โดย Zhang Mengying
Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเช้าวันจันทร์ในเอเชียเนื่องจากตลาดกลัวว่าเศรษฐกิจจะถดถอย หลังความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐฯ ลดลง
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ติดตามค่าเงินดอลลาร์เทียบกับกลุ่มของสกุลเงินอื่น ๆ ขยับลง 0.20% เป็น 103.98 เมื่อเวลา 01:32 น. ET (5:32 AM GMT)
USD/JPY ลดลง 0.28% เป็น 134.79
AUD/USD ลดลง 0.22% เป็น 0.6933 ในขณะที่ NZD/USD เพิ่มขึ้น 0.06% เป็น 0.6318
USD/CNY ลดลง 0.07% เป็น 6.6850 ในขณะที่ GBP/USD ขยับขึ้น 0.18% เป็น 1.2284
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิถุนายน ส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมากขึ้นว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกจากสหรัฐฯ
สำหรับความเคลื่อนไหวของนโยบายการเงิน แมรี่ เดลี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แห่งซานฟรานซิสโกกล่าวเมื่อวันศุกร์ว่าเธอสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 75 จุดพื้นฐานในเดือนกรกฎาคม ขณะที่เจมส์ บุลลาร์ด ประธานเฟดแห่งเซนต์หลุยส์กล่าวว่าความกลัวต่อภาวะถดถอยของสหรัฐนั้นมากเกินความจริง
“มีความรู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เราคิด” แครอล เปปเปอร์ ผู้ก่อตั้ง Pepper International กล่าวกับบลูมเบิร์ก และเสริมว่า “ตลาดมีความคิดว่าบางทีเราอาจเทขายกันมากเกินไป หรือบางทีอาจจะไม่เกิดภาวะถดถอยก็ได้”
นายโจ คาเปอร์โซ นักยุทธศาสตร์จากธนาคาร Commonwealth ของออสเตรเลีย (OTC:CMWAY) กล่าวว่า "ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเพราะผู้คนกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอยทั่วโลก”
ในตอนนี้นักลงทุนได้เปลี่ยนโฟกัสไปที่การประชุมผู้นำ G7 ที่เหล่าบรรดาผู้นำได้พูดคุยกันถึงเรื่องการสนับสนุนอย่างไม่มีข้อจำกัดแก่ยูเครนเพื่อป้องกันการรุกรานของรัสเซียและยังมีข้อเสนอจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และแคนาดา ที่วางแผนจะประกาศห้ามการนำเข้าทองคำใหม่จากรัสเซีย
ฝั่งเอเชียแปซิฟิก ดัชนี PMI ของจีนจะครบกำหนดเผยแพร่ในวันพฤหัสบดี ซึ่งข้อมูลนี้อาจให้เบาะแสเกี่ยวกับเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกหลังจากที่มีการหยุดชะงักจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด19
ค่าเงินบาท USD/THB แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย -0.20% มาอยู่ที่ 35.380 บาทต่อดอลลาร์