ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บิทคอยน์ (BTC) ได้ผ่านตลาดหมีมาถึง 20 ครั้งที่แตกต่างกัน และในที่สุดมันก็เริ่มที่จะพิสูจน์ตัวเอง?
บิทคอยน์ (BTC) ได้ถูกสร้างขึ้นภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2008 และถูกวางแผนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากนโยบายการเงินที่หละหลวม ผู้สร้างสกุลเงินดิจิทัลหลักอย่าง Satoshi Nakamoto กล่าวเมื่อปลายปี 2008 ว่า อุปทานของสกุลเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นตามจำนวนที่วางแผนไว้ ซึ่งไม่ส่งผลให้เกิดอัตราเงินเฟ้อ”
สกุลเงินดิจิทัลอันดับหนึ่งมีอุปทานหมุนเวียนอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ ซึ่งคาดว่าจะขุดได้ครบในปี 2140 เมื่อถึงตอนนั้น อัตราเงินเฟ้อของ BTC จะลดลงเหลือศูนย์ ในทางตรงกันข้าม สกุลเงินปกติ หรือ fiat currency มีอุปทานที่ไม่จำกัด และสามารถพิมพ์ขึ้นมาได้ตลอด เพื่อปรับนโยบายการเงิน
นโยบายการเงินแบบขยายตัว เช่น นโยบายที่ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกใช้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีเป้าหมายเพื่อขยายปริมาณเงินโดยการลดอัตราดอกเบี้ย และเห็นว่าธนาคารกลางมีส่วนร่วมในการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
นโยบายการเงินแบบขยายตัวนี้เชื่อกันมานานแล้วว่าจะนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งหมายถึงการลดค่าเงิน ท่ามกลางต้นทุนสินค้าและบริการที่สูงขึ้น
ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนได้แตะระดับสูงสุดในรอบ 25 ปีเลยทีเดียว
นอกจากนี้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กรมแรงงานได้เปิดเผยรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐ (CPI) ของสหรัฐเดือนพฤศจิกายน โดยตัวเลขออกมาแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ทศวรรษที่ 6.8% สิ่งนี้ทำให้นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญจับตามองบิทคอยน์ (BTC) ในฐานะเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งสูงสุดในรอบ 4 ทศวรรษ
ตลาดเอเชียและยุโรปร่วงลงในช่วงเช้าของวันศุกร์ที่ผ่านมา ก่อนการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว และรัฐบาลสหรัฐฯ กำลังวางแผนที่จะใช้มาตรการใหม่ เพื่อควบคุมแรงกดดันที่เกิดขึ้น สาเหตุหลักของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากการพิมพ์เงินโดยรัฐบาลทั่วโลก ซึ่งกำลังจะแย่ลงไปอีก เนื่องจากการระบาดใหญ่ที่ลุกลาม
ในช่วงที่ COVID-19 ระบาดระลอกแรก ตลาดการเงินแบบดั้งเดิมและตลาดคริปโตได้ปรับตัวลดลงในช่วงแรก แต่ราคาบิทคอยน์ (BTC) และเหรียญ altcoins ก็ปรับตัวขึ้นมาในภายหลัง และเติบโตแบบทวีคูณ ทำให้บิทคอยน์ได้รับการจับตามองในฐานะทางเลือกในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อในหมู่สถาบันและนักลงทุนรายย่อย อันที่จริงแล้ว การระบาดครั้งใหญ่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้นักลงทุนสถาบันเร่ิมยอมรับบิทคอยน์มากขึ้นเมื่อต้นปีนี้
นอกจากนี้โควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron ที่กำลังแพร่ระบาด เริ่มก่อให้เกิดความกลัวในตลาดการเงินแบบดั้งเดิม และผู้เชี่ยวชาญด้านคาดการณ์อีกไตรมาสหนึ่งสำหรับตลาดการเงิน
บิทคอยน์จะเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง?
คริปโตเคอเรนซี่ขึ้นชื่อในเรื่องความผันผวนอย่างมาก โดยราคาอาจร่วงลงถึง 50% ในช่วงเวลาสั้น ๆ ความผันผวนที่สูงนี้ทำให้เกิดคำถามมากมายว่า BTC และคริปโตอื่น ๆ สามารถป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้หรือไม่
นักกลยุทธ์จาก JPMorgan ยักษ์ใหญ่ด้านการธนาคารใน Wall Street ได้แนะนำว่า การจัดสรรพอร์ต 1% ในบิทคอยน์ สามารถใช้เป็นการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของสินทรัพย์ประเภทเดิมได้ นอกจากนี้นักลงทุนมหาเศรษฐีอย่าง Carl Icahn ได้ใช้ BTC เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม Adrian Kolody ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน Domination Finance กล่าวว่า นอกจากบิทคอยน์แล้ว ในพื้นที่คริปโตเคอร์เรนซี ยังมีวิธีอื่นในการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้อีก
นาย Kolody ชี้ไปที่ภาคการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) ว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เขาแนะนำว่าการใช้ stablecoins — ซึ่งเป็นคริปโตที่มีกลไกการควบคุมราคา และ decentralized applications (DApps) นักลงทุนสามารถทำผลตอบแทน “แซงหน้าเงินเฟ้อ” พวกเขาเพียงแค่ต้องหาวิธีที่จะได้รับดอกเบี้ยจากเหรียญ stablecoin ซึ่งจะสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อประจำปี
BTC ให้ผลตอบแทนเหนือกว่าทองคำอย่างมากในปีนี้ เนื่องจากได้เพิ่มขึ้นมากถึง 94% นับตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม เมื่อเทียบกับทองคำ ที่ลดลงมากกว่า 8% ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าจนถึงตอนนี้นักลงทุนยังล้มเหลวใช้โลหะมีค่า เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามในระยะยาว เป็นที่น่าสนใจว่าบิทคอยน์จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อได้จริงหรือไม่?
DISCLAIMER: การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงและความผันผวนสูง มุมมองและความคิดเห็นจากผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อในการให้ข้อมูลเท่านั้น และไม่ได้เป็นการให้ข้อมูลทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่น ๆ ใด นักลงทุนควรศึกษาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกันและมีการควบคุมความเสี่ยงอยู่เสมอ