำนวน 137,000 บาร์เรลต่อวันในช่วง 21 วันแรกของเดือนพฤษภาคม แต่อาจมีปริมาณเพิ่มขึ้นเนื่องจาก มีเรือบรรทุกน้ำมันเพิ่มเติม ออกจากอิหร่าน แต่ปริมาณการส่งออกน้ำมันโดยรวมของอิหร่านยังคงต่ำกว่าในเดือนเมษายนอยู่มากถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณการผลิตน้ำมันจากกลุ่มประเทศโอเปคแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันออกไป ข้อมูลของ Platts ระบุว่าเวเนซูเอลาส่งออกน้ำมันในเดือนเมษายนเฉลี่ย 780,000 บาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย) ในขณะที่แองโกลาลดปริมาณการผลิตลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา โดยในเดือนเมษายนมีการผลิตเพียง 1.41 ล้านบาร์เรล
แม้ว่าซาอุดิอาราเบียจะเพิ่ม ปริมาณการผลิต ในเดือนพฤษภาคมให้ได้ประมาณ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ในเดือนเมษายน ซาอุดิอาราเบียก็ผลิตน้ำมันลดลงเช่นกัน (เพียง 9.82 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ส่วนปริมาณการผลิตในเดือนมิถุนายนก็อาจเพิ่มขึ้นได้โดยซาอุดิอาราเบียจะดูจากความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
ปริมาณการผลิตและส่งออกจากรัสเซียนั้นยังคงอยู่ในสถานการที่ไม่สู้ดีนักเนื่องจากปัญหาการปนเปื้อนที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันคาดว่าการผลิตจะกลับสู่สภาวะปกติได้ภายในเดือนมิถุนายน ปริมาณการผลิตน้ำมัน ในรัสเซียลดลงเหลือเพียง 11.126 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งต่ำว่าโควต้าเป้าหมายที่กลุ่มโอเปคและประเทศพันธมิตรกำหนดไว้ที่ 11.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน ปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ในคาซัคสถานก็ยังคงต่ำกว่าระดับปกติ แม้ว่าจะเริ่มกลับมา ผลิตน้ำมัน จากแหล่ง Kashagan ซึ่งเป็นบ่อน้ำมันกลางทะเลที่ใหญ่ที่สุดของคาซัคสถานอีกครั้งในวันที่ 16 พฤษภาคมแล้วก็ตาม
3. ปริมาณการผลิตน้ำมันเบนซิน
ผู้บริโภคของอเมริกามีความต้องการใช้น้ำมันเบนซินอยู่ในระดับสูง แต่โรงกลั่นของสหรัฐฯ บางแห่งก็ไม่สามารถผลิตให้เพียงพอกับความต้องการที่มากขึ้นได้ จากสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบันทำให้ทราบว่าเรากำลังอยู่ในช่วงขาดแคลนน้ำมันดิบ มาตรการคว่ำบาตรที่สหรัฐฯ ใช้กับอิหร่านและเวเนซูเอลา ประกอบกับปัญหาทางเศรษฐกิจของเวเนซูเอลาเอง ทำให้ปริมาณการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบจากประเทศดังกล่าวลดลง
โรงกลั่นน้ำมันบางแห่งก็ไม่ได้มีแหล่งผลิตน้ำมันดิบอื่นๆ เป็นทางเลือกมากนัก โรงกลั่นน้ำมันของสหรัฐฯ ในแถบมิดเวสต์รับน้ำมันดิบมาจากแคนาดาซึ่งก็มาจากบริเวณอ่าวซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเวเนซูเอลา ส่วนโคลอมเบียก็สามารถส่งน้ำมันดิบให้ได้ แต่เป็นราคาที่สูงและทำให้โรงกลั่นน้ำมันทำกำไรได้น้อย
ปัจจุบัน ราคาน้ำมันเบนซิน ยังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในรอบ 5 ปี และเป็นไปได้ว่าโรงกลั่นน้ำมันต่างๆ จะลดกำลังการผลิตในช่วงฤดูร้อนนี้ลงอีกหากยังไม่มีปริมาณน้ำมันดิบเพียงพอ