Investing.com – ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นที่เอเชียในวันจันทร์ เนื่องจากผลกระทบของพายุเฮอริเคนเออร์มาไม่รุนแรงเท่าที่คาด แต่ก็ยังคงเป็นข่าวร้ายสำหรับฟลอริดาแม้ความรุนแรงจะลดลง และนักลงทุนต่างมองดูแนวโน้มการซื้อน้ำมันของจีนในขณะที่ค่าเงินหยวนแข็งค่า
ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พายุเฮอร์ริเคนเออร์มาทำให้ไฟฟ้าของ 2.4 ล้านครัวเรือนและธุรกิจในรัฐฟลอริดาดับลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรอีกนับล้านขณะที่เคลื่อนตัวไปทางฝั่งตะวันตกของรัฐ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กล่าวว่า การกลับให้บริการเต็มรูปแบบจะใช้เวลาหลายสัปดาห์
แต่หลังจากที่พายุเฮอริเคนเออร์มาเข้าโจมตีฟลอริดาเมื่อเช้าวันอาทิตย์ด้วยความรุนแรงประเภท 4 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นอันดับ2ใน5ระดับของ Saffir-Simpson พายุก็ได้อ่อนแรงไปอยู่ระดับ 2 โดยมีลมกระโชกแรงสูงสุดเพียง 110 ไมล์ต่อชั่วโมง (177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ในวันจันทร์ ค่าเงินหยวนแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2016 ซึ่งเป็นผลดีต่อการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ที่ซื้อขายด้วยสกุลเงินดอลลาร์ เช่น น้ำมันดิบ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.67% มาที่ 47.80 เหรียญต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันเบรนท์ปรับตัวขึ้น 0.35% มาอยู่ที่ 53.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ดัชนีอ้างอิงทั่วโลกปรับตัวขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยมีการปรับตัวขึ้น 1.03 ดอลลาร์หรือราว 1.9% หลังจากที่ในวันพฤหัสฯ ได้มีการปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบมากกว่า 4 เดือนที่ 54.87 ดอลลาร์
สัปดาห์นี้ ผู้มีส่วนร่วมในตลาดจะติดตามข้อมูลรายสัปดาห์ใหม่ๆ เกี่ยวกับข้อมูลคลังน้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปของสหรัฐฯในวันอังคารและวันพุธ เพื่อประเมินผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานของน้ำมันหลังมีเหตุการณ์พายุที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้
ผู้ค้าน้ำมันจะมุ่งเน้นไปที่รายงานประจำเดือนจากองค์การเพื่อการส่งออกปิโตรเลียมและสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศเพื่อประเมินระดับอุปทานและอุปทานน้ำมันทั่วโลก ข้อมูลจะช่วยให้ผู้ค้าเข้าใจถึงภาพรวมของการปรับสมดุลตลาดน้ำมันทั่วโลกได้ดีขึ้น
สัปดาห์ที่แล้วราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในวันศุกร์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ที่ลดลงเนื่องจากโรงกลั่นของสหรัฐฯมีการฟื้นตัวช้าจากเหตุอุทกภัยเนื่องจากพายุเฮอริเคนฮาร์วี
ราคาได้ถูกกดดันมากขึ้นเนื่องจากความไม่แน่นอนของตลาดพลังงานที่อาจเกิดขึ้นจากพายุเฮอร์ริเคนเออร์มาที่เคลื่อนเข้าสู่สหรัฐอเมริกา
หลังจากพายุฮาร์วี่เข้าโจมโรงกลั่นของสหรัฐฯได้สองสัปดาห์ ทำให้กำลังการผลิตน้ำมันสหรัฐฯลดลงไปถึงหนึ่งในสี่ของกำลังการผลิตทั้งหมด การกลับมาดำเนินการของโรงกลั่นตามแนวชายฝั่งเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้อุปสงค์น้ำมันดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการกลั่นน้ำมันได้รับความกดดัน
ความต้องการน้ำมันดิบที่ลดลงได้สะท้อนจากรายงานของ EIA ในวันพฤหัสบดีที่ระบุว่าปริมาณสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 สัปดาห์
ผลกระทบของฮาร์วีได้ส่งถึงการผลิตน้ำมันเช่นกัน บริษัทให้บริการบ่อน้ำมันอย่าง Baker Hughes กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ปฏิบัติการในสหรัฐฯประจำสัปดาห์ลดลง 3 แห่ง เหลือ 756 แห่ง แต่การชะลอตัวของการกลั่นและผลผลิตเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น