Investing.com-- หุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในวันนี้ เนื่องจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ลดลงกระตุ้นให้เกิดความคาดหวังว่าจะไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกต่อไป ในขณะที่การเพิ่มสภาพคล่องครั้งใหญ่จากธนาคารกลางของจีนนั้นทำให้ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมากตามหุ้นเทคฯ ที่ทำผลงานได้ดีในสหรัฐฯ หลังอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรลดลงเช่นกัน
ตามมาด้วยการเพิ่มสภาพคล่อง 600 พันล้านหยวน (82.7 พันล้านดอลลาร์) โดยธนาคารกลางจีน หลังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลางไม่เปลี่ยนแปลง การเพิ่มสภาพคล่องมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประคองการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ซบเซาโดยการส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อในประเทศมากขึ้น
ดัชนี CSI 300 และ เซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ของจีนปรับขึ้น 0.9% และ 0.5% ตามลำดับ ดัชนี ฮั่งเส็ง ของฮ่องกงปรับขึ้น 2.7% เป็นดัชนีที่มีการปรับขึ้นดีที่สุดของเอเชียในวันนี้ และยังได้ประโยชน์จากความเข็มแข็งของหุ้นที่เน้นหนักด้านเทคโนโลยีอีกด้วย
การเพิ่มสภาพคล่องของ PBOC มาพร้อมกับข้อมูลที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงบางประการในเศรษฐกิจจีน โดยที่ การผลิตภาคอุตสาหกรรม และ ยอดค้าปลีก เติบโตมากกว่าที่คาดไว้ในเดือนตุลาคม
แต่ตัวชี้วัดอื่น ๆ ยังคงแสดงให้เห็นความอ่อนแอในเศรษฐกิจ จากข้อมูล การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ที่ชะลอตัวและยอดขายอสังหาริมทรัพย์ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
“ความรู้สึกทั่วไปก็คือสิ่งต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างช้า ๆ ในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้น แต่เศรษฐกิจยังคงต้องการการสนับสนุนสภาพคล่องจาก PBOC ที่สามารถทำได้ และจุดยืนทางการคลังที่เป็นประโยชน์มากขึ้นเล็กน้อยจากรัฐบาลกลาง” ตามบันทึกของนักวิเคราะห์ ING
หุ้นเทคโนโลยีในเอเชียปรับขึ้นเนื่องจาก CPI อ่อนตัว กดดันเดิมพันการเพิ่มดอกเบี้ย
ตลาดหุ้นเอเชียที่ประกอบด้วยหุ้นเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ทำผลงานได้ดีที่สุดในวันนี้ โดยดัชนี KOSPI ของเกาหลีใต้ ปรับขึ้น 2.1% ในขณะที่ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่น ปรับขึ้น 2.2%
ดัชนีอินเดียฟิวเจอร์ส Nifty 50 ก็ชี้ไปที่การเปิดตลาดเชิงบวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแข็งแกร่งของหุ้นด้านเทคโนโลยี เช่น Infosys Ltd (NS:INFY) และ Wipro Ltd (NS:WIPR)
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีส่วนใหญปรับขึ้นในชั่วข้ามคืนเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ในสหรัฐฯ หลังจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภค ของสหรัฐฯ ขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ในเดือนตุลาคม รายงานกระตุ้นให้เกิดความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐจะมีแรงผลักดันเพียงเล็กน้อยในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
แนวคิดนี้ทำให้ พันธบัตรรัฐบาล ปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของแรงกดดันต่อภาคเทคโนโลยีในปีนี้
ตลาดเอเชียอื่น ๆ ก็มีการเติบโตที่มากขึ้นเช่นกัน ASX 200 ของออสเตรเลียปรับขึ้น 1.5% สู่ระดับสูงสุดในรอบสองเดือน ขณะที่ ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย พุ่งขึ้นทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการปรับขึ้น 1.5%
หุ้นญี่ปุ่นปรับขึ้น GDP ที่อ่อนแอหนุนการเดิมพันต่อ BOJ ที่ Dovish
ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ทำผลงานดีที่สุดในหรับวันนี้ โดยปรับขึ้น 2.2% แม้ว่าจะมีรายงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่อ่อนแอเกินคาดในไตรมาสที่สามก็ตาม
GDP หดตัว 0.5% เทียบกับการคาดการณ์ที่จะลดลง 0.1%
แต่รายงานเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น และเพิ่มแรงผลักดันว่า BOJ จะชะลอการยกเลิกนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษต่อไป
นโยบาลการเงินที่ผ่อนคลายของ BOJ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดเบื้องหลังการปรับตัวขึ้นของหุ้นญี่ปุ่นในปีนี้ เนื่องจากเป็นหนึ่งในธนาคารกลางรายใหญ่เพียงไม่กี่แห่งที่ยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำมาก